August 23, 2018 03:55
สวัสดีค่ะ คำถามของคุณอาจกว้างเกินไป ทำให้คุณหมอไม่สามารถให้ความเห็นได้ กรุณาอธิบายอาการอย่างละเอียดว่าเป็นอย่างไร บริเวณไหน เป็นมานานและถี่แค่ไหน รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณ เช่น เพศ อายุ ยาหรืออาหารเสริมที่ทานอยู่ เป็นต้น หรือคุณอาจค้นหาคำตอบคุณหมอ และกว่า 5,000 บทความสุขภาพในเว็บของเรา หากคุณถามเกี่ยวกับโรงพยาบาล คุณสามารถค้นหาข้อมูลติดต่อของโรงพยาบาลได้ที่นี่ หรือส่งอีเมลมาที่ [email protected] ค่ะ ขอบคุณค่ะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
ในกรณีที่ใช้ยาคุมถูกต้องและตรงเวลาสม่ำเสมอ จะมีความเสี่ยงน้อยมากที่จะตั้งครรภ์ ดังนั้น หากต้องการเปลี่ยนเป็นยาฝังคุมกำเนิด ก็สามารถเปลี่ยนได้เลยโดยไม่ต้องรอให้ใช้ยาคุมหมดแผง หรือไม่ต้องรอให้ประจำเดือนมาก่อนก็ได้ค่ะ (แต่อาจทำให้ไม่มีประจำเดือนมาตามรอบปกติ หรืออาจไม่มีประจำเดือนมาเลยเมื่อใช้ยาฝังคุมกำเนิดแล้วนะคะ อย่างไรก็ตาม หากผู้ถามใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดสูตรหญิงให้นมบุตรอยู่ ซึ่งเป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวเช่นเดียวกับยาฝังคุมกำเนิด ก็อาจจะไม่มีประจำเดือนอยู่แล้วซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากยานั่นเอง)
แต่ถ้าใช้ยาคุมไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงเวลาสม่ำเสมอ แนะนำให้ใช้ต่อไปจนกว่าจะมีประจำเดือนมาค่ะ และเมื่อประจำเดือนมาแล้ว สามารถไปฝังยาคุมกำเนิดได้เลย หรือภายใน 7 วันแรกของการมีประจำเดือน ตามแนวทางคุมกำเนิดขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ปี ค.ศ.2016 เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการตั้งครรภ์อยู่อย่างแน่นอน (แต่ถ้าเป็นแนวทางของศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐอเมริการ หรือ US CDC ปี ค.ศ.2016 จะแนะนำให้ฝังยาคุมภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือนนะคะ)
..
..
ดังนั้น ถ้าที่ผ่านมามีการรับประทานยาคุมถูกต้องและตรงเวลาสม่ำเสมอ ก็จะมีทางเลือก 3 ทางในการเปลี่ยนจากยาคุมชนิดเม็ด ไปใช้ยาฝังคุมกำเนิด นั่นคือ...
1. เปลี่ยนได้เลย ไม่ต้องรอให้ใช้ยาคุมหมดแผง
2. รอให้ประจำเดือนมา แล้วไปฝังยาคุมภายใน 5 หรือ 7 วันแรกของการมีประจำเดือน
3. ฝังยาคุมกำเนิด ในวันที่ครบกำหนดต่อยาคุมแผงใหม่
โดยทั้ง 3 วิธีที่กล่าวมา จะถือว่ามีผลคุมกำเนิดต่อเนื่อง จึงมีเพศสัมพันธ์หลั่งในได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เปลี่ยนจากกินยาคลุมเป็นฝังเข็มได้หรือเป่าค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)