April 25, 2019 10:08
ตอบโดย
พิชญาพร กูลนุวัฒน์ (พญ.)
โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder: MDD) มีอาการสำคัญ คือ อารมณ์เศร้า ผู้ป่วยจะซึมเศร้าหดหู่ สะเทือนใจ ร้องไห้ง่าย ในผู้ป่วยไทยอาจไม่บอกว่าเศร้า แต่จะบอกว่ารู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จิตใจไม่สดชื่นเหมือนเดิม อารมณ์เศร้าหรือเบื่อหน่ายนี้จะเป็นเกือบทั้งวัน และเป็นติดต่อกันเกือบทุกวันนานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป อารมณ์หงุดหงิดพบได้บ่อยเช่นกัน ผู้ป่วยรู้สึกทนเสียงดังหรือมีคนรบกวนไม่ได้ มักอยากอยู่คนเดียวเงียบๆ
มีอาการถดถอยทางด้านอารมณ์ ได้แก่ เชื่องช้า เฉื่อยชาลง พูดน้อย คิดนาน ซึม อยู่เฉยๆ ได้นานๆ
มีวิธีการประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตนเอง โดยการตอบคำถามสุขภาพจิต ว่าในช่วงเวลา 15 วันที่ผ่านมามีอาการเหล่านี้หรือไม่
1. เบื่อ ไม่สนใจ ไม่อยากทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง
5. เบื่ออาหาร/กินมากเกินไป
6. รู้สึกไม่ดีกับตนเอง/ล้มเหลว/รู้สึกผิด
7. ไม่มีสมาธิ
8. พูดช้า ทำอะไรช้าลง
9. คิดทำร้ายตนเอง คิดว่าถ้าตายไปคงดี
หากมีอาการเหล่านี้ทุกวัน ให้ 3 คะแนน
หากมีอาการเหล่านี้บ่อยมากกว่า 7 วันให้ 2 คะแนน
หากมีอาการเหล่านี้บางวัน 1-7 วัน ให้ 1 คะแนน
เมื่อรวมคะแนนแล้วได้คะแนนมากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป ควรไปพบหรือขอคำปรึกษาจากบุคลากรด้านจิตเวชหรือรับการรักษาจากจิตแพทย์โดยทันที ณ แผนกผู้ป่วยนอก ในเวลาราชการ รพ ที่มีสิทธิ์การรักษา เพื่อประฺเมินอาการและรักษาอย่างถูกวิธีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
โรคซึมเศร้า เกิดจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ทำให้มีความคิดทางลบ อารมณ์เศร้า และมีพฤติกรรมบางอย่างผิดปกติไปจากเดิม
อาการของโรคซึมเศร้า ได้แก่
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย
4.นอนไม่หลับ/หลับมากเกินปกติ
5.เบื่ออาหาร/ทานได้มากเกินปกติ
6.ขาดสมาธิ
7.กระสับกระส่าย
8.รู้สึกผิด /ไร้ค่า
9.มีความคิดอยากตาย/อยากทำร้ายตัวเองให้เจ็บ/เคยลงมือฆ่าตัวตายมาแล้ว
หากมีอาการตั้งแต่ 7 ข้อขึ้นไป และมีอาการต่อเนื่องทุกวันนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ แบบนี้ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นซึมเศร้าสูง ควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป
การรักษาซึมเศร้าจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ทำให้สามารถควบคุมความคิด อารมณ์ และแสดงพฤติกรรมต่างๆได้เหมาะสม และอาจทำจิตบำบัดควบคู่กันไปเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับรู้ ยอมรับ เกิดความเข้าใจในปัญหาและสามารถปรับตัวกับปัญหา แล้วดำเนินชีวิตประจำวันได้เช่นคนทั่วๆไปค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอนนี้หนูรู้สึกมีภาวะซึมเศร้ามานานและอยากรู้ว่าตัวเองเป็นระดับไหนต้องทำการรักษาไหมอยากไปคุยกับหมอด้วยตัวเองค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)