March 20, 2018 14:41
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ไตเรื้อรังระยะที่ 5 คือไตยังทำงานได้น้อยกว่า 15% เป็นภาวะไตทำงานระยะสุดท้ายก่อนฟอกเลือด อาหารที่ผู้ป่วยรคไตควรควบคุม คือ
1.โปรตีน ให้ทานตามที่แพทย์กำหนด ซึ่งสามารถคำนวณระดับโปรตีนที่ต้องการได้จากน้ำหนักตัวของผู้ป่วยค่ะ โดยเลือกทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ โคเลสเตอรอลต่ำ และไม่ผ่านการแปรรูป เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู-ไม่ติดมัน ควรหลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ อาหารหมักดองเช่น แหนม ปลาส้ม ปลาเค็ม ปูเค็ม เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น หมูแฮม ไส้กรอก กุนเชียง เนื้อสัตว์ที่มีไขมันปริมาณมาก
2.จำกัดเกลือ ซอสปรุงรส ในอาหาร และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารหมักดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม กุนเชียง เป็นต้น ปริมาณโซเดียมที่ควรบริโภคใน 1 วัน = 2,000 มิลลิกรัม
3.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง ซึ่งมีในผักสีเข้ม ๆ เช่น คะน้าผักกวางตุ้ง แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ ฯลฯผลไม้ที่ควรงดบริโภค เช่น กล้วย ทุเรียน ฝรั่ง ขนุน มะละกอ ลูกเกด ลูกพรุน ผลไม้แห้ง ฯลฯ ควรเลือกบริโภคผักที่มีโพแทสเซียมต่ำและควรลวก หรือต้มผักให้สุก เช่น ฟักเขียวสุก แตงกวา บวบสุก ผักกาดขาวปลีสุก ถั่วฝักยาวสุก ถั่วงอกสุก เป็นต้น และควรเลือกบริโภคผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น ลองกอง ชมพู่ เงาะ แอปเปิ้ล องุ่น มังคุด แตงโม เป็นต้น
4.จำกัดการกินอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ ไข่แดง นม และผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเมล็ดแห้ง เบียร์ เบเกอรี่ ช็อคโกแลต ชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีสีเข้มควบคู่กับการกินอาหารที่มีแคลเซียมเพียงพอ
5.จำกัดน้ำเนื่องจากความสามารถในการขับปัสสาวะของผู้เป็นโรคไตเรื้อรังจะลดลงทำให้มีอาการบวมน้ำ และมีความดันโลหิตสูงขึ้น ถ้ามีอาการบวมน้ำ ให้ดื่มน้ำไม่ควรเกินวันละ 750 –1,000 ซีซี หรือ 3 – 4 แก้วต่อวัน
6.ควรเลือกไขมันที่มาจากพืช ควรใช้น้ำมันรำข้าวและน้ำมันถั่วเหลืองในการปรุงอาหาร
หลีกเลี่ยงไขมันจากเนื้อสัตว์ กะทิ และอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคไตระยะที่5ต้องทานอาหารประเภทไหนบ้างคะ ถึงไม่ทำให้มีผลข้างเคียงกับอาการที่เป็นอยู่
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)