กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

แนวทางการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก

อ่านการดูและรักษาตัวเองหลังผ่าตัดเสริมเต้านม รวมทั้งอาการที่อาจเกิดขึ้นเพื่อรับมืออย่างเหมาะสม
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 4 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แนวทางการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก

การผ่าตัดเสริมหน้าอก เป็นการทำศัลยกรรมที่ได้รับความนิยมไม่แพ้การทำศัลยกรรมจมูก โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและความสวยงามให้กับรูปร่างของตัวเอง

อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยในการทำศัลยกรรม ผู้เข้ารับการทำศัลยกรรมควรทำความเข้าใจวิธีการดูแลตัวเองในระหว่างพักฟื้นอย่างเหมาะสม อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากผ่าตัดเสริมเสริมหน้าอก และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตราย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
เสริมหน้าอก แก้หน้าอกวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 15,500 บาท ลดสูงสุด 53%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การดูแลแผลหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก

หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอกควรดูแลตัวเองให้ดี และควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ หรือทำให้แผลติดเชื้อได้ มีรายละเอียดดังนี้

  • หลังผ่าตัดเสริมหน้าอกครบ 24 ชั่วโมง สามารถนำผ้าพันแผลออกได้หากแพทย์อนุญาต แต่ไม่ควรลอกเทปแปะแผล (Steri-strips) ออก เนื่องจากยังมีความเหนียวยึดติดกับผิวหนังอยู่ ซึ่งอาจกระทบกระเทือนกับแผลได้
  • หากแพทย์ติดเทปแปะแผลชนิดกันน้ำไว้ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แต่ไม่ควรแช่ในอ่างน้ำ หรือสระน้ำเป็นเวลานานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าแพทย์จะอนุญาต
  • ในช่วง 1 เดือนแรกหลังผ่าตัด ควรใช้บราชนิดที่ไม่มีโครง เช่น สปอร์ตบรา (Sport bar) เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเต้านม และยังช่วยประคองทรงให้กับเต้านมอีกด้วย
  • หากได้รับการบอกให้สวมเสื้อชั้นใน หรือพันผ้าไว้ ให้เอาออกขณะอาบน้ำ แต่สวมกลับทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ
  • ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมและการออกกำลังหนักๆ ที่ทำให้ชีพจร และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หรือต้องใช้แขนและหน้าอกมาก เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการฟื้นตัวของเต้านม
  • หากแพทย์ให้กลับบ้านพร้อมท่อระบายของเหลว ให้เทของเหลวที่อยู่ในกระเปาะระบายทิ้ง และจดปริมาณของของเหลว 3 เวลาต่อวัน หรือตามที่แพทย์กำหนด ซึ่งแพทย์จะใช้ค่านี้ในการประเมินว่า ควรถอดท่อระบายเมื่อใด
  • แพทย์อาจใช้เทคนิคการนวดเต้านมเพื่อไม่ให้เกิดพังผืดรัดรอบถุงซิลิโคน (Capsular contracture) ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และลดความรู้สึกอึดอัดช่วงอก
  • ไม่ควรนวดเต้านมเองหลังการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม เมื่อแพทย์อนุญาตให้นวดเต้านม ควรขอคำแนะนำวิธีการนวดเต้านมจากผู้เชี่ยวชาญก่อน ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลล้วนมีบริการคอร์สนวดเต้านมสำหรับผู้ที่ผ่าตัดเสริมหน้าอกอยู่
  • สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ยกเว้นของหมักดอง อาหารรสจัด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่ 1 เดือน หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก
  • งดการนอนคว่ำหน้า 2-3 สัปดาห์หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนักเป็นเวลา 1 เดือนหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก

อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากผ่าตัดเสริมหน้าอก

หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก ร่างกายจะพยายามฟื้นตัวเอง นอกจากนี้คุณยังไม่ชินกับสิ่งแปลกปลอมที่เสริมเข้ามา จึงอาจมีอาการผิดปกติไปจากเดิมได้ ดังนี้

  • อาจรู้สึกเจ็บ ปวด มีอาการอ่อนเพลีย และเหนื่อยง่ายในช่วงไม่กี่วันหลังจากผ่าตัด จึงควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  • อาจรู้สึกแน่นบริเวณหน้าอก ในขณะที่ผิวหนังปรับตัวต่อสิ่งที่ใช้เสริมเต้านม
  • อาจมีความรู้สึกลดลงบริเวณเต้านมและหัวนมในช่วงหลังการผ่าตัดทันที และเป็นไปอีกหลายวัน หลังจากนั้นจะค่อยๆ กลับมาเป็นเช่นเดิม หรือในบางรายอาจไวต่อความรู้สึกมากขึ้น
  • การบวมและช้ำเล็กน้อยของเต้านมเป็นเรื่องปกติหลังการผ่าตัด และจะค่อยๆ หายไปเองในอีกหลายสัปดาห์ถัดไป

อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง หรือมีอาการบวมผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที

ผ่าตัดเสริมหน้าอกใช้เวลาพักฟื้นนานแค่ไหน?

ระยะเวลาในการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดเสริมเต้านมจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับวัตถุที่ใช้เสริม ขนาด การวางตำแหน่ง และขนาดของบาดแผล แต่โดยเฉลี่ยจะต้องพักฟื้นอย่างเต็มที่อย่างน้อย 2 วัน 

หลังจากนั้นอาจเริ่มทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ได้ แต่ยังคงต้องจำกัดกิจกรรมที่ต้องออกแรงแขนและกระทบต่อหน้าอกไปอีกหลายสัปดาห์ตามที่แพทย์สั่ง

หากดูแลรักษาแผลเป็นอย่างดี ผู้ที่ผ่าตัดอาจกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ และอาการปวดบวมจะค่อยๆ ลดลงภายใน 3-4 สัปดาห์

การเข้ารับการผ่าตัดเสริมหน้าอกกับแพทย์ผู้ชำนาญการ และดูแลพักฟื้นอย่างถูกวิธี จะช่วยให้การทำศัลยกรรมเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดใดก็ล้วนมีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ ผู้เข้ารับการผ่าตัดเสริมหน้าอกจึงควรรู้จักสังเกตอาการตัวเอง และรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อพบอาการผิดปกติ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจผ่าตัดเสริมหน้าอก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


24 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
เตรียมตัวก่อนเสริมอก ทำอย่างไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/how-to-prepare-for-breast-augmentation-surgery).
ซิลิโคนหน้าอก sebbin silimed mentor และ motiva ต่างกันยังไง?, (https://hdmall.co.th/c/most-popular-brands-of-breast-augmentation).
ซิลิโคนผิวเรียบกับผิวทรายต่างกันยังไง? ซิลิโคนอกแบบไหนดี?, (https://hdmall.co.th/c/how-many-type-of-silicone-shell-for-breast).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การบวมส่วนปลายกับโรคเบาหวาน
การบวมส่วนปลายกับโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เมื่อมีอาการบวมส่วนปลายจะรุนแรงกว่าคนปกติ วิธีการรักษาเบื้องต้นอย่างไร ควรพบแพทย์หรือไม่

อ่านเพิ่ม
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ

หากอยากรู้ว่า อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นไหน ทำงานอย่างไร ต้องไม่พลาดบทความนี้

อ่านเพิ่ม