การเสริมหน้าอก (Breast augmentation) หรือที่นิยมเรียกกันง่ายๆ ว่า ทำนม เป็นหนึ่งในการทำศัลยกรรมหน้าอกที่ได้รับความนิยมไม่แพ้การทำศัลยกรรมจมูก ซิลิโคนที่ใช้ในการเสริมหน้าอกนั้นมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบก็มีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป
สำหรับใครที่ต้องการเสริมหน้าอก แต่ยังไม่รู้ว่าควรเลือกซิลิโคนแบบไหนดี HD มีข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับการเสริมหน้าอกมาฝาก
เสริมหน้าอก แก้หน้าอกวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 15,500 บาท ลดสูงสุด 53%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ทำความรู้จักกับการศัลยกรรมหน้าอก
การศัลยกรรมหน้าอกเป็นการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์เพื่อเพิ่มขนาดหน้าอก หรือแก้ไขรูปทรงของหน้าอก ทำให้มีขนาด และรูปทรงตามต้องการ โดยวัสดุที่ใช้ในการเสริมหน้าอก หรือทำนม มี 2 รูปแบบหลักๆ ดังนี้
1.การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน
การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน เป็นวิธีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย โดยแพทย์จะผ่าตัดบริเวณหน้าอก และสอดซิลิโคนเข้าไปใต้กล้ามเนื้อ หรือผิวหนังของผู้เข้ารับการผ่าตัด
2.การเสริมหน้าอกด้วยไขมัน (Fat Transfer Augmentation)
การเสริมหน้าอกด้วยไขมัน เป็นวิธีที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ข้อดีคือเป็นการใช้เนื้อเยื่อของตนเอง ไม่ใช้วัตถุแปลกปลอม ไม่ต้องผ่าตัด เพราะสามารถฉีดไขมันเข้าร่างกายได้โดยตรง ทรงหน้าอกจะดูเป็นธรรมชาติ มีพื้นผิวนิ่ม
อย่างไรก็ตาม การเสริมหน้าอกด้วยไขมันมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น
- ไม่สามารถเสริมหน้าอกให้มีขนาดใหญ่ เพราะหากฉีดเซลล์ไขมันจำนวนมากเข้าไปในพื้นที่เล็กๆ เซลล์ไขมันที่ฉีดเข้าไปอาจจะตาย หรือสลายไปเองในภายหลัง ทำให้ขนาดหน้าอกไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
- การเสริมหน้าอกด้วยไขมันตนเองเหมาะกับการแก้ไขปัญหาเต้านมสองข้างไม่เท่ากันมากกว่า โดยจะฉีดเซลล์ไขมันเข้าไปเพียงเล็กน้อยที่เต้านมที่มีขนาดเล็กกว่า เพื่อให้เต้านมทั้งสองข้างมีขนาดใกล้เคียงกัน
- เซลล์ไขมันที่ฉีดเข้าไปอาจแปรเปลี่ยนเป็นซีสต์ (Cyst) จำเป็นต้องผ่าตัดออก
- ไขมันที่ฉีดเข้าไปอาจเกิดการแข็งตัว ทำให้สับสนว่าก้อนที่คลำเจอบริเวณเต้านมเป็นไขมัน หรือมะเร็งเต้านม
อ่านเพิ่มเติม: ฉีดไขมันเสริมหน้าอก อีกทางเลือกเสริมความมั่นใจต่อขนาดหน้าอก
3 สิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อต้องเลือกซิลิโคนเสริมหน้าอก
ซิลิโคนสำหรับการเสริมหน้าอก มีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป ผู้ที่ต้องการผ่าตัดเสริมหน้าอกสามารถเลือกได้ตามความต้องการ หรือปรึกษาแพทย์ถึงความเหมาะสมเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
เสริมหน้าอก แก้หน้าอกวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 15,500 บาท ลดสูงสุด 53%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โดยสิ่งที่ผู้เข้ารับการผ่าตัดเสริมหน้าอกควรพิจารณาเมื่อเลือกซิลิโคน ได้แก่ วัสดุที่นำมาใช้ทำซิลิโคน พื้นผิวของซิลิโคน และรูปทรงของซิลิโคน
วัสดุที่นำมาใช้ทำซิลิโคนเสริมหน้าอก
วัสดุของซิลิโคนเสริมหน้าอกที่นิยมใช้กัน มี 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ซิลิโคนเนื้อเจล และซิลิโคนถุงน้ำเกลือ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.ซิลิโคนเนื้อเจล
ซิลิโคนเนื้อเจล เป็นซิลิโคนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ภายนอกเป็นถุงซิลิโคน ภายในเป็นเจล มีหลากหลายยี่ห้อให้เลือก เช่น Sebbin, Motiva, Mentor, Allergan หรือ Natrelle
มีข้อดีคือ ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทนทาน ยืดหยุ่นสูง บีบไม่แตก ซึ่งจะช่วยป้องกันการรั่วไหลได้ ทั้งยังอ่อนนุ่มเป็นธรรมชาติ
แต่มีข้อเสียเช่นกันคือ หากเกิดแรงกระแทกแรงมากๆ ถุงซิลิโคนมีโอกาสแตก หรือรั่วซึมได้ ซึ่งโดยทั่วไปหากเป็นซิลิโคนที่ได้มาตรฐาน เนื้อเจลภายในจะเกาะตัวกัน ไม่กระจายตัวออกไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย สามารถผ่าตัดออกได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
แต่บางกรณีซิลิโคนอาจกระจายไปสู่บริเวณใกล้เคียง เช่น ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใต้รักแร้ หรือผิวหนังบริเวณเต้านม แต่ก็ยังไม่มีรายงานใดระบุอย่างชัดเจนว่า มีผู้ได้รับอันตรายจากการกระจายตัวนั้น
เสริมหน้าอก แก้หน้าอกวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 15,500 บาท ลดสูงสุด 53%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ในทางกลับกันหากเป็นซิลิโคนที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจไม่ทนทาน มีโอกาสแตก หรือรั่วซึมได้ง่าย และหากรั่วซึมแล้วก็มีความเสี่ยงสูงมากที่ซิลิโคนจะกระจายตัวไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย จนเกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อรุนแรง ทั้งยังผ่าตัดออกได้ยากลำบากอีกด้วย
2.ซิลิโคนถุงน้ำเกลือ
ภายนอกเป็นถุงซิลิโคน ภายในบรรจุน้ำเกลือ โดยมีทั้งรูปแบบที่เป็นซิลิโคนน้ำเกลือสำเร็จรูป และซิลิโคนที่สามารถเต็มน้ำเกลือได้ระหว่างการผ่าตัดเพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสม
ข้อดีคือ หากถุงซิลิโคนเกิดการฉีกขาดจากแรงกระแทก น้ำเกลือจะค่อยๆ ถูกร่างกายดูดซึม และขับออกได้ หลังจากนั้นจึงค่อยเข้ารับการผ่าตัดนำถุงซิลิโคนออกได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
แต่มีข้อเสียคือ ซิลิโคนถุงน้ำเกลือจะฉีกขาดได้ง่ายกว่าเนื้อเจล หากน้ำเกลือไหลออก ถุงก็จะยุบลงเรื่อยๆ จนอาจเกิดรอยเหี่ยวย่นได้
อ่านเพิ่มเติม: ประเภทของซิลิโคนเสริมหน้าอก
พื้นผิวของซิลิโคนเสริมหน้าอก
เมื่อเลือกชนิดของวัสดุที่ใช้ทำซิลิโคนได้แล้ว ลำดับถัดมาต้องพิจารณาพื้นผิวซิลิโคน โดยมี 2 รูปแบบคือ ผิวเรียบ และผิวทราย มีคุณสมบัติดังนี้
- ซิลิโคนผิวเรียบ ให้ความสัมผัสนุ่มเป็นธรรมชาติคล้ายกับเต้านมจริง แต่มีข้อจำกัดคือ พื้นผิวที่เรียบลื่นอาจทำให้ซิลิโคนเคลื่อนตัว ทำให้รูปทรงเต้านมเปลี่ยนแปลงไปได้ และเกิดพังผืดได้ง่ายกว่า
- ซิลิโคนผิวทราย พื้นผิวจะมีความหนืดกว่า ทำให้เคลื่อนที่ไปมาได้ยาก เต้านมจึงมีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงน้อย แต่มีข้อจำกัดคือ เนื้อสัมผัสจะแข็งกว่า จึงมีความเป็นธรรมชาติน้อยกว่าซิลิโคนแบบผิวเรียบ
รูปทรงของซิลิโคนเสริมหน้าอก
หลักเกณฑ์ข้อสุดท้ายที่นำมาพิจารณาซิลิโคนเสริมหน้าอกคือรูปทรงของซิลิโคน โดยมีให้เลือก 2 รูปแบบหลักๆ ดังนี้
- ซิลิโคนทรงกลม มีลักษณะกลมและมีขอบโค้งมน เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อหน้าอกอยู่บ้าง แต่ต้องการเพิ่มขนาดและความชัดของหน้าอกมากขึ้น หรือผู้ที่มีปัญหาหน้าอกหย่อนยาน เต้านมไม่สมมาตรกัน โดยจะเสริมให้เนื้อหน้าอกด้านบนดูอวบอิ่มขึ้น
- ซิลิโคนทรงหยดน้ำ มีลักษณะรูปทรงคล้ายหยดน้ำ ส่วนล่างใหญ่กว่าส่วนบน เลียนแบบเต้านมจริงของผู้หญิง เมื่อเสริมแล้วจะดูเป็นธรรมชาติ เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการให้ขนาดหน้าอกใหญ่เกินไป แต่ต้องการเสริมให้หน้าอกเข้าทรงมากขึ้น
ในปัจจุบันซิลิโคนเสริมหน้าอกมีความคงทนมากขึ้น ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 10 ปี โดยซิลิโคนผิวทรายค่อนข้างได้รับความนิยมในประเทศไทย เพราะมีข้อมูลระบุว่า มีพื้นผิวที่ยึดเกาะได้ดี สามารถลดปัญหาพังผืดหดรัดได้
โดยซิลิโคนพื้นผิวทรายเหมาะกับรูปทรงหยดน้ำซึ่งต้องการการยึดเกาะที่ดี ป้องกันปัญหาการเคลื่อนตัวของซิลิโคนได้ อย่างไรก็ตาม ซิลิโคนแต่ละยี่ห้อจะมีความละเอียดของผิวทรายที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ขรุขระมากไปจนถึงแบบละเอียด
ตำแหน่งที่ใช้ในการผ่าตัดเสริมหน้าอก
การผ่าตัดเสริมหน้าอกนั้นมีรูปแบบการผ่าตัดหลักๆ 3 รูปแบบ ได้แก่ ใต้รักแร้ทั้งสองข้าง บริเวณปานนม และใต้ราวนม โดยแต่ละตำแหน่งมีรายละเอียดดังนี้
1.ใต้รักแร้
เป็นตำแหน่งที่นิยมผ่าตัดมากที่สุด เพราะสามารถซ่อนรอยแผลผ่าตัดได้ดี โอกาสจะเกิดปัญหาเรื่องพังผืดรัดถุงซิลิโคนค่อนข้างน้อย
แต่มีข้อเสียคือแพทย์จำเป็นต้องเซาะเนื้อจากทางรักแร้ไปจนถึงหน้าอกเพื่อเคลื่อนซิลิโคนให้เข้าไป ช่วงที่ถูกเซาะดังกล่าวจะเป็นโพรง หากผู้เข้ารับการผ่าตัดดูแลตนเองไม่ดีก็มีโอกาสที่ซิลิโคนจะเคลื่อนที่มาตามโพรงนี้ได้ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก
2.ใต้ราวนม
ข้อดีของการผ่าตัดบริเวณนี้คือ แผลผ่าตัดดูแลง่าย เพราะเป็นตำแหน่งที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว ระยะฟื้นตัวค่อนข้างน้อย
แต่ข้อเสียคือแผลมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 เซนติเมตร และสังเกตเห็นได้ง่ายกว่าตำแหน่งอื่นๆ
3.บริเวณปานนม
เหมาะสำหรับผู้ที่หน้าอกหย่อนคล้อย โดยแพทย์จะเสริมหน้าอกไปพร้อมๆ กับการยกกระชับหน้าอกด้วย
ข้อดีข้อการผ่าตัดบริเวณนี้คือ แผลมีขนาดเล็ก หลังจากผ่าตัดแล้วแทบจะไม่เห็นรอยผ่าตัดเลย แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นขนาดปานนมที่ต้องกว้างพอที่จะใส่ซิลิโคนลงไป และขนาดของซิลิโคนที่ต้องการเสริมหน้าอกจะใหญ่มากไม่ได้ ทำให้การเสริมหน้าอกทางใต้รักแร้และใต้ราวนมเป็นที่นิยมมากกว่า
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเสริมหน้าอก
ก่อนการผ่าตัดเสริมหน้าอก ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรเตรียมตัวให้พร้อมและปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยสูงสุด โดยเบื้องต้นควรเตรียมตัวดังนี้
- แพทย์จะตรวจร่างกายโดยละเอียด ตรวจเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาจส่งตรวจสแกนแมมโมแกรมหรือเอกซเรย์เต้านมก่อนผ่าตัดเสริมหน้าอก เพื่อตรวจดูว่าเต้านมมีความผิดปกติหรือไม่
- งดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
- งดดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
- หยุดรับประทานยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด และงดรับประทานวิตามิน อาหารเสริมหรือสมุนไพร ที่มีผลต่อการบวมช้ำของแผล เช่น วิตามิน A วิตามิน E น้ำมันตับปลา อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
กระบวนการผ่าตัดเสริมหน้าอก
เมื่อเตรียมความพร้อมร่างกายแล้ว แพทย์จะนัดวัน-เวลาในการเข้ารับการผ่าตัดเสริมหน้าอก โดยมีกระบวนการดังนี้
- วิสัญญีแพทย์จะทำการวางยาสลบ
- ศัลยแพทย์จะเริ่มลงมือผ่าตัดตามแผนการที่ได้วางไว้ โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี
- หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้นแพทย์จะให้พักค้างคืนที่โรงพยาบาลประมาณ 1 วัน เพื่อเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้
- 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด แพทย์จะนัดดูอาการ และตัดไหม โดยอาจมีอาการปวด บวมช้ำ เกิดขึ้นได้ แต่จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 เดือน
อ่านเพิ่มเติม: วิธีรับมือกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก
การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก
หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น เพื่อความปลอดภัยของร่างกายและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ผู้เข้ารับการผ่าตัดเสริมหน้าอกควรปฏิบัติตัวดังนี้
- 1 สัปดาห์หลังจากการผ่าตัดควรระมัดระวังไม่ให้แผลโดนน้ำเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ยกเว้นการผ่าตัดบริเวณรักแร้ที่สามารถโดนน้ำได้
- ประมาณ 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด แพทย์จะนัดมาดูอาการพร้อมสอนการนวดหน้าอก และให้กลับไปนวดด้วยตนเองที่บ้าน ประมาณ 6 เดือนหน้าอกจะเริ่มเข้าที่ หากมีการออกกำลังกายเบาๆ ร่วมด้วย ก็จะลดโอกาสการเกิดพังผืดลงไปได้
- งดยกสิ่งของเหนือศีรษะประมาณ 1 เดือน
- หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อชั้นในที่มีโครงประมาณ 1 เดือน เพราะอาจทำให้เกิดรอยบนหน้าอกตามแนวโครงเสื้อชั้นในได้
- หากมีอาการผิดปกติใดๆ เช่น มีเลือดซึม น้ำเหลืองไหลออกจากแผลไม่หยุด ควรไปพบแพทย์ทันที
- หมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ เพื่อตรวจสอบว่าเต้านมยังคงสภาพปกติหรือไม่
อ่านเพิ่มเติม: แนวทางการดูแลตนเองหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดเสริมหน้าอก
ก่อนผ่าตัดเสริมหน้าอก ควรทราบข้อมูลโดยละเอียดเพื่อประกอบการตัดสินใจ ดังนี้
- ขนาดหน้าอกทั่วไปที่เหมาะสมกับสรีระของผู้หญิงไทยคือ 280-320 ซีซี แต่ก็มีผู้เข้ารับการผ่าตัดบางรายต้องการขนาดหน้าอกที่ใหญ่กว่านั้น เช่น 400-500 ซีซี หากสรีระร่างกายรองรับได้ก็อาจไม่เกิดปัญหาใดๆ ตามมา แต่หากสรีระไม่เหมาะสม อาจเกิดปัญหาหน้าอกแตกลาย หน้าอกเป็นลอนคลื่น เนื้อหน้าอกติดกันเป็นก้อนเดียว แผลปริ ติดเชื้อ หรือปวดหลังได้
- สำหรับเพศทางเลือกที่ต้องการผ่าตัดเสริมหน้าอก อาจมีข้อจำกัดที่ควรทราบบางประการนั่นคือ กล้ามเนื้อของเพศทางเลือกจะแข็งแรงกว่าเพศหญิง ขณะทำการผ่าตัดแพทย์จะต้องใช้แรงในการคว้านเนื้อมากกว่าปกติ หากแพทย์ไม่ชำนาญพออาจทำให้เกิดข้อผิดพลาด คว้านกล้ามเนื้อทะลุปอดได้ จึงควรเลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานและผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
- ตามข้อกำหนดขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ว่า ผู้ที่ต้องการผ่าตัดเสริมเต้านมด้วยซิลิโคนถุงน้ำเกลือ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ส่วนการเสริมเต้านมด้วยซิลิโคนเจลต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี
- การเสริมหน้าอกในช่วงที่อายุยังน้อยและก่อนมีบุตรจะฟื้นตัวได้เร็ว หน้าอกจะกระชับ หย่อนคล้อยช้า แต่ข้อเสียคือหน้าอกเข้ารูปช้า เพราะยังไม่เคยได้รับการขยายมาก่อน ขณะที่การเสริมหน้าอกในช่วงที่อายุมากหรือหลังมีบุตร ซึ่งหน้าอกมีการขยายตัวมาแล้วทำให้เข้ารูปได้เร็ว แต่ก็ทำให้หย่อนคล้อยได้เร็วกว่าเช่นกัน
ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเสริมหน้าอก
ค่าใช้จ่ายการเสริมหน้าอกนั้นมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่เลือก ชนิดของซิลิโคน ยี่ห้อ รวมทั้งขึ้นอยู่กับค่าบริการทางการแพทย์และโรงพยาบาลแต่ละแห่งด้วย โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มต้นที่ประมาณ 55,000 บาท ไปจนถึงหลักแสน
คำถามที่พบบ่อย
การเสริมหน้าอกแบบไร้สายเดรนด้วยเทคนิคเย็บซ่อนแผลคืออะไร และต้องเสริมด้วยซิลิโคนชนิดใด
คำตอบ: สายเดรนเลือด หรือสายระบาย คือเครื่องมือที่ช่วยระบายเลือดหรือของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายหลังการผ่าตัดทั่วไป รวมถึงการเสริมหน้าอกด้วย เนื่องจากหลังการผ่าตัดอาจมีเลือดซึมออกมามากจนทำให้ต้องระบายออก แต่มีข้อเสียคือ จะเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อหลังผ่าตัดค่อนข้างสูง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่งจะเสริมหน้าอกด้วยความระมัดระวัง และประณีต เพื่อไม่ให้กระทบกับเส้นเลือดใหญ่ เพื่อที่จะทำให้เลือดไหลออกมาน้อยที่สุด และใช้เทคนิคพิเศษในการห้ามเลือดระหว่างผ่าตัดร่วมด้วย จึงไม่จำเป็นต้องใส่สายระบาย และยังช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ
นอกจากนี้แพทย์จะเย็บซ่อนแผลด้วยไหมจากด้านใน ทำให้แผลผ่าตัดออกมาเรียบเนียน และหายเร็วกว่าปกติอีกด้วย
การเสริมหน้าอกด้วยเทคนิคนี้สามารถใช้ได้ทั้งซิลิโคนโมติวา (Motiva) และซิลิโคนเมนเทอร์ (Mentor) โดยซิลิโคนทั้งสองชนิดจะมีคุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสีย และราคาที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้เข้ารับบริการสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกชนิดของซิลโคน และรูปทรงที่เหมาะสมกับตนเองได้
การผ่าตัดเสริมหน้าอกนั้นเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยเสริมความมั่นใจให้ใครหลายๆ คน
แต่สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดคือต้องเลือกโรงพยาบาล หรือคลินิกที่ได้มาตรฐาน มีการรับรองที่ชัดเจน ใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ปลอดภัย เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดใดๆ ตามมา ไม่ได้หมายถึงเพียงเงินที่สูญเสียไป แต่อาจหมายถึงชีวิตของคุณเลยก็ได้
ดังนั้นควรพิจารณารายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจผ่าตัดเสริมหน้าอกเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง และเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจเสริมหน้าอก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android