การเสริมหน้าอก หรือที่นิยมเรียกกันง่ายๆ ว่า “ทำนม” คือการแก้ไขขนาดและรูปทรงของหน้าอกโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ ด้วยวิธีการผ่าตัดเสริมวัสดุเข้าไปในหน้าอก เช่น ซิลิโคน หรือไขมันตนเอง
ทำความรู้จักกับประเภทของซิลิโคนเสริมหน้าอก
ซิลิโคนเสริมหน้าอก แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
1. ซิลิโคนเสริมหน้าอกแบบเจล (Silicone Gel)
ซิลิโคนเสริมหน้าอกแบบเจลคือ ซิลิโคนเสริมหน้าอกสำเร็จรูป มีรูปทรงให้เลือก 2 แบบคือ ทรงกลม และทรงหยดน้ำ โดยแต่ละรูปทรงยังแบ่งย่อยพื้นผิวอีก 2 แบบ ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันดังนี้
- พื้นผิวหยาบ หรือผิวทราย (Textured) เป็นพื้นผิวซิลิโคนที่ได้รับความนิยมที่สุด เพราะช่วยลดการเกิดพังผืดหดรัด และมีผิวซิลิโคนที่หนากว่าทำให้แตกยาก แต่ใส่ค่อนข้างยากและมีราคาสูงกว่าแบบพื้นผิวเรียบ
- พื้นผิวเรียบ (Smooth) เป็นพื้นผิวซิลิโคนที่ดูเป็นธรรมชาติกว่า นิ่มเหมือนผิวหน้าอกจริงๆ แต่มีโอกาสเกิดพังผืดหดรัดได้มากกว่าแบบผิวทราย
2. ซิลิโคนเสริมหน้าอกแบบน้ำเกลือ (Saline)
เป็นถุงซิลิโคนที่ภายในบรรจุน้ำเกลือเอาไว้ มีข้อดีคือ สามารถเติมน้ำเกลือเพื่อเพิ่มขนาดของซิลิโคนให้ใหญ่ขึ้นได้ก่อนการผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยกว่าหากซิลิโคนฉีกขาด เพราะน้ำเกลือที่อยู่ภายในซิลิโคนจะถูกร่างกายดูดซึม และขับออกไปเอง
3. ซิลิโคนเสริมหน้าอกแบบถุงเบคเกอร์ (Becker)
เป็นซิลิโคนที่เกิดจากการผสมกันระหว่างถุงน้ำเกลือ และถุงซิลิโคนเจล มีให้เลือก 2 แบบคือ
- แบบเจล 25% กับน้ำเกลือ 75%
- แบบเจล 50% กับน้ำเกลือ 50%
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย การเสริมหน้าอกทรงกลม และทรงหยดน้ำ
การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนทรงกลม หรือทรงหยดน้ำ จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้
การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนทรงกลม (Round Implant)
- การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนทรงกลมจะมีลักษณะกลมและมีขอบโค้งมน
- เหมาะสำหรับผู้ที่พื้นฐานมีเนื้อหน้าอก แต่ต้องการเพิ่มขนาดและความชัดของหน้าอกมากขึ้น หรือผู้ที่มีปัญหาหน้าอกหย่อนยาน เต้านมไม่สมมาตรกัน
- การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนทรงกลม จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า และนิ่มเป็นธรรมชาติ รวมทั้งผู้เข้ารับบริการสามารถเลือกได้ด้วยว่า อยากจะให้ลักษณะผิวซิลิโคนเป็นแบบเรียบ หรือแบบหยาบ
- เจลภายในซิลิโคนทรงกลมจะเหลวกว่าซิลิโคนทรงหยดน้ำ ทำให้เวลาผู้เข้ารับบริการยืน หรือนั่ง เจลภายในก็จะไหลไปรวมกันอยู่ที่ส่วนล่างของหน้าอกมากกว่า
- ผู้เข้ารับบริการบางรายอาจมีร่องรอยขอบของซิลิโคนเห็นชัดเจน เนื่องจากมีขนาดหน้าอกบาง หรือมีการเพิ่มขนาดหน้าอกที่ใหญ่เกินไป
การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนทรงหยดน้ำ (Shaped Implant)
- การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนทรงหยด จะมีลักษณะแบนในช่วงบน ป่องในช่วงล่าง คล้ายกับรูปร่างของหยดน้ำซึ่งเป็นการเลียนแบบลักษณะเต้านมตามธรรมชาติของผู้หญิง
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีขนาดหน้าอกเล็ก ต้องการเพิ่มขนาดหน้าอกอย่างเป็นธรรมชาติ
- ซิลิโคนของหน้าอกทรงหยดน้ำ จะคงรูปมากกว่า ไม่เหมือนแบบทรงกลมที่จะเป็นเจลเหลวภายใน ทำให้เวลาผู้เข้ารับบริการยืน หรือนั่ง ขนาดหน้าอกก็จะดูทรงสวยเหมือนเดิมตลอด
- ซิลิโคนทรงหยดน้ำจะแข็งกว่าแบบทรงกลม ทำให้เวลาสัมผัสหน้าอกจะรู้สึกได้ถึงความแข็งของซิลิโคน ไม่นิ่มเหมือนเนื้อหน้าอกธรรมชาติ และไม่มีความยืดหยุ่นแบบซิลิโคนทรงกลมด้วย
การเสริมหน้าอกด้วยไขมันตนเอง (Fat Transfer Augmentation)
นอกจากการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนแล้ว ผู้เข้ารับการเสริมหน้าอกยังสามารถเสริมหน้าอกด้วยไขมันตนเองได้อีกด้วย โดยแพทย์จะเก็บไขมันจากบริเวณหน้าท้อง ต้นขา สะโพก หรือบั้นเอว ไปคัดแยกเซลล์ไขมันที่ดีที่สุดมาฉีดเสริมขนาดของเต้านม
การเสริมหน้าอกด้วยไขมันตนเอง มีข้อดี-ข้อเสีย ดังนี้
- ไม่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ข้างในหน้าอกของผู้เข้ารับบริการ เนื่องจากเป็นสารไขมันจากร่างกายของผู้เข้ารับบริการเอง
- ทรงหน้าอกดูเป็นธรรมชาติ มีพื้นผิวนิ่ม ไม่ก่อให้เกิดพังผืดในภายหลัง
- ผลลัพธ์จากการเสริมหน้าอกอาจไม่ได้ขนาดหน้าอกเท่าที่ต้องการ เพราะสารไขมันที่ฉีดเข้าไปสามารถสลายเองได้ และจะทำให้ขนาดหน้าอกที่เสริมไปกลับมาเล็กลงอีกครั้ง แต่ศัลยแพทย์มักเผื่อปริมาณไขมันเพื่อป้องกันปัญหาการสูญสลายของไขมันในภายหลังอยู่แล้ว
เสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนอยู่ได้กี่ปี
หน้าอกที่ถูกเสริมแบบซิลิโคนทรงกลมจะอยู่ได้ประมาณ 10 ปีขึ้นไป ในขณะที่การเสริมแบบทรงหยดน้ำจะอยู่ได้ประมาณ 15 ปีขึ้นไป
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนั้นผู้เข้ารับการเสริมหน้าอกควรหมั่นไปตรวจเต้านมกับแพทย์เป็นประจำ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
วิธีการเลือกขนาดของการเสริมหน้าอก
การเลือกขนาดหน้าอกที่จะเสริมนั้น ให้พิจารณาจากสรีระของตนเองเป็นหลักคือ ความสูง และฐานความกว้างของหน้าอก รวมถึงถึงพิจารณาปริมาณเนื่อเยื่อของหน้าอก และความยืดหยุ่นของผิวหนังบริเวณหน้าอกด้วย
ศัลยแพทย์ และผู้เข้ารับบริการ ควรปรึกษาหารือกันให้ดี เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นขนาดหน้าอกที่พอดี สวยงามและเหมาะกับสรีระของผู้เข้ารับบริการ
การที่มีขนาดหน้าอกใหญ่เกินไปจะทำให้ดูเกินตัว และทำให้ปวดหลังในภายหลังได้อีกด้วย
เสริมหน้าอกอันตรายหรือไม่
การผ่าตัดเสริมหน้าอกมีความเสี่ยงเหมือนกับการผ่าตัดใหญ่ทั่วไป ผู้เข้ารับบริการผ่าตัดเสริมหน้าอกจึงควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับบริการโดยละเอียด
อย่างไรก็ตาม หากเสริมหน้าอกโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ ใช้วัสดุเสริมหน้าอกที่ได้รับมาตรฐาน และดูแลตนเองอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายหลังผ่าตัดได้มาก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การผ่าตัดเสริมหน้าอกนั้น ศัลยแพทย์จะวางยาสลบแบบหมดความรู้สึก และให้ยาชากับผู้เข้ารับบริการเพื่อไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ แต่หลังจากที่การผ่าตัดเสร็จสิ้น ผู้เข้ารับบริการอาจรู้สึกตึงหน้าอก ระบม หรือเจ็บแบบทนได้บ้าง
โดยหลังการผ่าตัดผ่านไป 7 วัน ผู้เข้ารับบริการสามารถตัดไหมได้ และจะมีอาการบวมอยู่ประมาณ 1 เดือน จากนั้นขนาดหน้าอกจึงจะค่อยๆ เข้ารูปมากขึ้น พร้อมกับแผลผ่าตัดที่จะจางหายไปภายในประมาณ 3-6 เดือนโดยไม่มีอันตราย
วิธีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเสริมหน้าอก
- ผู้เข้ารับบริการจะต้องงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ก่อนการผ่าตัด 1 เดือน
- ให้อดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด เพื่อป้องกันการสำลักอาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร
- งดรับประทานน้ำมันตับปลา สมุนไพร วิตามินและอาหารเสริมทุกชนิด รวมทั้งยากลุ่มแอสไพริน (Aspirin) และไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
- ออกกำลังกายเพื่อเตรียมกล้ามเนื้อให้แข็งแรงก่อนผ่าตัดประมาณ 1 เดือน โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง เพราะจะทำให้ผู้เข้ารับบริการลุกนั่งได้ง่ายขึ้นหลังผ่าตัด
วิธีการดูแลตนเองหลังการเสริมหน้าอก
- ระมัดระวังไม่ให้แผลผ่าตัดสัมผัสน้ำในช่วง 7 วันแรก
- หมั่นนวดเต้านมอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดยึดเกาะกับซิลิโคนที่ใช้เสริมหน้าอก
- ห้ามยกของหนักๆ และการออกกำลังกายหนักๆ ประมาณ 1 เดือน
- ควรสวมใส่เสื้อชั้นในแบบสปอร์ตบรา
- หากพบว่ามีอาการผิดปกติให้กลับมาพบแพทย์ และควรหมั่นตรวจเต้านมอยู่เป็นประจำ
ราคาของการเสริมหน้าอก
ราคาการทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกจะขึ้นอยู่กับทรงหน้าอกที่เลือก วัสดุ หรือแบรนด์ของซิลิโคนเต้านมที่ใช้ รวมถึงค่าบริการ ค่ารักษาพยาบาล และค่าแพทย์ของแต่ละสถานพยาบาลที่ผู้เข้ารับบริการไปเสริมหน้าอก โดยราคาจะอยู่ที่ประมาณ 38,000-140,000 บาท
การเสริมหน้าอกให้มีขนาดพอเหมาะกับร่างกายจะช่วยปรับรูปร่างของผู้เข้ารับบริการให้ดูสวยงามขึ้น และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ อย่างไรก็ตาม การเสริมหน้าอกควรทำภายใต้การดูแลของศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการ รวมทั้งต้องดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดจนกว่าแผลผ่าตัดจะหายเป็นปกติ
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจเสริมหน้าอก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android