การดูแลตนเองเมื่อถอดเฝือกที่สำคัญได้แก่ ปฏิบัติตามที่แพทย์สั่ง พยาบาล และนักกายภาพบำบัดแนะนำ พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการต่างๆ ผิดปกติไปจากเดิม นอกจากนั้นได้การดูแลผิวหนัง การดูแลกล้ามเนื้อ ข้อ และกระดูก
การดูแลผิวหนัง
เมื่อผิวหนังอยู่ในเฝือกนาน 3 สัปดาห์ขึ้นไปมักแห้ง คัน มีเศษผิวหนังที่ผลัดเซลล์พอกหนา และมักเกิดแผลได้ง่าย ดังนั้นควรอาบน้ำอุ่นพอเหมาะ ไม่อุ่นจัด ถูด้วยสบู่อ่อนๆ (สบู่เด็กอ่อน) เบาๆ ไม่ขัดถู และไม่ควรโกนขนในบริเวณนั้นหลังอาบน้ำ ควรทาด้วยโลชั่นชนิดไม่ก่อการระคาย (โลชั่นสำหรับเด็กอ่อน) ดูแลเช่นนี้ไปจนกว่าผิวหนังจะกลับเป็นปกติ (ประมาณ 1 สัปดาห์) แล้วจึงดูแลทำความสะอาดได้ตามปกติ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ถ้ามีขี้ไคลหนาอาจแค่ผิวบริเวณนั้นในน้ำอุ่นวันละ 2 ครั้ง เข้ามาประมาณ 10-20 นาที 2-3 วัน แล้วเช็ดเบาๆ ด้วยผ้าขนหนูอ่อนนุ่มสะอาด อย่าขัด ถู เพราะจะเกิดแผลได้ง่าย
อาการบวม
1-3 วันหลังถอดเฝือก บริเวณที่เคยใส่เฝือกอาจยังบวมอยู่ จึงควรใช้ผ้าแขวนคอช่วยพยุงแขนเป็นครั้งคราว (เมื่อเคยใส่เฝือกแขน) และยังคงรองเท้าสูงเสมอ (เมื่อเคยใส่เฝือกขา) โดยเฉพาะในการนอนหรือนั่ง (ใช้หมอนรอง) จนกว่าเท้าจะยุบจากอาการบวม แต่ถ้าอาการบวมยังคงอยู่นานเกิน 3 วัน หรือบวมมากขึ้น ควรรีบพบแพทย์
กล้ามเนื้อ ข้อ และกระดูก
กล้ามเนื้อบริเวณที่ใส่เฝือก มักลีบลงเนื่องจากไม่ได้ใช้งานนาน ข้อต่างๆ อาจยึดติด และกระดูกใหม่ยังไม่แข็งแรงพอ จึงยังต้องปฏิบัติตามที่แพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัดแนะนำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อฟื้นฟูเนื้อเยื่อเหล่านี้ให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว