กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

สัญญาณอันตรายจากอาการตัวบวม เท้าบวม ช่วงตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
สัญญาณอันตรายจากอาการตัวบวม เท้าบวม ช่วงตั้งครรภ์

อาการบวมตามร่างกายถือเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากพออายุครรภ์มากขึ้น น้ำหนักครรภ์ก็จะมากขึ้นตามลำดับ ทำให้ผนังหลอดเลือดต่างๆ เริ่มขยายตัวตาม ทำให้อวัยวะอื่นๆ เริ่มขยาย (บวม) มากขึ้น แต่อาการบวมตามตัว บวมที่เท้าอย่างรวดเร็วเกินไป อาจะเป็นสัญญาณอันตรายถึงภาวะครรภ์เป็นพิษเช่นกันค่ะ

เมื่อตั้งครรภ์แล้วการบวมบริเวณหลังเท้า (ไม่เกินบริเวณตาตุ่ม) จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ลักษณะของผิวหนังที่บวมหากลองกดดูจะเห็นว่าบุ๋มลงไป เพราะว่าน้ำหนักของครรภ์ที่มากขึ้นมากดทับบริเวณหลอดเลือดดำด้านหลังลำตัว ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก นอกจากนั้นอาการบวมนี้ยังอาจจะมีมากขึ้นถึงหน้าแข้ง หรืออาจจะบวมทั้งตัวก็ได้ ทำให้หน้าตาเปลี่ยนไป เพราะแก้มจะบวมฉุ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่อาการบวมที่ผิดปกติก็อาจะเป็นสัญญาณของอาการครรภ์เป็นพิษ

  1. เกิดอาการบวมขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น หน้าบวม ตัวบวม หรือข้อนิ้วบวมจนถอดแหวนออกไม่ได้อย่างรวดเร็ว
  2. น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
  3. มีอาการปัสสาวะน้อยลง
  4. ปวดศีรษะมาก 
  5. มีอาการตาพร่ามัว หรือ มองเห็นแสงเป็นจุดๆ หรือมองไม่เห็นภาพ
  6. มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว
  7. รู้สึกจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ หรือ ปวดท้องบริเวณด้านขวาบน
  8. มีอาการกระตุกสั่นของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ (clonus)
  9. มีอาการอ่อนเพลียผิดปกติ (ซึ่งอาจเกิดจากภาวะโลหิตจางชนิด เมล็ดเลือดแดงแตก)

หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบไปพบคุณหมอทันที เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดเพราะอาจจะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ซึ่งการตรวจสอบจะตรวจความดันโลหิตและตรวจหาไข่ขาวในปัสสาวะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
F. Gary Cunningham ... [et (2010). Williams obstetrics (23rd ed.). New York: McGraw-Hill Medical. ISBN 978-0-07-149701-5.
Bartsch, E; Medcalf, KE; Park, AL; Ray, JG; High Risk of Pre-eclampsia Identification, Group (19 April 2016). "Clinical risk factors for pre-eclampsia determined in early pregnancy: systematic review and meta-analysis of large cohort studies". BMJ (Clinical Research Ed.). 353: i1753.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม