April 21, 2017 13:25
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ แต่สามารถไม่ให้อาการกำเริบได้ค่ะ โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นการเกิดไมเกรนได้แก่ อาหารบางชนิด เช่น ชีส ไวน์แดง ช็อคโกแล็ต น้ำตาลเทียม ผงชูรส ชา และกาแฟ หรือการกระตุ้นจากกลิ่นบุหรี่ แสงจ้า เสียงดัง การนอนที่ผิดปกติ เช่นนอนดึก นอนมากเกินไป ขาดนอน จากฝุ่น ควัน จากยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
แนวทางการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน
1. การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต เช่น การหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการนอนมากเกินไป ความเครียดการถูกแดดมากเกินไป การได้รับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มบางอย่าง เช่น กาแฟ ชอคโกแลต ฯลฯ อาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ ส่วนมากปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้มักเกิดร่วมกันหลาย ๆ อย่าง และบางครั้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอเป็นทางออกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ได้
2. การใช้ยารักษา การใช้ยารักษาควรใช้กรณีที่จำเป็นยาที่รักษาพอสรุปได้ดังนี้
2.1 ยาในการรักษาอาการปวดไมเกรนแบบเฉียบพลัน ได้แก่
2.1.1 ยาแก้ปวด ได้แก่ พาราเซตามอล แอสไพริน nonsteroid anti-inflammatory drugs (NSAIDS) และยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของยาเสพติดให้โทษประเภท 3 เช่น Tylenol with Codeine แต่การใช้ยานี้พบว่าอาจทำให้มึนศีรษะได้และห้ามใช้ในเด็ก
2.1.2 ยากลุ่มเออร์กอต (Ergot-based drug) เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียงพอควร จึงควรใช้ในการรักษาอาการปวดไมเกรนที่รุนแรงและนาน ๆ เป็นสักครั้ง การใช้ยาบ่อย ๆ จะทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นและติดยา
2.1.3 ยากลุ่มทริปแทน (Triptan) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง กลัวเสียงได้ แต่มีราคาแพง
การใช้ยานอนหลับชนิดต่าง ๆ เช่น ไดอะซีแพม ก็สามารถใช้ในการรักษาไมเกรนได้ แต่ไม่ควรใช้บ่อยเพราะจะมีปัญหาติดยาเกิดขึ้น
2.2 ยาในการรักษาแบบป้องกัน ใช้ในกรณีที่มีอาการปวดไมเกรนบ่อย เช่น เกิน 2 ครั้งต่อเดือน การเกิดอาการปวดแต่ละครั้งรุนแรง หรือผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาในกลุ่มที่ใช้รักษาอาการปวดไมเกรนแบบเฉียบพลันได้ ยาในกลุ่มนี้ไม่ใช่ยาแก้ปวดจึงรักษาอาการปวดไมเกรนไม่ได้แต่เป็นยาที่ใช้สำหรับการป้องกันการเกิดไมเกรนและต้องรับประทานยาทุกวัน เป็นระยะเวลา 4-6 เดือน วัตถุประสงค์ของการใช้ยาป้องกันการเกิดไมเกรน คือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะหรือลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดศีรษะหลังจากหยุดยาในกลุ่มนี้อาการปวดศีรษะอาจหยุดไปเป็นเวลานาน ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่
2.2.1 ยาสกัดเบต้า (β-blocker) ได้แก่ โพรพราโนลอล มีประสิทธิภาพในการป้องกันไมเกรน 55-84% การใช้ในรูปแบบออกฤทธิ์นาน อาจสะดวกในการใช้มากกว่ารูปแบบธรรมดาซึ่งต้องรับประทานวันละหลายครั้ง ส่วนยาในกลุ่มนี้ ตัวอื่น ๆ ที่มีผลในการป้องกันไม่เกรน คืออะทีโนลอล เมโทโพรลอลและทิโมลอลผลแทรกซ้อนที่ควรระวังในการใช้ยาในกลุ่มนี้คือ อาการอ่อนเพลีย ซึ่งพบได้ประมาณ 20% แต่อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นเอง ผลแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ง่วงซึม ฝันร้าย ซึมเศร้า ภาพหลอน มือเท้าเย็น
2.2.2 ยาต้านซีโรโตนิน (Anti-serotonin) ได้แก่ พิโซติเฟนซึ่งเป็นยาที่ทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพในการป้องกันประมาณ 50% แต่มีผลข้างเคียงคือทำให้อ้วนและง่วงนอน
2.2.3 ยาแคลเซียมแอนทาโกนิส (Calcium antagonist) ได้แก่ ฟลูนาริซีน เวอราพรามิล ไนเฟดดิปีน และ ไนโมดิปีน สามารถป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ ยาสกัดเบต้า
2.2.4 กลุ่มยากันชัก ที่สามารถนำมาใช้ในการป้องกันการเกิดไมเกรนได้ ได้แก่ โซเดียมวาลโปรเอต โทพิราเมท และกาบ้าเพนติน ซึ่งปัจจุบันมีการใช้แพร่หลายเพิ่มขึ้น ยาในกลุ่มนี้จะมีข้อดีข้อเสีย ที่แตกต่างกัน คือ โซเดียมวาลโปรเอต จะมีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น, สั่น และผมร่วง กาบ้าเพนติน ก็จะมีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ส่วน โทพิราเมท จะทำให้น้ำหนักลดลง ขนาดยาที่ใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนจะน้อยกว่าที่ใช้ในการรักษาโรคลมชัก
2.2.5 กลุ่มยา Tricyclic Antidepressants มีประโยชน์ในผู้ป่วยนอนไม่หลับและมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย แต่อาจมีผลทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน และน้ำหนักเพิ่มได้
2.3 การรักษาโดยการไม่ใช้ยา มักได้ผลในระยะที่ทำการบำบัดรักษาเท่านั้น การรักษาพวกนี้ได้แก่ relaxation therapy, biofeedback, acupuncture, cervical manipulation, hypnosis
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
อาการปวดไมเกรนไม่หายขาดนะค่ะ เราต้องหลักเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่่ทำให้อาการกำเริบค่ะ เช่น หลักเลี่ยงแสงจ้า นอนหลับเพียงพอ รับประทานอาการที่มีประโยชน์ งดสุรา บุหรี่ ออกกำลังกายค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคไมเกรนรักษาหายขาดได้ไหม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)