April 02, 2019 11:58
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ อาการปวดเอว ปวดท้อง ถ้า เป็นช่วงมีประจำเดือน อาจจะเกิดจาการที่ มีภาวะ เนื้อเยื่อมดลูกเจริญผิดที่ได้ครับ ซึ่งจะส่งผลให้เดิดอาการปวดและการมีบุตรยากครับแนะนำว่าควรไปตรวจเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ประจำเดือนมาสม่ำเสมอตามรอบไหมครับ
อาการปวดประจำเดือนมักเกิดจากเลือดประจำเดือนไหลออกมาไม่ทัน หรือออกมาไม่สะดวกจึงทำให้เกิดเลือดคั่งในโพรงมดลูก
กล้ามเนื้อมดลูกจึงพยายามบีบรัดตัวเพื่อเป็นการขับเลือดออกมา ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณท้องน้อยหรือปวดหลังได้ครับ วิธีการรักษาเบื้องต้นคือ นอนพัก รับประทานยาเเก้ปวด เช่น Ponstan ,วางกระเป๋าน้ำร้อนที่หน้าท้องช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก หรือออกไปเดินเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด จะพอช่วยได้ครับ
...
แต่หากอาการปวดเป็นมากจนทำงานไม่ไหว ร่วมกับมีอาการอื่น เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจคิดถึงภาวะปวดประจำเดือนที่มีสาเหตุจำเพาะ(Secondary dysmenorrhea) เช่น เนื้องอกมดลูก(Myoma uteri) เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis) เป็นต้นครับ ซึ่งควรไปพบสูตินรีเเพทย์ เพื่อตรวจภายใน หรือ อัลตร้าซาวด์ เพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
จากประวัติของคนไข้ อาจเกิดได้จากสาเหตุหลักๆ เช่น
1.เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ adenomyosis ทำให้ลักษณะรอบเดือนผิดปกติไป ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยมามากหรือมาน้อยกว่าปกติ ร่วมกับมีอาการปวดท้องน้อย ขณะมีประจำเดือน
2.ก้อนเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก myoma uteri ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติได้ ร่วมกับอาจคลำได้ก้อนบริเวณท้องน้อย ร่วมกับปวดประจำเดือนได้ครับ
3.ก้อนที่บริเวณรังไข่ ovarian tumor ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศและการตกไข่ผิดปกติได้ ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากและประจำเดือนผิดปกติได้
4.ระดับฮอร์โมนเพศจากต่อมใต้สมองผิดปกติ ทำให้ประจำเดือนมาน้อย มีบุตรได้ยาก ร่วมกับมีอาการอย่างอื่นเช่น อ่อนเพลีย ช่องคลอดแห้ง ความต้องการทางเพศลดลง
ฉะนั้นควรไปพบสูตินารีแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ตรวจภายในและการตรวจพิเศษด้วยอัลตร้าซาวน์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ค่ะ ถ้าในความเป้นจริงนี้ไม่เคยจดนะค่ะว่าแต่ละเดือนมาวันไหน มันผิดปกติมาตามอารมจนเราคิดว่ามันเป็นเพราะร่างกายของเรา เคยไปถามหมอตรวจภายในที่รพ. บางระมุง ก็ไม่ได้อะไร แค่ให้กินยา ที่มันทำให้ตกขาวออกมาเยอะมากค่ะ พอกลับมาขอนแก่นก็เจอหมอที่ใช้คำพูดและตรวจให้ไปแบบงั้นๆ - ทุกๆครั้งก่อนมีประจำเดือน3-5วัน หนูจะปวดเต้านมาก ปวดเอว เมื้อย พอก่อนที่ปจดจะมา1วันเริ่มมีอาการปวดท้องมากเลยค่ะ และไม่ขับถ่ายเลย พอมาปีนี้มันแปลกจนหนูกลัว เพราะว่าวันนี้พึ่งมาค่ะ แต่สีเลือดเปลี่ยนจากที่เคยเป็น และไม่หิวอะไรเรยนะค่ะ รอบนี้คือปวดเอวและท้องมาก #ขอบคุณคุณหมอทุกคนนะค่ะที่ให้คำปรึกษาที่ดีและทำให้กล้าพูดอาการมากขึ้น
มาทุกเดือนนะค่ะ แต่มาแบบนับเดือนยิ่งดูเลือดน้อยลง และมีอาการปวดมากขึ้น บางครั้งก็ลุ้นว่าล้างหัวเด็กรึป่าว แต่ไม่มีวี้แววเรยค่ะ จนปล่อยเลยตามเลย
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ประจำเดือนมาบางเดือน2-3วัน (แต่มีเลือดแต่ตอนเช้าผ่านไปทั้งวันไม่มีค่ะ ) พอมาเดือนกุมภา 62 มาแค่1วันค่ะ และมาแค่ช่วงเช้าเหมือนกัน ตั้งแต่เคยมีปจดมา จะเป็นคนมีเลือดเยอะและมา5-7วันเลยค่ะ พอเข้สอายุ20 เริ่มเปลี่ยนๆแบบที่บอกข้างต้นและปวดเอวและท้องมากค่ะ และเรื่องตั้งครรนี้ไม่มีเรยค่ะ ไม่เคยกินยาคุม ยุกับแฟนเก่า2ปีก็ไม่มี จนได้แฟนใหม่ ก็ปล่อยนะค่ะ แต่ไม่เคยพลาดมีครรเลยทั้งๆที่ไม่เคยกิน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)