January 25, 2017 19:52
ตอบโดย
รัตน์พล อ่ำอำไพ (แพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช)
อาการเจ็บท้องประจำเดือนอาจมีหลายอาการได้ครับเช่นบางคนมีอาการปวดท้องน้อยก่อนที่ประจำเดือนจะมา บางคนปวดเฉพาะวันแรกที่มีประจำเดือน และบางคนมักจะสิ้นสุดการปวดเมื่อหมดประจำเดือนในรอบนั้นนั้น ถ้าพูดถึงเรื่องสาเหตุของการปวดท้องประจำเดือนส่วนมากมักเกิดจากการปวดท้องที่เกิดจากการบีบตัวของมดลูกเพื่อไล่ประจำเดือนออกมาทางช่องคลอดซึ่งจะเรียกการปวดท้องประจำเดือน แบบนี้ว่าการปวดท้องประจำเดือนปฐมภูมิ ส่วนสาเหตุอีกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการปวดท้องประจำเดือนคือการปวดท้องประจำเดือนแบบทุติยภูมิซึ่งมักมีสาเหตุมาจากพยาธิสภาพหรือรอยโรคในอุ้มเชิงกรานเช่นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือที่เรารู้จักกันว่าช็อกโกแลตซีส ,โรคกล้ามเนื้อมดลูก, ภาวะมดลูกโตจากการมีเยื่อบุโพรงมดลูกไปแทรกอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูกหรือในกรณีที่มีก้อนที่รังไข่ ซึ่งเราจะรู้ได้โดยไปรับการตรวจคุณหมอจะทำการตรวจภายในครับ หรืออาจจะลองสังเกตอาการของตัวเองดูก่อนก็ได้ครับ โดยสิ่งที่ต้องสังเกตหากคุณมีภาวะปวดประจำเดือนเป็นมากขึ้นในแต่ละเดือนทานยาแล้วไม่ดีขึ้นหรือจะต้องใช้ยาในปริมาณที่มากขึ้น มีอาการประจำเดือนมามากหรือมาไม่สม่ำเสมอร่วมด้วย มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์หรือในกรณีที่มีบุตรยากถ้าคุณอยู่ในกลุ่มเหล่านี้ควรที่จะต้องปรึกษาหมอ เพื่อการวินิจฉัยภาวะปวดประจำเดือนที่มีสาเหตุจำเพาะโดยอาจจะทำอัลตร้าซาวน์หรือการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อไปดูรอยโรคข้างในช่องท้องครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
อาการปวดท้องประจำเดือน ที่ไม่เป็นอันตรายระค่ะ โดยจะปวดหน่วง ๆ บริเวณท้องน้อย บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน และหงุดหงิดร่วมด้วย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างมีประจำเดือน และมีการหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ออกมามากผิดปกติ กระตุ้นให้มดลูกมีการบิดเกร็งตัว และจะรู้สึกปวดในระยะก่อนมีประจำเดือน 2-3 ชั่วโมง ตลอดจนช่วง 2-3 วันแรกของการมีประจำเดือน อาการปวดหน่วง ๆ ก็จะยังคงรู้สึกอยู่
อาการปวดประจำเดือนชนิดนี้จะมีอาการมากสุดในช่วงอายุ 15-25 ปี หลังจากวัยนี้อาการปวดประจำเดือนจะค่อย ๆ ลดลง บางรายอาจหายป่วยหลังมีบุตรแล้ว และส่วนมากอาการปวดประจำเดือนชนิดนี้ก็จะไม่พบความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่แต่อย่างใด
อาการปวกประจำเดือนที่ส่งผลว่ามีความผิดปกติในร่างกายนะค่ะ จะมีอาการปวดท้องค่อนข้างหนัก บางรายอาจมีอาการท้องเสีย เหงื่อออก ตัวเย็น มือ เท้าเย็น หรือหน้ามืดเป็นลมได้ อาการปวดประจำเดือนชนิดนี้มักเกิดกับสาววัย 25 ปีขึ้นไป โดยจะรู้สึกปวดประจำเดือนแบบนี้ครั้งแรก ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยปวดประจำเดือนขนาดนี้มาก่อน ซึ่งคนที่รู้สึกปวดประจำเดือนหนัก ๆ ในวัยนี้ มักตรวจพบความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่ด้วย เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกมดลูก หรือปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การปวดท้องประจำเดือน หรือปวดระดู แบ่งสาเหตุการเกิดได้เป็นหลายสาเหตุ เหตุแรกคือ ภาวะการปวดท้องประจำเดือนแบบปฐมภูมิ เป็นภาวะปวดท้องประจำเดือนที่เราทำการตรวจเบื้องต้นแล้วไม่พบรอยโรคผิดปกติในอุ้งเชิงกราน กลุ่มนี้มักเกิดในสตรีอายุน้อย ๆ ซึ่งจะมีความรุนแรงแตกต่างกันไป อีกสาเหตุคือ ภาวะการปวดท้องประจำเดือนที่เกิดจากโรคที่เราพบบ่อย ๆ ทางโรคเฉพาะสตรี มักเกิดในผู้หญิงที่อายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป ได้แก่ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งคือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญอยู่นอกโพรงมดลูก ไปเจริญอยู่ที่ชั้นกล้ามเนื้อมดลูกก็ทำให้เกิดเนื้องอกมดลูกประเภทหนึ่งไปเจริญอยู่ที่รังไข่ ทำให้เกิดลักษณะมีเลือดเก่าๆ อยู่ในรังไข่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายช็อกโกแลต เราก็รู้จักกันดีในโรคช็อกโกแลตซีสต์ ภาวะโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ก็จะทำให้ผู้ป่วยปวดท้องประจำเดือนมาก และมากขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปอาจนำไปสู่ภาวะปัญหาการมีบุตรยาก เนื่องจากเกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน
การรักษาภาวะปวดท้องประจำเดือนแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย ในกรณีที่ตรวจดูแล้วไม่พบรอยโรคผิดปกติ แพทย์จะให้การรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ถ้าตรวจพบเนื้องอกหรือซีสต์ขนาดไม่ใหญ่มาก ก็จะพิจารณาให้ฮอร์โมนเพื่อเป็นการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยให้การรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการดูแลตนเอง โดยเฉพาะสุภาพสตรี ควรได้รับการตรวจสุขภาพโรคเฉพาะสตรี (นรีเวชวิทยา) อย่างน้อยปีละครั้ง พร้อมทั้งคอยหมั่นสังเกตรอบประจำเดือนของตัวเองว่ามาสม่ำเสมอหรือไม่ และที่สำคัญคือ ภาวะการปวดประจำเดือน ถ้าการปวดประจำเดือนมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โรคปวดท้องประจำเดือน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)