August 26, 2019 21:24
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ปวดเข่าเป็นได้จากหลายสาเหตุครับ
เช่น
-กล้ามเนื้อรอบเข่าอักเสบ
-เอ็นอักเสบ/ฉีกขาด
-ถุงน้ำในเข่าอักเสบ
-หมอนรองกระดูกฉีกขาด
-โรคทางข้อ เช่น เกาท์เทียม, เข่าเสื่อม
เป็นต้น
แนะนำให้พักการใช้งาน พยายามลดน้ำหนัก และไปพบแพทย์ กระดูกและข้อ เพื่อตรวจร่างกาย และรักษาได้ถูกโรคครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
อาการปวดข้อเข่าเป็นได้จากหลายสาเหตุครับ ซึ่งแต่ละสาเหตุก็จะมีการรักษาแตกต่างกันไป
อาการปวดขข้อเข่านั้นอย่างแรกต้องแยกก่อนว่าเป็นอาการปวดจากส่วนต่างๆบริเวณรอบข้อหรือไม่เช่น เอ็นอักเสบ หรือกล้ามเนื้ออักเสบเป็นต้นครับ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการใช้งานหนัก หรือมีการกระทบกระแทก เป็นต้น
>>การรักษาคือการงดใช้ข้อเข่า หรือลดการยืนหรือ เดิน หรือ การออกกำลังกายหนักๆ นั้นเองครับ รวมถึง อาจจะใช้ยาลดการอักเสบแก้ปวดเพื่อใช้บรรเทาอาการร่วมด้วยได้ครับ
นอกจากนี้ อาการปวดจากข้อเข่านั้น ต้องแยกอีกหลายโรคครับ เช่น
1.หมอนรองเข่าอักเสบ
2.ข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมักจะเจอในผู้สูงอายุ. คนที่น้ำหนักค่อนข้างมาก ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเป็นต้น
3.โรคเก๊าท์หรือเก๊าท์เทียม อาการจะปวดรุนแรง ข้อบวมแดงมาก
4.โรคความภูมิกันผิดปกติ เช่น sle หรือโรครูมาตอยด์เป็นต้น
ซึ่งในแต่ละโรคก็มีลักษณะอาการปวดแตกต่างกันไป และมีอาการร่วมแตกต่างกันไปครับ
ดังนั้นอาการปวดเข่าที่เกิดขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อดูลักษณะอาการปวด. ตรวจดูบริเวณข้อเข่าว่าเข้าได้กับโรคใดมากที่สุดจึงจะรักษาได้ถูกต้องตามวินิจฉัยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปวดขาปวดหัวเข่ามากจนเดินลุกนั่งลำบากปวดมาเป็นอาทิตล่ะคะกินยาคลายเส้นก็ไม่หายสักที
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)