December 17, 2018 19:21
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีอารมณ์เศร้าติดต่อกันเป็นเวลานาน ร้องให้บ่อยๆ รับประทานอาหารได้น้อยลง จนถึงขั้นอยากทำร้ายตัวเองนั้นอาจเป็นอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ถ้าหากอารมณ์เศร้าที่เป็นอยู่นั้นเป็นติดต่อกันเป็นเวลานานจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันหมอก็แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการเพิ่มเติมก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ในจากเรื่องที่ตัวน้องเล่ามาก็จะทำให้เห็นนะครับว่าตอนนี้น้องกำลังเผชิญปัญหาของครอบครัวและกำลังอยู่ในช่วงชีวิตที่สำคัญในการที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยและจากสถานการณ์เหล่านี้ก็เข้ามาทำให้เราเกิดความเครียดที่นำไปสู่อาการที่ทำให้น้องคิดว่าตัวน้องเองจะมีภาวะในโรคซึมเศร้านะครับ
ในส่วนของภาวะโรคซึมเศร้านี้ก็สามารถลองดูในคอมเม้นท์ของคุณหมอและพิจารณาตนเองตามอาการที่คุณหมอได้ระบุไว้ และลองทำแบบประเมินเพื่อให้ได้คะแนนออกมาดูได้ครับ ก็จะทำให้น้องเห็นภาพมากขึ้น ซึ่งอาจจะสามารถทำให้น้องตัดสินใจได้ครับว่าควรจะเข้าพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาหรือไม่ แต่โดยคำแนะนำของผม หากรู้สึกว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ก็ควรที่จะเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญอาจจะเพื่อป้องกันไม่ให้อาการส่งผลกระทบกับชีวิตมากยิ่งขึ้นครับ
นอกจากนั้นแล้วน้องอาจจะต้องลองหันกลับมาดูแลตนเองมากขึ้น พยายามแบ่งเวลาส่วนหนึ่งเพื่อทำกิจกรรมที่จะทำให้ผ่อนคลายหรือทำกิจกรรมที่น้องชอบนะครับ เพราะการเรียนที่มากเกินไปก็จะเป็นการเพิ่มความเครียดให้ตนเอง ที่จะทำให้สมองเราไม่สามารถมีสมาธิและยังส่งผลต่อสภาพจิตใจของเราอีกด้วย การลองออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการพูดคุยปรึกษาปัญหาเหล่านี้กับคนที่เราไว้ใจนั่น ก็อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้น้องสามารถบริหารจัดการกับความเครียดในชีวิตที่เกิดขึ้นได้ครับ พยายามทานอาการให้ครบมื้อไว้ และพยายามนอนหลับให้ได้เพียงพอนะครับ
สุดท้ายนี้ขอเป็นกำลังใจให้น้องผ่านพ้นช่วงเวลาตรงนี้ไปได้นะครับ และขอให้สามารถได้มหาวิทยาลัยหรือเลือกอนาคตที่ตนเองต้องการได้สำเร็จครับ ถ้าหากมีคำถามเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
เบื้องต้นลองทำแบบประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเอง ดูก่อนก็ได้ค่ะ โดยให้สำรวจอาการภายในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยเพียงใด โดยให้คะแนนแต่ละอาการดังนี้
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7วัน 1 คะแนน
มากกว่า 7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
ลักษณะอาการในช่วง 2 สัปดาห์
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวต้องผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
รวมคะแนน หากคะแนนรวมมากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป ก็อาจเข้าข่ายโรคซึมเศร้าได้ค่ะ ควรพบจิตแพทย์นะคะ ประเมินอาการเพิ่มเติม รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม(รักษาด้วยยา+จิตบำบัด)จะช่วยให้อาการดีขึ้น มีกำลังใจพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งต่างๆได้ดีขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อยากสอบถามคุณหมอค่ะ ว่าตัวเองมีภาวะเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามั้ย เมื่อปีที่แล้วครอบครัวมีปัญหาพ่อกับแม่แยกทางกัน จากเมื่อก่อนเป็นคนที่อารมณ์ดีร่าเริงอยู่เสมอ แต่ตอนนี้รู้สึกว่าตัวเองเงียบผิดปกติมากๆจนเพื่อนๆและคนรอบข้างสังเกตได้ กินข้าวได้น้อยกว่าปกติ ทะเลาะกับพ่อแทบทุกวันรู้สึกว่าตัวเองร้องไห้เก่งมากๆ ซึ่งตอนนี้ก็อยู่ม.6 ช่วงที่ต้องแบกรับอะไรหลายๆอย่างกังวลไปทุกเรื่อง เวลาเจอเรื่องเครียดๆก็มักจะคิดทำร้ายตัวเองเสมอ ไม่มีความสุขในชีวิตประจำวันเลยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)