August 10, 2019 21:01
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
การตั้งครรภ์ ในผู้หญิงจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการตกไข่ในผู้หญิง และมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีการตกไข่เท่านั้น (ส่วนใหญ่ในช่วงประมาณ14วันนับจากประจำเดือนวันแรกครับ) ถ้ามีการสอดใส่ หรือไม่มีการป้องกัน ก็จะมีโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ครับ
โดยการมีเพศสัมพันธ์ด้วยวิธีหลั่งข้างนอก จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ประมาณ 20% แนะนำให้ทานยาคุมฉุกเฉินให้เร็วที่สุด เพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
ไม่มีวิธีคุมกำเนิดใดที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% นะคะ ดังนั้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้ค่ะ
ซึ่งการคุมกำเนิดด้วยวิธีต่าง ๆ ทำได้เพียงลดความเสี่ยงที่มีให้น้อยลงเท่านั้น โดยจะลดได้มากหรือน้อย ก็ขึ้นกับประสิทธิภาพของแต่ละวิธี และขึ้นกับการใช้ว่าถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่
การหลั่งนอก มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 4 - 22% ค่ะ แต่โดยทั่วไปถือว่าความเสี่ยงจะค่อนไปทางสูง คือ 22% นะคะ อาจดูว่าเสี่ยงน้อยกว่าการหลั่งในโดยไม่ป้องกันใด ๆ เลย ที่จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 85%
แต่ถ้าเทียบกับการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้องและไม่รั่วซึมหรือฉีกขาด ที่จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 2% ก็จะเห็นได้ว่าการหลั่งนอกไม่ใช่ทางเลือกที่ดีในการป้องกันการตั้งครรภ์นะคะ
ดังนั้น หากผู้ถามยังไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ แต่เป็นเพียงการถามไว้ก่อน แนะนำให้แฟนใช้ถุงยางอนามัยดีกว่านะคะ
..
..
..
แต่ถ้าผู้ถามมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว หากยังไม่พร้อมจะมีบุตร แนะนำให้คุมกำเนิดฉุกเฉินเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวให้น้อยลงค่ะ โดยมี 2 ทางเลือก ได้แก่...
1. รับประทานยาคุมฉุกเฉินโดยเร็วที่สุดที่ทำได้ ยิ่งเร็วยิ่งดี อย่างช้าไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์
แต่วิธีนี้มีประสิทธิภาพไม่สูงนักนะคะ แม้จะใช้ครบขนาดและทันเวลา ก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 15 - 25% ค่ะ และไม่มีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องหลังรับประทาน หากจะมีเพศสัมพันธ์อีก ก็จะต้องใช้ถุงยางอนามัยป้องกันทุกครั้ง
2. ไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อใส่ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดงภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์
วิธีนี้มีประสิทธิภาพสูงมาก ผู้ใช้มีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 0.6 - 0.8% เท่านั้น และมีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องได้นาน 3 - 10 ปี ขึ้นกับรุ่นของห่วงอนามัยที่ใช้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
แล้วถ้าไม่กินยาคุมละค่ะจะท้องมั้ย😂
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
ถ้าไม่ป้องกันฉุกเฉิน ผู้ถามก็จะมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ประมาณ 22% ตามผลป้องกันของวิธีหลั่งนอกค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
การมีเพศสัมพันธ์โดยการหลั่งนอกนั้นอาจมีอสุจิที่ปนอยู่ในน้ำหล่อลื่นของผู้ชายหลุดลอดเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ทำให้มีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้ 4-27% ครับ
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรหายาคุมฉุกเฉินมารับประทานให้เร็วที่สุดก่อนจะดีกว่าครับ โดยให้รับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ก็จะช่วยลดโอกาสตั้งครรภ์ลงได้ 75-85% แต่ถ้าหากเลยช่วงเวลาดังกล่าวไปแล้วก็ยังอนุโลมให้รับประทานภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ประสิทธิภาพของยาก็จะลดลงไปเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไปครับ
และในครั้งต่อไปที่จะมีเพศสัมพันธ์อีกก็ควรมีการป้องกันทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ประจำเดือนมาวันที่2หมดวันที่7แล้วมีเพศสัมพันวันที่10จะท้องมั้ยค่ะ(หลั่งนอกค่ะ)แล้วก้ไม่ได้กินยาคุม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)