September 06, 2019 00:02
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การมีความรู้สึกเบื่อหน่าย เศร้า ร้องไห้ บ่อยๆ ต่อเนื่องเกือบทุกวัน นานเกิน 2 สัปดาห์ อาจต้องพึงระวังเรื่องของภาวะซึมเศร้านะคะ
อาการซึมเศร้า ต้องมีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย 7 อาการ และเป็นต่อเนื่องเกือบทุกวันนานเกิน 2 สัปดาห์
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข ไม่อยากทำอะไรเลย
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย
4.มีปัญหาด้านการนอนหลับ หลับไม่สนิท หลับยาก
5.มีปัญหาด้านการกิน กินได้น้อย เบื่ออาหาร หรือกินได้เยอะ
6.ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืม
7.หงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย
8.รู้สึกไร้ค่า
9. อยากตาย /อยากทำร้ายตัวเอง
ซึมเศร้า มีสาเหตุหลักมาจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ หากมีเหตุการณ์หรือปัญหาเข้ามา ก้อาจกระตุ้นให้อาการรุนแรงมากขึ้นได้
ดังนั้นการรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดี คือ การรักษาด้วยยา ร่วมกับ การทำจิตบำบัดนะคะ
- ยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมองให้หลั่งเป็นปกติ ทำให้ความคิด อารมร์ พฤติกรรมแสดงออกมาเหมาะสมตามความเป็นจริง
-จิตบำบัด เป็นการฟื้นฟูสภาพจิตใจ ช่วยให้ปรับตัวได้ดีขึ้น
ระหว่างรักษา ควรทานยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง หากมีอาการผิดปกติให้ไปพบแพทย์ก่อนนัดทันที , พักผ่อนให้เพียงพอ , หมั่นออกกำลังกาย , งดสารเสพติดทุกชนิด และไปพบแพทยืตามนัดทุกครั้งนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คือตอนแรกจะมีเอนเนอจี้ในการทำงานมากค่ะ เพราะทำพาทไทม์ด้วย อยากทำงาน ขยัน ไม่เหนื่อยหรือเบื่อเลย แต่จะเป็นอาการแบบนี้สลับกัน เช่น สัปดาห์แรกขยันมาก ว่างไม่ได้เลยต้องหาอะไรทำ สัปดาห์นี้กลับไม่อยากทำอะไรเลย รู้สึกเหนื่อย ท้อแท้ เห็นงานก็ไม่อยากทำ ไม่อยากออกไปไหนเลย ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองไร้คุณค่านะคะ พอเป็นแบบนี้สักสองสามวัน ก็กลับไปดป็นเหมือนเดิมค่ะ ก็เลยไม่เข้าใจตัวเองมากๆ
มีความรู้สึกว่าไม่เข้าใจความรู้สึกตัวเอง ไม่เข้าใจความต้องการของตัวเอง เบื่อ ไม่อยากทำอะไร อยากอยู่คนเดียว ไม่อยากพูดคุยหรือเจอกับใคร นั่งเหม่อ อยากร้องไห้ แต่ไม่รู้สึกอยากทำร้ายตัวเอง แค่อยากอยู่เฉยๆ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)