March 17, 2017 18:56
ตอบโดย
สุเทพ สุขนพกิจ
ในคนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์แต่ประจำเดือนไม่มา มาน้อยหรือนาน ๆมาครั้ง สาเหตุที่พบมาจาก 3 สภาวะคือ
1. วัยที่ประจำเดือนเพิ่งมาครั้งแรก 2.วัยที่กำลังหมดประจำเดือน 3. ฮอร์โมนผิดปกติ
ประจำเดือนมาเร็วนั้นเกี่ยวข้องกับอาหาร การกินอยู่ สิ่งแวดล้อมจะทำให้สมองทำงานเร็วกว่าปกติส่งฮอร์โมนไปกระตุ้นรังไข่ให้ปล่อยฮอร์โมนเพศออกมากระตุ้นเยื่อบุมดลูก แต่เนื่องจากรังไข่ของเด็กผู้หญิงที่มีอายุน้อยนั้นยังไม่พร้อมจะทำงาน เมื่อมีฮอร์โมนจากสมองมากระตุ้นก็ปล่อยฮอร์โมนได้บ้างปล่อยไม่ได้บ้าง ประจำเดือนจึงมักมาบ้างไม่มาบ้างจนกว่ารังไข่จะทำงานได้เต็มที่ ดังนั้นกรณีนี้จึงถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากมี
อาการผิดปกติต่อไปนี้ควรพามาพบแพทย์
1. ประจำเดือนมาเร็วกว่าอายุ 8 ปี อาจทำให้ตัวเตี้ยได้ เพราะกระดูกอ่อนปิดเร็วขึ้นจากการได้รับฮอร์โมนเพศ
2. ประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 3 เดือน
3. ประจำเดือนไม่ค่อยมา แต่มาครั้งหนึ่งนานและมากเกิน 1 สัปดาห์
4. ประจำเดือนมากระปริบกระปรอยตลอดทั้งเดือน
วัยที่กำลังหมดประจำเดือน ในวัยหมดประจำเดือนอยู่ในช่วงอายุ 45-50 ปี รังไข่เริ่มทำงานน้อยลงส่งผลให้ขาดหรือหมด อาการปกติของวัยที่จะหมดประจำเดือนมีดังนี้
1. ประจำเดือนมาเร็วขึ้น เช่น เคยมาเดือนละ 1 ครั้งก็อาจมาหัวเดือนท้ายเดือนหรือ 20 วันมาครั้งหนึ่ง
2. ประจำเดือนมาน้อยลงหรือเริ่มขาดหาย 2-3 เดือนมา 1 ครั้ง
ส่วนอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์คือ
1. ประจำเดือนมามากผิดปกติ
2. ประจำเดือนมาเกิน 7 วัน
3. มีเลือดออกหลังยกของหนักหรือมีเพศสัมพันธ์(อาจเป็นอาการของมะเร็งปากมดลูกได้)
4. เลือดประจำเดือนมีกลิ่นเหม็น(อาจเป็นการอักเสบภายในได้)
ได้รับฮอร์โมนเข้าร่างกาย การได้รับฮอร์โมนมักมีผลกระทบกับประจำเดือนทำให้ประจำเดือนขาดหายได้
1. การรับประทานยาคุมกำเนิดนาน ๆ บางเดือนอาจไม่มีประจำเดือน
2. การฉีดยาคุมกำเนิด มักไม่มีประจำเดือนเลย หรือนานๆจะมีประจำเดือนกระปริบกระปรอย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ประจำเดือนมาน้อยบางเดือนก็ไม่มาเป็นเพราะอะไรค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)