December 26, 2019 14:25
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้าสัมพันธ์กับประจำเดือนตลอด อาจเป็นกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) มักจะมีอาการก่อนประจำเดือนจะมาประมาณ 5-11 วัน และอาการจะดีขึ้นหลังประจำเดือนมาได้ 4-7 วันครับ
อาการปวดประจำเดือนมักเกิดจากเลือดประจำเดือนไหลออกมาไม่ทัน หรือออกมาไม่สะดวกจึงทำให้เกิดเลือดคั่งในโพรงมดลูก
กล้ามเนื้อมดลูกจึงพยายามบีบรัดตัวเพื่อเป็นการขับเลือดออกมา ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณท้องน้อยหรือปวดหลังได้ครับ
โดยอาการอาจจะเกิดขึ้น ก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และในช่วงการมีประจำเดิอน ประมาณ 12-72 ชมแรกครับ
อาการปวด จะปวดแบบบีบๆ เหนือหัวหน่าวบริเวณท้องน้อย อาจร้าวไปหลังได้ด้วย อาจมีอาการตามระบบร่วมด้วย เช่น ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศรีษะ ท้องเสียถ่ายเหลว เป็นต้นครับ
วิธีการรักษาเบื้องต้นคือ นอนพัก รับประทานยาเเก้ปวด เช่น Ponstan Naproxen ,วางกระเป๋าน้ำร้อนที่หน้าท้องช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก หรือออกไปเดินเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด จะพอช่วยได้ครับ
แต่หากอาการปวดเป็นมากจนทำงานไม่ไหว ร่วมกับมีอาการอื่น เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจคิดถึงภาวะปวดประจำเดือนที่มีสาเหตุจำเพาะ(Secondary dysmenorrhea) เช่น เนื้องอกมดลูกจะมีประจำเดือนมามากได้ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(ช็อคโกเเลตซีสต์) เป็นต้นครับ ซึ่งควรไปพบสูตินรีเเพทย์ เพื่อตรวจภายใน หรือ อัลตร้าซาวด์ เพิ่มเติมครับ
ส่วนอาการอาเจียน ท้องเสีย เบื้องต้นคือต้องทดเเทนสารน้ำที่เสียไปครับคือการกินเกลือเเร่(ORS)ทดเเทน ถ้ายังพอกินได้มากินครับซื้อได้จากร้านขายยา(ไม่ใช่พวกเกลือเเร่สปอนเซอร์) จิบบ่อยๆเท่าที่ไหว ส่วนใหญ่จะหายได้เองครับ (ไม่ควรกินทีเดียวเป็นเเก้วๆ จะทำให้ท้องเสียมากขึ้น ให้ค่อยๆจิบครับ)
ส่วนยาเเก้คลื่นไส้ เช่น Domperidone ปรึกษาเภสัชกรได้ครับ เเต่ถ้าเป็นมาก กินข้าวไม่ได้ อ่อนเพลียมาก ควรพบเเพทย์ตรวจเเยกสาเหตุอื่นนะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณนะคะ🙇♀️
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการปวดท้องเวลามีประจำเดือนนั้นอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายในช่วงที่มีประจำเดือนครับ
แต่ถ้าหากมีอาการปวดท้องเวลามีประจำเดือนบ่อยๆก็อาจมีความผิดปกติบางอย่างซ่อนอยู่ได้ครับ เช่น
- มีการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- เนื้องอกมดลูก
- ซิสต์ในรังไข่
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ขอบคุณนะคะ🙇♀️
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
หากมีอาการปวดมากขณะเป็นประจำเดือน อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆที่พบได้เช่น
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ หากมีอาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆขณะมีประจำเดือน
เนื้องอกที่มดลูก
ซีสต์ที่รังไข่
ฮอร์โมนเพศไม่สมดุล
เป็นต้น
ฉะนั้น หากมีอาการปวดมากจนกระทบกับชีวิตประจำวัน แนะนำให้ไปพบแพทยนารีเวช เพื่อตรวจภายใน อัลตร้าซาวน์ เพื่อหาสาเหตุของการปวดประจำเดือนครับ
เบื้องต้น อาจทานยาแก้อักเสบ เช่น Celebrex, naproxen, ibuprofen เพื่อลดการปวด ร่วมกับ ยาพาราเซตามอล เบื้องต้นก่อนครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณนะคะ🙇♀️
เวลามีประจำเดือน 1-2 วันแรก จะมีอาการปวดท้องมาก มือเท้าเย็นจนเป็นลม มีอาการอาเจียน ท้องเสีย ร่วมด้วย เป็นแบบนี้ทุกเดือนที่มีประจำเดือนค่ะ บางทีปวดจนกระทบการเรียนกับทำงานต้องลาหยุด ปกติจะกินยาพอนสแตนค่ะใช้กระเป๋าน้ำร้อนร่วมด้วยแต่เป็นแบบนี้ทุกเดือนทรมานมากค่ะ ควรทำยังไงดีคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)