June 14, 2019 20:23
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
จากอาการตามที่เล่ามานั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ในเบื้องต้นนั้นหมอแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ส่วนในระหว่างนี้หมอก็แนะนำให้พยายามหากิจกรรมที่ผ่อนคลายมาทำ พยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หาเพื่อนมาพูดคุยบ้าง ออกไปหากิจกรรมใหม่ๆบรรยากาศใหม่ๆบ้าง ก็จะพอช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้ในระดับหนึ่งครับ
และถ้าต้องการขอคำปรึกษาในเบื้องต้นเพิ่มเติมก่อนไปพบจิตแพทย์ ก็สามารถโทรไปที่สายด่วนสุขภาพจิตเบอร์ 1323 ได้อีกหนึ่งช่องทางครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
หากมีอาการตามที่เล่ามาต่อเนื่องเกือบทุกวัน นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ มีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ
ซึมเศร้าเกิดจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ
การรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดีคือ การรักษาด้วยยา ยาจะปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ช่วยให้ควบคุมความคิด อารมณ์ พฤติกรรมแสดงออกมาได้เหมาะสม ส่วนการทำจิตบำบัดเป็นการฟื้นฟูสภาพจิตใจ ช่วยให้ปรับตัวกับปัญหาต่างๆได้ดีขึ้นค่ะ
ในกรณีที่มีอาการเข้าข่ายซึมเศร้า พี่แนะนำให้หนูพบจิตแพทย์นะคะ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม จะช่วยให้อาการดีขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาเหมือนกำลังเจอเรื่องเครียดหรือเรื่องกดดันทำให้รู้สึกเศร้า ประกอบกับที่ตนเองเป็นคนที่เก็บเรื่องต่างๆเข้ามาคิดเยอะ ทำให้ยิ่งรู้สึกกังวลและกดดันในหลายๆเรื่องที่เข้ามาในชีวิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้คุณสามารถลองตรวจสอบพฤติกรรมตนเองกับข้อมูลของคุณหมอและพี่นักจิตวิทยาที่ได้มาให้ความรู้ในเรื่องของภาวะโรคซึมเศร้านะครับ หากว่ามีอาการตรงกันมากๆก็มีแนวโน้มที่จะมีภาวะโรคซึมเศร้าได้ครับ
สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำและเพิ่มเติมก็คือให้ลองหาทางเลือกในการลองจัดการกับปัญหาและอารมณ์ของตัวเองตรงนั้นโดยการลองพูดคุยเรื่องเหล่านี้กับบุคคลที่ไว้ใจได้ หรือลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดู แต่หากอาการที่เล่ามาเริ่มเข้ามามีผลกระทบกับชีวิตประจำวัน ด้านการเรียน การทำงาน หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆในด้านลบมากขึ้น และคงอยู่เป็นสัปดาห์โดยที่เราพยายามหาวิธีการที่จะจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้แล้วแต่ก็ไม่สำเร็จ ก็อยากจะให้ลองเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมินและการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไปนะครับ
โดยนอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความตึงเครียดในตัวคุณลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการช่วยให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวอีกด้วยครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งแต่ยังไม่ต้องการที่จะพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ หากรู้สึกว่าตนเองมีแนวโน้มที่จะทำร้ายตนเองอีกครั้ง "สิ่งที่ต้องทำ" ก็คือการโทรหาใครซักคนที่เราสนิทและขอความช่วยเหลือจากเขา ให้เขามาอยู่เป็นเพื่อนหรือว่านำส่งโรงพยาบาลก็ได้นะครับ เพื่อทำให้คุณปลอดภัยจากความคิดเหล่านั้น หากว่าความคิดเหล่านั้นมันท้วมถ้นเข้ามาจริงๆ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คือหนูเป็นคนที่ประมาณว่าชอบคิดมากอ่ะคะเเล้วจะชอบเก็บคำพูดนั้นมาคิดเเล้วคิดอีกค่ะหนูจะชอบจมอยู่กับอดีตจนบางครั้งหนูคิดว่าหนูดิ่งมากๆจนไม่มีเเรงทำอะไรเลยเหนื่อยไปหมดเเต่ไม่ได้เป็นทุกวันนะคะบางครั้งเวลาหนูฟังเพลงอยู่น้ำตาก็จะไหลเองเเบบไม่ทราบสาเหตุเลยเเล้วก็หงุดหงิดง่ายมากๆบางครั้งหนูคิดว่าตัวเองไร้ค่าด้วยเคยคิดว่าอยู่ไปเพื่ออะไรเเล้วก็เคยกรีดเเขนตัวเองด้วยเเต่ที่หนูกรีดตอนนั้นหนูไม่รู้สึกเจ็บนะไม่กลัวเลือดด้วยทั้งๆที่เป็นคนกลัวเลือดบางครั้งหนูก็รู้สึกเศร้าเเบบจุกที่อกน้ำตาไม่ไหลออกมาอ่ะคะหนูอยากรู้ว่าหนูเป็นโรคซึมเศร้าหรือป่าว?
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)