September 04, 2019 18:50
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ การที่ควบคุมอารมย์ไม่ได้ โมโหง่าย ขาดความมั่นใจ อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
สำหรับโรคซึมเศร้าแล้วถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ มากกว่า 2 สัปดาห์ คือ
1.มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของทั้งวัน เกือบทุกวัน โดยอาจจะมีอารมณ์ต่างๆ เช่น รู้สึกแย่ รู้สึกว่างเปล่า ไม่มีความหวัง หรือมีผู้สังเกตเห็นอารมณ์ซึมเศร้านี้ เช่น ร้องไห้บ่อย
2.ความสนใจต่อสิ่งต่างๆและกิจกรรมต่างๆ รอบตัวลดลงเป็นส่วนใหญ่ของทั้งวัน เกือบทุกวัน
3.น้ำหนักลดอย่างมีนัยสำคัญโดยไม่ได้อดอาหาร หรือน้ำหนักขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (กล่าวคือน้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเดิมในระยะเวลา 1 เดือน) หรือมีความอยากอาหารที่เปลี่ยนไปเกือบทุกวัน
5.นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมาก เกือบทุกวัน
6.มีความผิดปกติแสดงออกทาง psychomotor เช่น ดูเชื่องช้าลง หรือดูไม่อยู่นิ่ง
7.อ่อนเพลียหรือหมดพลังเป็นส่วนใหญ่ของทั้งวัน เกือบทุกวัน
8.มีความรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า หรือมีความรู้สึกผิดที่มากเกินปกติ เป็นส่วนใหญ่ของทั้งวัน เกือบทุกวัน
9.ความสามารถในการคิด หรือมีสมาธิลดลง เกือบทุกวัน
10.มีความคิดเกี่ยวกับความตาย การฆ่าตัวตายโดยที่ไม่ได้วางแผน มีการพยายามฆ่าตัวตายอยู่บ่อยๆ
แนะนำถ้ามีอาการดังที่กล่าวไป ควรลองทำแบบทดสอบดูครับ ตามลิ้งด้านล่าง
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าได้คะแนนมากกว่า 7 ขึ้นไปแนะนำให้ลองไปพบจิตแพทย์ครับ เพราะสามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หนูทำแบบทดสอบแล้วนะคะ ได้14คะแนนค่ะ ขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะคุณหมอ หนูจะรีบหาเวลาไปหาหมอค่ะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการร้องไห้ว้าเหว่บ่อยๆ คิดช้า ขาดความมั่นใจ หงุดหงิดง่าย มีการทำร้ายตัวเองเกิดขึ้นบ่อยๆนั้นอาจเป็นอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
อาการในลักษณะที่เล่านี้มักเกิดจากโรคทางด้านจิตใจมากกว่าที่จะเป็นโรคทางด้านระบบประสาทครับ หมอแนะนำว่าในกรณีนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หนูทำแบบทดสอบแล้วนะคะ ได้14คะแนนค่ะ ขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะคุณหมอ หนูจะรีบหาเวลาไปหาหมอค่ะ
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
จากอาการที่เล่ามา มีปัยหาในการควบคุมอารมณ์ เศร้า ทุบตีตัวเอง คิดช้าลง อาการเหล่านี้อาจบ่งถึงภาวะซึมเศร้าก็เป็นไปได้นะคะ
ซึมเศร้าเกิดจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ทำให้การคิด การแสดงอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆผิดปกติไปจากเดิม
อาการซึมเศร้า จะมีอาการดังต่อไปนี้
1. เบื่อหน่าย
2.ท้อแท้ เศร้า
3. อ่อนเพลีย
4.มีปัยหาการนอนหลับ
5.มีปัญหาเรื่องการกินอาหาร
6.ขาดสมาธิ
7.หงุดหงิด กระวนกระวายใจ
8.รู้สึกไร้ค่า
9. อยากตาย/อยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเกิน 7 ข้อ ต่อเนื่องเกือบทุกวัน นานเกิน 2 สัปดาห์ แนะนำพบจิตแพทย์นะคะ
ให้คุณหมอประเมินอาการให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสม
การรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดี คือการรักษาด้วยยา ร่วมกับการทำจิตบำบัด
ยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ช่วยให้ควบคุมความคิด อารมณ์ พฤติกรรมต่างๆได้เหมาะสมตามความเป็นจริง ส่วนการทำจิตบำบัดจะช่วยให้ปรับตัวกับปัยหาได้ดีขึ้นนะคะ
ในระหว่างทำการรักษาแนะนำให้ทานยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ งดสารเสพติดทุกชนิด และต้องไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง จะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
การที่ทำแบบสอบถามคัดกรองโรคซึมเศร้าแล้วได้ 14 คะแนนจะหมายถึงมีอาการที่น่าจะเข้าข่ายภาวะโรคซึมเศร้าในระดับหนึ่งเท่านั้นจะยังไม่ได้หมายความว่าคุณมีภาวะโรคซึมเศร้าขึ้นนะครับ ซึ่งอาการต่างๆที่เล่ามาไม่ว่าจะเป็นคิดช้า หรือควบคุมสีหน้า อารมณ์ไว้ไม่ได้ล้วนแล้วแต่เป็นอาการที่อาจจะเกิดจากความเครียดหรือภาวะทางจิตใจที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทครับ
แต่อย่างไรก็ตามหากอาการเหล่านี้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันจริงๆ การเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมินและการช่วยเหลือที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากครับ
นอกจากการเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาแล้ว การหันกลับมาดูแลตนเองให้มากขึ้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยคุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาให้ตนเองรู้สึกสงบ สนุก หรือผ่อนคลาย และอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านี้ควบคู่ไปกับการได้รับคำปรึกษาจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับอารมณ์ ความคิด และสมาธิของตนเองได้ดีขึ้นครับ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยหากทำแบบนี้ได้อย่างสม่ำเสมอ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคง แต่อาจจะเป็นการเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของอารมณ์และความคิดที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
รู้สึกโล่งอก ที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า
ขอบคุณมากๆเลยค่ะ หนูเองก็อยากพบจิตเเพทย์ค่ะ
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
จริงๆแล้วในกรณีที่รู้สึกว่ามีความผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์ พฤติกรรม สามารถพบจิตแพทย์ได้นะคะ หรือ แม้แต่การที่เรามีปัญหาบางอย่างที่ไม่สามารถจัดการหรือหาทางออกไม่ได้ก็สามารถพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา เพื่อรับคำปรึกษาได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หนูมีปัญหาควบคุมอารมณ์ กับสีหน้าไม่ได้ เวลาโกธรหรือไม่พอใจ จะออกหน้าชัดมาก เวลาเครียดจะทุบตีตัวเอง เศร้าอยู่อย่างนั้น ร้องไห้ รู้สึกหว้าเว่ ไม่รู้จะทำยังไง ร้องไห้บ่อยเพราะเครียดบ่อย คิดช้าทำช้า คิดไม่ทัน เวลาจะทำอะไร ไม่กล้าลงมือทำเลย ไม่มีความมั่นใจ กังวล จากที่เคยมั่นใจ มาตอนนี้กลัวว่าจะทำไม่ถูกค่ะ ประมานนี้ค่ะ หนูจะเป็นโรคเกี่ยวกับประสาทมั้ยคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)