December 17, 2019 21:51
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีผื่นคันที่บริเวณปากและรอบปากนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น เริม ผื่นอักเสบขแงผิวหนัง การแพ้ต่อสารบางอย่าง การระคายเคืองจากสารบางอย่าง การติดเชื้อรา
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการดูลักษณะผื่นเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ขอบคุณค่ะ
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
อาจเกิดได้จากการแพ้ครับ เช่น แพ้สารเคมี แพ้ครีม เครื่องสำอาง แพ้เหงื่อ ฝุ่น ขนสัตว์ อาหาร ยา เป็นต้นครับ
เบื้องต้น อาจทานยาแก้แพ้ เช่น CPM หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ควรไปพบแพทย์ด่วน เพราะอาจเกิดการแพ้รุนแรงได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
คัคนานต์
เทียนไชย
(พญ.)
อายุรกรรม
สวัสดีค่ะ
อาการที่กล่าว เกิดได้จาก
-การแพ้ยาสีฟัน รอบปากเป็นบริเวณที่พบบ่อยค่ะ
-การแพ้ยาทาสิว
-การแพ้ไรฝุ่น หรือ ครีมทาผิว
แนะนำว่าควรต้องดูผื่นประกอบการวินิจฉัยด้วยค่ะ
ควรไปพบแพทย์ผิวหนังประเมินอาการอีกครั้งค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
เป็นมานานเท่าไรแล้วครับ
เปลี่ยน ลิปสติก. หรือ เครื่องสำอาง หรือ ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หรือไม่ครับ
หรือ สัมผัสสารบางอย่าง ที่อาจก่อปฏิกิริยาแพ้ ทางผิวหนัง
ลองใช้ยาทา แก้แพ้ ครีม ไตรแอมซิโนโลน 0.02% สักไม่เกิน 2 สัปดาห์ ถ้าไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เป็นวันนี้ค่ะ
ตอบโดย
อนรรฆวี ฉง (พญ.)
สวัสดีค่ะ จากอาการคันบริเวณรอบปากเกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
1 ภาวะแพ้ อาจมีอาการคันรอบๆปากร่วมกับอาการปากบวมจากการสัมผัสสิ่งที่สงสัยว่าแพ้ เช่น อาหาร สารเคมี เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หรือ ยารับประทานอื่นๆ โดยอาจมีอาการร่วม เช่น ผื่นคันทั่วลำตัว คลื่นไส้อาเจียน ไปจนถึงอาการวิงเวียนซึ่งสามารถมีความดันโลหิตต่ำได้หากมีอาการแพ้รุนแรง ส่วนมากแล้วผื่นมักจะเป็นผื่นแพ้บวมแดงนูนเกิดเมื่อสัมผัสกับสิ่งที่สงสัยว่าแพ้หรืออาหารที่รับประทานกระตุ้นได้ การรักษาคือการรับประทานยาแก้แพ้ร่วมกับ หากมีอาการแพ้รุนแรงอาจต้องมีการรักษาโดยการฉีดยาเพื่อลดอาการแพ้
2 ภาวะผิวหนังอักเสบหรือผิวหนังแห้ง โดยลักษณะมักเป็นผื่นนูนหรือเป็นขุยสะเก็ด สามารถเป็นได้โดยมีภาวะกระตุ้น เช่น ในภาวะที่มีอากาศเย็น เป็นต้น มักมีอาการคันเล็กน้อยแต่ไม่มีอาการร่วมอื่นๆร่วม เป็นเฉพาะจุด การรักษาอาจจะรับประทานยาเพื่อลดอาการคัน ครีมเพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง
3 การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อเริมหรือการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยมากมักมีอาการร่วม คือ อาการบวมแดงร้อน อาจมีลักษณะพิเศษ เช่น หากเป็นตุ่มน้ำใส แสบร้อน อาจนึกถึงภาวะเริมบริเวณปากได้
โดยมากแล้วจะต้องมีการซักประวัติร่วมกับการตรวจร่างกายเพิ่มเติม เพื่อดูลักษณะของแผลบริเวณรอบปากว่ามีอาการเข้าได้กับภาวะไหนมากที่สุดเพื่อการรักษาตามโรค
แนะนำว่าอาจพบแพทย์ใกล้บ้านเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อการรักษาที่ถูกต้องค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะดิฉันมีอาการ เป็นผื่นคัน บริเวณปากและรอบๆปาก
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)