กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Rhinitis (เยื่อบุจมูกอักเสบ)

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ความหมาย เป็นการอักเสบและระคายเคืองของเยื่อบุจมูก อาจเป็นชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

สาเหตุ 

อาจเป็นชนิดแพ้หรือไม่แพ้ก็ได้ ชนิดแพ้มักเกิดจากการแพ้อากาศ จากยา ความโกรธ บุหรี่ มลพิษ น้ำหอม เนื้องอก ผนังสันจมูกคด เทอร์บิเนทบวม สิ่งแปลกปลอม มีการรั่วของน้ำไขสันหลัง มีติ่งเนื้อยื่น มีการติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน โพรงจมูกอักเสบอย่างเฉียบพลันและเรื้อรัง การตั้งครรภ์ การใช้ยาคุมกำเนิด มีการอักเสบของต่อมไทรอยด์ (Hypothyroiditis)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

พยาธิสรีรภาพ 

ชนิดไม่แพ้อาจมีสาเหตุจากหลายปัจจัย จากสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศเปลี่ยนจากอุณหภูมิหรือความชื้น กลิ่น หรือจากอาหาร การติดเชื้อ อายุ โรคในระบบต่าง ๆ จากยา เช่น Cocain, Nasaldecongestant เป็นต้น อาจเกิดจากสิ่งแปลกปลอม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของชนิดไม่แพ้ คือ หวัด (Common cold) เยื่อบุจมูกอักเสบ บวม แดง ภายในจมูกอักเสบ มีน้ำมูกเหนียวข้นในช่องจมูก

อาการ 

คัดจมูก จาม คันจมูก น้ำมูกไหล อาจเป็นหนองหากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย มีไข้ ปวดเมื่อยตัว มีอาการไอ ชนิดไม่แพ้อาจเกิดได้ทั้งปี

การวินัจฉัยโรค 

จากประวัติอาจจะมีอาการแพ้ อากาศ แพ้กลิ่นน้ำหอม ตรวจร่างกายพบอาการเหมือนเป็นหวัด ตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวสูง นำน้ำมูกเพาะเชื้ออาจขึ้นเชื้อแบคทีเรีย

การรักษา 

ขึ้นกับสาเหตุ ดูจากประวัติ การตรวจร่างกาย อาการที่เกิดจากการแพ้ ขึ้นกับความรุนแรงของสิ่งที่แพ้ อาจทำ Desensitizing  ให้ภูมิคุ้มกัน และสเตียรอยด์ หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียจะให้ยาปฏิชีวนะ หากมีความผิดปกติของผนังกั้นจมูกที่มีส่วน Polyps ของจมูก อาจให้ผู้เชี่ยวชาญทางหู จมูก และคอ (Ear, Nose, Throat;ENT) ตรวจให้ยาแก้แพ้ เช่น Dipheniramine (Benadryl), Chlopheniramine และ Bromphrniramine ยาตัวใหม่ ๆ เช่น  Loratadine, Fexofenadine และ Cetirizine (Zyrtec) อาจใช้ Cromolyn (Nasalcrom) อาจพ่นยา Inhalations ของ Intranasal ipratropium (Atrovent) พ่น 2-3 ครั้ง/วัน เมื่อมีอาการ เพื่อลด Rhinorrhea พ่นยาสเตียรอยด์ เมื่อมีอาการเป็นอย่างรุนแรง ยาหยอดตาช่วยลดอาการในตา ตาแดง

การพยาบาล 

แนะนำผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ เช่น ฝุ่น สัตว์ น้ำหอม แป้ง สเปรย์ ควันบุหรี่ แนะนำ เรื่องการควบคุมอุณหภูมิห้องที่บ้าน และที่ทำงาน พ่นจมูกด้วยน้ำเกลือ ยาพ่นจมูกจะช่วยให้ละลายน้ำมูกได้ จะช่วยลดการระคายเคืองได้ แนะนำเรื่องการได้รับยาเกี่ยวกับจมูก แนะนำการหยอดจมูก โดยแหงนศีรษะขึ้น พ่นจมูกเร็ว ๆ และคอย 1 นาทีก่อน ให้พ่นยาครั้งที่ 2 ทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้ แนะนำการล้างมือ โดยเฉพาะในผู้ที่เกิดจากการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการไปสัมผัสกับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น HIV คนที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน เป็นต้น ควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี ก่อนจะมีช่วงระบาดของไข้หวัด


32 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)