ภาวะนิ้วปุ้ม (Clubbing finger) หรือนิ้วตะบอง เป็นอาการที่เล็บมือ หรือเล็บเท้าเกิดความเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาจากภาวะสุขภาพอื่นๆ จนทำให้เล็บขยายใหญ่ และมีความโค้งกลมมากขึ้น
มีมุมระหว่างหนังกำพร้าและเล็บมากขึ้น ฐานเล็บอ่อนตัวขึ้นจนทำให้เล็บลอย และปลายนิ้วเบ่งออกซึ่งอาจเกิดพร้อมอาการผิวแดงหรืออุ่นด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นนานหลายสัปดาห์หรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการขึ้น
สาเหตุของภาวะนิ้วปุ้ม
ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ขึ้น แต่ก็มีโรคบางอย่างที่อาจกระตุ้นให้มีสารบางตัวในกระแสเลือดเข้าไปเปลี่ยนแปลงฐานของเล็บขึ้น เช่น
- มะเร็งปอด โรคที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ผิดปกติของปอดโตขึ้นเกินการควบคุม
- โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ภาวะทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อเกลือและน้ำที่ลำเลียงไปทั่วร่างกาย จนทำให้เกิดเมือกข้นภายในปอดและอวัยวะต่างๆ
- โรคพังผืดสะสมในปอด (Pulmonary Fibrosis) ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อปอดหนาตัวและเป็นแผลขึ้น และเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
- โรคหลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อทางเดินอากาศในร่างกายขยายใหญ่และเป็นแผลขึ้นจากการติดเชื้อหรือปัจจัยอื่นๆ จนทำให้ปอดไม่สามารถขจัดเมือกออกไปได้
- โรคปอดจากแร่ใยหิน (Asbestosis) โรคที่เกิดขึ้นจากการสูดนำแร่ใยหินเข้าไปจนสร้างบาดแผลให้กับเนื้อเยื่อปอด
- ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ซึ่งอาจเกิดเป็นผลจากโรคคอพอกตาโปน (Graves’ Disease) หรือโรคอื่นๆ
- การติดเชื้อในลำไส้ ซึ่งอาจเป็นผลจากโรคโครห์น (Crohn’s Disease) หรือโรคอื่นๆ
เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?
เมื่อสังเกตเห็นสัญญาณของอาการนิ้วปุ้มที่นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากภาวะต้นตอของอาการนี้มักเกิดจากโรคร้ายแรง การวินิจฉัยและการรักษาที่ทันท่วงทีอาจช่วยป้องกันไม่ให้ภาวะต้นตอมีความรุนแรงกว่าเดิม
การรักษาภาวะนิ้วปุ้ม
การรักษาภาวะนิ้วปุ้ม จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ขึ้น ซึ่งก็มีทางเลือกในการรักษาหลายรูปแบบ ได้แก่
- การบำบัดด้วยเคมีผสม การบำบัดรังสี และการผ่าตัดรักษามะเร็ง
- การใช้ยาผสานการบำบัดออกซิเจน โปรแกรมฟื้นฟูความสามารถของปอด และการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตเพื่อบรรเทาอาการของโรคซิสติก ไฟโบรซิส โรคพังผืดในปอด โรคหลอดลมโป่งพอง และโรคปอดจากใยหิน
- การใช้ยา หรือเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตเพื่อรักษาภาวะอักเสบของลำไส้
- การผ่าตัดรักษาภาวะหัวใจผิดปกติอื่นๆ
การป้องกันภาวะนิ้วปุ้ม
วิธีเดียวในการป้องกันภาวะนิ้วปุ้ม คือ การป้องกัน และควบคุมภาวะต้นตอต่างๆ เช่น
- ลดความเสี่ยงต่อโรคปอด ด้วยการไม่สูบบุหรี่และจำกัดปริมาณสารพิษที่ได้รับในสถานที่ทำงาน
- ลดโอกาสเป็นโรคหลอดลมโป่งพอง ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดและไอกรน รวมถึงไม่สูดดมควันบุหรี่หรือสารพิษต่างๆ
- ป้องกันโรคปอดจากใยหิน ด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกันเมื่อต้องทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับแร่ใยหิน
หากถูกวินิจฉัยว่า เป็นโรคปอด ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ และแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อประคองระดับออกซิเจนในเลือดให้ดีและเป็นการป้องกันอาการนิ้วปุ้มไปในตัว
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
อายุ 51 ปี มีอาการชาริมฝีปากล่างบ่อย ๆ อาการคือชายิบ ๆ เจ็บเล็กน้อยค่ะ มีอาการเป็นบางวันค่ะ ไม่มีโรคประจำตัว แต่ค่า LDL สูง 144 ค่ะ ไม่ทราบเกิดจากอะไรคะ ต้องพบแพทย์แผนกไหนคะ