August 14, 2018 23:49
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- มีการบาดเจ็บของช่องคลอดหรือปากมดลูกจากการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง
- มีภาวะปากมดลูกปลิ้นซึ่งเป็นภาวะปกติในผู้หญิงบางคนแต่ส่งผลให้มีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ได้ง่ายกวาคนทั่วไป
- มีติ่งเนื้อ เนื้องอก หรือมะเร็งปากมดลูก
- เนื้องอกมดลูก
- มีปากมดลูกหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบติดเชื้อ
- มีโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์บางชนิด เช่น เริม หนองใน ซิฟิลิส
เป็นต้น
ถ้าหากเลือดไม่ได้ออกมาในปริมาณมาก หยุดยาก หรือก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลียหน้ามืดเป็นลมจากการเสียเลือด ก็ไม่ถึงกับเร่งด่วนที่จะต้องไปพบแพทย์ทันทีที่เกิดอาการครับ
อย่างไรก็ตามหมอคิดว่าไม่ควรปล่อยให้อาการเป็นอยู่นานเกินไป เนื่องจากอาการดังกล่าวเป็นติดต่อกันมาถึง 2 ครั้งหลังมีเพสสัมพันธ์แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าอาจจะมีโรคบางอย่างซ่อนอยู่ภายในได้ครับ หมอคิดว่าควรลองหาเวลาในช่วง 1-2 วันนี้ไปพบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจวินิจฉัยอาการดูก่อนครับ ถ้าปล่อยอาการทิ้งไว้จนถึงเดือนพฤศจิกายนน่าจะนานเกินไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
สุพิชชา แสงทองพราว (พญ.)
ภาวะเลือดออกจากช่องคลอดแบบกะปริดกะปรอย นอกจากจะมีสาเหตุได้จากความผิดปกติของมดลูก เช่นเนื้องอกโพรงมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบติดเชื้เป็นต้นแล้ว
การมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงแรงเกินไป ก็อาจทำให้ช่องคลอดเกิดการฉีกขาดบางส่วนและทำให้มีเลือดไหลได้เช่นกัน. นอกจากนี้ การออกกำลังอย่างหนัก ในช่วงที่ก่อนหรือหลังมีประจำเดือนไม่กี่วัน ก็อาจทำให้มีเลือดออกมากะปริดกะปรอยได้เช่นกันค่ะ
การจะทราบถึงสาเหตุเลือดออกผิดปกตินี้ได้ ควรจะต้องไปตรวจภายในกับสูตินรีแพทย์ค่ะ
หากไม่ได้ใช้สิทธิประกันชีวิต ถ้ามีสิทธิการรักษาอื่นๆ เช่น สิทธิประกันสังคม หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็สามารถใช้สิทธิรักษาเพื่อตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ได้ค่ะ
หากยังไม่สะดวกไปพบแพทย์ ถ้าเลือดออกไม่เยอะมาก ปริมาณเล็กน้อย อาจจะรอดูอาการไปก่อนได้ค่ะ เมื่อสะดวก ค่อยไปพบ แต่หากรอบเดือนหน้ายังมีอาการเลือดออกกะปริดกะปรอยเช่นนี้อยู่ หรือมีเลือดออกติดต่อกันมากกว่า 2สัปดาห์ ก็ควรไปพบแพทย์ค่ะ ไม่ควรรอนาน เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไปค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ ขออนุญาตแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติม เพศสัมพันธ์ครั้งแรกก่อนมีประจำเดือนคิดว่าน่าจะมีการเสียดสีที่ก่อให้เกิดแผลเลยไม่ทันได้กังวล ในส่วนของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งที่2 หลังหมดประจำเดือน ไม่ได้มีการสอดใส่แต่เป็นการใช้อุปกรณ์ ก็เกี่ยวด้วยใช่ไหมค่ะ ควรรีบไปตรวจไม่ควรรอใช่ไหมค่ะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ทั้งการมีเพศสัมพันธ์แบบปกติและแบบที่ใช้อุปกรณ์ล้วนสามารถทำให้เกิดต่อการบาดเจ็บของช่องคลอดและปากมดลูกได้ครับ
แต่ที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือเป็นไปได้ว่าอาจจะมีรอยโรคบางอย่างที่ซ่อนอยู่ภายใน ซึ่งส่งผลให้มีเลือดออกได้ง่ายกว่าปกติทั้งๆที่แต่เดิมไม่เคยมีเลือดออก
หมอจึงแนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุดูก่อนจะดีกว่าครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มีเพศสัมพันธ์กับแฟนประมาณ 5 วันก่อนมีประจำเดือนแล้วมีเลือดไหลต่อเนื่องแบบกะปิดกะปรอยจนประจำเดือนมาประมาณ 5-7 วัน หลังจากประจำเดือนหมด 3 วันมีเพศสัมพันธ์กับแฟนตอนกลางวัน แล้วไปต่อยมวยออกกำลังกาย ตกเย็นมีเลือดออกอีกครั้ง จากนั้นมีเลือดปนตกขาวต่อเนื่องมาเกือบ 3 วัน เว้นช่วง 1 วัน วันนี้ไปต่อยมวยอีกหลังออกกำลังกาย 2 ชม ก็มีเลือดสดแค่เล็กน้อยปนมากับตกขาวที่ใสเหมือนน้ำ ไม่ทราบว่าควรต้องรีบไปหาหมอแค่ไหนค่ะ เพราะพึ่งซื้อประกันสุขภาพไปต้องรอครบกำหนดความคุ้มครองตอนเดือนพฤศจิกายน กลัวเป็นเนื้องอก/มะเร็งคะ พึ่งเคยเป็นแบบนี้ครั้งแรกค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)