กลับมามีความผูกพันทางเพศ
คุณอาจจะไปพบแพทย์เพื่อตรวจหลังคลอดประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังคลอดบุตร และถ้าแพทย์บอกว่าปกติดีก็สามารถกลับมามีความสัมพันธ์ทางเพศกับคู่ของคุณได้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการฟื้นตัว ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อนที่จะไปพบแพทย์ แม้ว่าจะไม่มีเลือดออกและไม่เจ็บแล้วก็ตาม การมีเพศสัมพันธ์หรือสอดใส่วัตถุใด ๆ เข้าไปในช่องคลอดก่อนที่จะหายดีอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อ และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ให้รอจนกว่าจะไปพบแพทย์และแพทย์บอกว่าทำได้ เป็นไปได้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมนั้นจะไม่ส่งผลต่อชีวิตทางเพศ แต่การมีสมาชิกใหม่ในครอบครัวที่ต้องดูแลพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เพิ่งผ่านมาของคุณ ก็มีแนวโน้มว่าคุณกับสามีจะต้องปรับเปลี่ยนสักเล็กน้อย ขณะที่คุณแม่ลูกอ่อนบางคนกังวลที่จะกลับไปมีความสัมพันธ์ทางกายกับสามีเหมือนก่อนคลอดลูก ส่วนคนอื่นอาจพบว่ามีความต้องการทางเพศลดลงหรือไม่สนใจเรื่องเพศเลย สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นภาวะปกติ จึงไม่ต้องกังวลถ้าคุณพบว่าตนเองมีความต้องการทางเพศลดลง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว และในช่วงหนึ่งก็จะกลับมามีความต้องการและความสนใจทางเพศตามเดิม ความต้องการทางเพศไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะได้รับผลกระทบ แต่มีสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้นมลูกก็อาจส่งผลต่อชีวิตทางเพศของคุณได้เช่นกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับสามี
สามีของคุณอาจกังวลเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเขา และเขาอาจไม่เข้าใจว่าคุณต้องการเวลาเพื่อฟื้นตัวทั้งด้านร่างกายและจิตใจเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการมีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง ถ้าเขาไม่รู้ว่าคุณคิดอย่างไร เขาอาจรู้สึกเจ็บปวด อาจจากไป ละเลย ไม่สนใจ หรือรู้สึกกังวลเรื่องความไม่สนใจเรื่องทางเพศของคุณ ความรู้สึกเจ็บปวดบางครั้งอาจกลายเป็นความไม่พอใจและความโกรธซึ่งทำให้ความสัมพันธ์มีปัญหา ควรทำให้แน่ใจว่าเขารู้ว่าคุณยังรักเขา เขายังดูน่าดึงดูดสำหรับคุณ และคุณต้องการกลับไปเหมือนตอนก่อนมีลูก ถ้าเขารู้ว่าคุณต้องการเวลาเพิ่มสักหน่อย เขาก็มีแนวโน้มที่จะเข้าใจและอดทนรอ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สิ่งที่คุณสามารถทำได้
พาสามีของคุณไปด้วยเมื่อพบแพทย์ขณะที่คุณตั้งครรภ์และปรึกษาเรื่องการมีเพศสัมพันธ์หลังให้กำเนิด ซึ่งแพทย์สามารถอธิบายเหตุผลที่คุณต้องพักหลังให้กำเนิดบุตรและความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น รักษาระดับการสื่อสารอย่างเปิดเผยเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดและความรู้สึกเจ็บปวด พูดคุยกับสามีว่าคุณคิดอย่างไร และให้เขาได้พูดว่าเขาคิดกับคุณอย่างไร ขณะที่กำลังฟื้นตัวควรแสดงความรักและความรู้สึกดี ๆ ต่อกันต่อไป เช่น ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน จูบ กอด จับมือ หรือพูดคุยกัน แม้ว่าคุณจะไม่มั่นใจว่าคุณพร้อมสำหรับเพศสัมพันธ์หรือ แต่ถ้าแพทย์บอกว่าทำได้ คุณก็ควรทำทางใดทางหนึ่ง โดยอาจคุยกับสามีให้ช้าลง การกลับมามีชีวิตทางเพศปกติ วิธีที่ดีที่จะทำให้สามีแน่ใจว่าคุณยังรักและต้องการเขา คุณอาจต้องการกลับมาเป็นปกติอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะรู้ว่าคุณพร้อมแล้ว คุณอาจต้องการตารางเวลาที่จะใช้ร่วมกัน สิ่งต่าง ๆ อาจไม่ได้เกิดขึ้นเองเหมือนแต่ก่อน แต่ถ้าคุณไม่วางแผนไว้มันก็อาจไม่เกิดขึ้นอีกเลย สามีของคุณเรียนรู้เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์และการให้นมบุตรสำหรับสามีของคุณแม่ลูกอ่อนแล้วหรือยัง
ความอ่อนล้า
การจะเป็นแม่นั้นใช้ทั้งเวลาและพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกยังเล็กมาก ๆ ถ้าคุณรู้สึกว่านอนหลับพักผ่อนไม่เต็มที่เนื่องจากต้องตื่นมาให้นมตอนกลางคืนและเลี้ยงดูลูกตลอดวัน คุณอาจเหนื่อยเกินกว่าจะมีเพศสัมพันธ์ซึ่งเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณจะคิดถึง
สิ่งที่คุณสามารถทำได้
พยายามพักผ่อนระหว่างวัน ถ้าคุณงีบพร้อมกับเด็กตอนบ่าย คุณจะไม่เหนื่อยล้าในช่วงกลางคืน เมื่อเพื่อนและคนในครอบครัวเสนอความช่วยเหลือควรตอบรับ ให้พวกเขามาเยี่ยมและใช้เวลากับเด็กสักชั่วโมง เพื่อที่คุณจะได้พักสักหน่อย สามีของคุณสามารถช่วยดูแลลูก ลูกคนโต หรือทำงานบ้าน ยิ่งเขาช่วยคุณมากคุณยิ่งมีเวลาและพลังงานสำหรับเขามากขึ้น
กินอาหารให้ถูกต้องและออกกำลังกาย เติมพลังงานให้กับร่างกายของคุณด้วยอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกายเบา ๆ ถึงปานกลาง มันสามารถช่วยให้คุณรู้สึกมีพลัง และต้องปรึกษาแพทย์ก่อนจะออกกำลังกายว่าปลอดภัยหรือยังที่จะเริ่มออกกำลังกาย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้บริเวอร์สยีสต์ (brewer's yeast) อาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งแม่ลูกอ่อนบางคนใช้เพื่อสู้กับความเหนื่อยล้า และประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นคืออาจช่วยสร้างน้ำนมได้มากขึ้นด้วย
อาการเจ็บเต้านม
อาการเจ็บจากหัวนมแตก เต้านมคัดตึง ท่อน้ำนมอุดตัน มีตุ่มน้ำ เชื้อรา หรือเต้านมอักเสบสามารถทำให้ความคิดเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ไม่น่าดึงดูด
สิ่งที่คุณสามารถทำได้
บอกสามีของคุณเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคุณ และปรึกษาเรื่องที่คุณไม่ต้องการใช้งานเต้านมระหว่างมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น รักษาสาเหตุของอาการเจ็บเต้านมหรือหัวนม โดยปรึกษาแพทย์ด้านการให้นมบุตรหรือปรึกษากลุ่มมารดาให้นมบุตร (La Leche group) เมื่อต้องการความช่วยเหลือ ใส่ชุดชั้นในที่เหมาะกับแม่ที่ต้องให้นมลูก หรือมีเพศสัมพันธ์ในท่าที่ไม่ต้องกดหรือบีบเต้านม
น้ำนมซึม
การมีเพศสัมพันธ์จะกระตุ้นเล็ต-ดาวน์ รีเฟลกซ์ (let-down reflex) และทำให้น้ำนมซึมหรือฉีดออกมาจากเต้านม ซึ่งอาจทำให้ตกใจหรืออับอายได้ถ้าคุณและสามีไม่ได้เตรียมพร้อมมาก่อน
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สิ่งที่คุณสามารถทำได้
คุยกับสามีเรื่องน้ำนมซึมแต่เนิ่น ๆ ว่าเขารู้สึกอย่างไร
- แปะแผ่นรองซับด้านในชุดชั้นในสำหรับแม่ที่ให้นมเพื่อช่วยให้น้ำนมไม่ซึมออกมา
- ปั๊มนมหรือให้นมลูกให้เรียบร้อยก่อนมีกิจกรรมทางเพศซึ่งจะทำให้น้ำนมซึมออกมาน้อยลง
- ถ้าสามีของคุณไม่มีปัญหาเรื่องน้ำนมซึมและเต้านมของคุณไม่เจ็บ ดังนั้นสามีของคุณก็ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยง เพราะการสัมผัสหรือกระตุ้นเต้านมจะไม่เป็นอันตรายต่อคุณหรือมีผลต่อน้ำนมแต่อย่างใด
ฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายจะต่ำลงเมื่อให้นมลูก ซึ่งทำให้ความต้องการทางเพศลดลง ทำให้รู้สึกตื่นตัวช้าและเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์เนื่องจากน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดน้อย
สิ่งที่คุณสามารถทำได้
- ไม่ต้องเร่งรีบ ให้ร่างกายใช้เวลามากขึ้นในการตื่นตัว
- ใช้สารหล่อลื่นเพื่อช่วยไม่ให้ช่องคลอดแห้ง
- ลองท่าทางใหม่ ๆ เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้นขณะมีเพศสัมพันธ์
- ปรึกษาแพทย์ในการสั่งครีม เอสโตรเจน ใช้ทาที่แคมและปากช่องคลอดถ้าคุณรู้สึกไม่สบายตัวขณะมีเพศสัมพันธ์
- คิดเป็นสองเท่าหากจะแว็กซ์ขนอวัยวะเพศ เพราะเอสโตรเจนที่ต่ำทำให้ช่องคลอดบางและอักเสบ (atrophic vaginitis) ซึ่งช่องคลอดจะแห้งและบางลง ถ้าดึงแว็กซ์แรงเกินไปอาจทำให้แคมฉีกขาด
รูปลักษณ์ของคุณ
คุณอาจรู้สึกว่ารูปร่างของคุณหลังจากมีลูกไม่น่าดึงดูดใจ น้ำหนักขึ้น รอยแตกลาย และเต้านมที่ใหญ่หนา รวมทั้งมีน้ำนมซึมอาจทำให้รู้สึกกังวลเล็กน้อย บวกกับมีเวลาน้อยมากที่จะโกนขนขา แต่งตัวด้วยชุดสวย ๆ ทำผม หรือแต่งหน้า ซึ่งคุณอาจรู้สึกว่าเมื่อทั้งหมดรวมกันจะทำให้ตัวเองดูไม่ดี คุณจะรู้สึกว่ามีแรงดึงดูดทางเพศและมีอารมณ์รัก ๆ ใคร่ ๆ น้อยลง
สิ่งที่คุณสามารถทำได้
- กินอาหารที่เหมาะสมซึ่งจะทำให้คุณมีสารอาหารที่ต้องการในการให้นมลูก เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพจะทำให้มีพลังงานมากขึ้น และค่อย ๆ ลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย
- ถ้าแพทย์บอกว่าออกกำลังกายได้ การออกกำลังเป็นประจำเป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มพลังงาน ยกระดับอารมณ์ ลดน้ำหนัก และรู้สึกดีต่อตนเอง เมื่อคุณรู้สึกดีต่อตนเอง ร่างกายคุณจะมีอารมณ์สำหรับกิจกรรมทางเพศมากขึ้น
- ให้สามีดูแลลูกซึ่งคุณจะมีเวลาอาบน้ำและแต่งตัว คุณอาจทำผมหรือแต่งหน้าเล็กน้อย เมื่อคุณดูดีคุณก็จะรู้สึกดีตามไปด้วย
- คุยกับสามีเกี่ยวกับความรู้สึกต่อรูปร่างของคุณ การยืนยันเล็ก ๆ น้อย ๆ จากสามีว่าคุณยังน่าดึงดูด และเขายังรักคุณอยู่อาจเป็นสิ่งที่คุณต้องการ
การขัดจังหวะ
เด็กทารกนั้นไม่สามารถคาดเดาได้ ดังนั้นควรเตรียมพร้อมเมื่อมีการขัดจังหวะการมีเพศสัมพันธ์ ถ้าลูกต้องการคุณ คุณควรหยุดสิ่งที่ทำและไปดูแลลูกก่อนที่จะกลับมาใช้เวลาร่วมกับสามี
สิ่งที่คุณสามารถทำได้
- ให้นมลูก เปลี่ยนผ้าอ้อม กล่อมนอนให้เรียบร้อยก่อนที่จะใช้เวลาร่วมกับสามี
- ต้องยืดหยุ่นและอดทน ลูกของคุณเป็นทารกแค่ช่วงเดียวเท่านั้น เมื่อเด็กโตขึ้น คุณกับสามีก็จะมีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น
ความกลัวต่อการตั้งครรภ์อีกครั้ง
คุณเพิ่งจะผ่านการตั้งครรภ์ และตอนนี้มีเด็กน้อยน่ารักที่ต้องดูแล คุณกำลังมีความสุขและมีประสบการณ์ที่น่าจดจำ แต่คุณไม่อยากที่จะเริ่มต้นใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง ความกลัวที่จะตั้งครรภ์อีกครั้งอาจทำให้กลัวที่จะร่วมเพศไปเลย การให้นมลูกช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ถ้าคุณให้นมลูกอย่างเต็มที่สม่ำเสมอ (อย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง) ขณะที่เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนและคุณยังไม่มีประจำเดือน แต่ถ้าหากคุณแน่ใจว่าไม่อยากตั้งครรภ์อีก คุณควรปรึกษาแพทย์เมื่อไปตรวจหลังคลอดว่าต้องการคุมกำเนิด ซึ่งมีวิธีคุมกำเนิดที่ปลอดภัยขณะที่ต้องให้นมลูก
สิ่งที่คุณสามารถทำได้
- คุยกับสามีเกี่ยวกับความกังวลนี้
- ปรึกษาวิธีคุมกำเนิดกับแพทย์ เมื่อคุณรู้สึกว่าสามารถวางแผนการมีลูกได้ คุณอาจพร้อมที่จะกลับไปมีความสัมพันธ์กับสามีอีกครั้ง