คำถาม : เมื่อไหร่ฉันจึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หลังจากการผ่าตัด?
คำถามเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์หลังการผ่าตัดเป็นคำถามที่พบบ่อย แต่ก็มีผู้ป่วยหลายคนที่ลังเลที่จะถาม คำตอบของคำถามนี้ก็คือขึ้นอยู่คุณ และชนิดของการผ่าตัดที่เพิ่งทำไป บางคนอาจสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ในวันรุ่งขึ้นหลังการผ่าตัด ในขณะที่บางคนอาจจะต้องรอหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แนวทางปฏิบัติทั่วไปเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์หลังการผ่าตัด
คุณน่าจะสามารถเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้ภายหลังจากการผ่าตัดทั่วไปเมื่อคุณเริ่มกลับไปทำงานได้ตามปกติและมีกิจกรรมทางกายเป็นปกติ
ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่อาจกำหนดแจ้งขอบเขตเวลานี้ให้กับผู้ป่วย แต่ไม่ได้จำเพาะเจาะจงเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ โดยส่วนมากแพทย์มักพูดว่า “คุณสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ใน_______” ซึ่งก็เป็นคำแนะนำที่ดีสำหรับการกลับไปมีเพศสัมพันธ์ตามปกติเช่นกัน สำหรับการผ่าตัดที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ระยะเวลานี้อาจเป็นแค่ไม่กี่วันหลังการผ่าตัด ในขณะที่สำหรับการผ่าตัดที่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์
คำแนะนำที่เราอยากให้ก็คือใช้ความเจ็บปวดเป็นตัวบอก คุณอาจรู้สึกว่าตนเองกลับมาเป็นปกติหลังจากการผ่าตัดแล้ว แต่อาจมีอาการเจ็บเกิดขึ้นขณะที่พยายามมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาการนี้เป็นการแสดงว่าร่างกายของคุณอาจจะยังไม่พร้อม และคุณต้องรอให้หายดีกว่านี้ก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามในบางกรณีอาจหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นโดยการปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่าง เช่นในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเต้านมอาจมีความไวต่อการเคลื่อนไหวแบบกระแทกมากกว่าปกติ ดังนั้นท่าที่ให้ผู้หญิงอยู่ด้านบนอาจทำให้มีการเคลื่อนไหวมากและปวดได้ แต่การใช้ท่าอื่นอาจไม่ทำให้เกิดอาการปวด
ประเภทของการผ่าตัดที่อาจจะต้องรอนานกว่าปกติก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์
ภายหลังจากการผ่าตัดบางประเภทเช่นการผ่าตัดเปิดหัวใจ คุณอาจจะรู้สึกว่ากลับมาเป็นปกติแล้วแต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายเหนื่อยเกินไป หากแพทย์มีการเตือนให้คุณระวังเรื่องการออกกำลังกายหนัก เช่นวิ่ง แอโรบิคแบบเร็ว ๆ หรือ ตักหิมะ คุณอาจจะต้องระมัดระวังเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน
การผ่าตัดที่ส่งผลต่ออวัยวะในระบบสืบพันธุ์ เช่น การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ การตัดมดลูก การผ่าตัดต่อมลูกหมาก หรือการผ่าตัดใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับองคชาติหรือช่องคลอดอาจต้องใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่าปกติก่อนที่จะสามารถเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้ ซึ่งรวมถึงการคลอดลูกด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดคลอดหรือคลอดเอง ในกรณีเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ที่ทำการผ่าตัดโดยตรงว่า “เมื่อไหร่จึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย”
ประเภทของการมีเพศสัมพันธ์นั้นมีผล
การมีเพศสัมพันธ์แบบหักโหมและต่อเนื่อง อาจไม่ใช่การเริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังจากการผ่าตัดที่เหมาะสม หากคุณเพศผู้ชายที่เข้ารับการผ่าตัดช่องท้อง คุณอาจอยากมีเพศสัมพันธ์ในท่าที่ไม่ทำให้เกิดแรงกดต่อช่องท้องเอง หากคุณผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คุณอาจจะต้องรอแพทย์บอกว่าปลอดภัยก่อนจึงจะมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักได้ หากคุณเป็นผู้หญิงที่เพิ่งผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก การอยู่ข้างล่างในท่า missionary อาจทำให้เจ็บ ดังนั้นควรค่อย ๆ มีเพศสัมพันธ์อย่างช้า ๆ และพยายามคิดหาทางลดอาการปวดหรือไม่สบายตัว และให้ตนเองมีความสุขไปพร้อม ๆ กัน
คำถามสำหรับคุณและคู่นอนก่อนการมีเพศสัมพันธ์
- ฉันรู้สึกอยากมีเพศสัมพันธ์? ขณะนี้ฉันมีพลังงานเพียงพอหรือไม่?
- การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักในขณะนี้ปลอดภัยหรือไม่?
- มีท่าใดที่อาจทำให้สบายกว่าท่าอื่นๆ
- ฉันควรจะหลีกเลี่ยงการเพิ่มแรงกดบางบริเวณ เช่นแผลผ่าตัดหรือไม่?
- ฉันต้องใช้อุปกรณ์อะไรเป็นพิเศษหรือไม่? การผ่าตัดบางอย่างเช่นการผ่าตัดช่องคลอดอาจทำให้ช่องคลอดแห้งและต้องใช้สารหล่อลื่น ในขณะที่การผ่าตัดอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดต่อมลูกหมาก อาจทำให้องคชาติแข็งตัวลำบาก หรือแข็งตัวได้ไม่นาน และอาจต้องมีการใช้ยาหรือหัตถการอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยเรื่องการแข็งตัว
- มีเหตุผลอะไรที่ควรต้องระวังไม่ให้มีการตั้งครรภ์หรือไม่? การผ่าตัดหรือยาที่ใช้รักษาหรือภาวะของฉันในปัจจุบันทำให้ต้องคุมกำเนิดหรือไม่?