April 21, 2017 11:52
อาการปวด ปวดศีรษะ การใช้ยา อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ พาราเซตามอล ยาแก้ปวด ibuprofen ไอบูโพรเฟน ปวดศีรษะไมเกรนตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
การรักษาอาการปวดหัวไมเกรนมีดังนี้
-กินยาบรรเทาปวด เช่น พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด ทันทีที่เริ่มมีอาการ อย่ารอให้ปวดนานเกิน 30 นาที จะได้ผลน้อย ในกรณีที่ใช้พาราเซตามอลไม่ได้ผล แพทย์อาจให้ยาบรรเทาชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ทามาดอล (tamadol) เออร์โกทามีน (ergotamine) ชูมาทริปแทน (sumatriptan) เป็นต้น ซึ่งควรกินเป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาปวด ถ้าคลื่นไส้มาก ให้กินยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ตามคำแนะนำของหมอ การกินยาควรปรึกษาแพทย์ก่อน ไม่ควรซื้อมากินเอง
-นอนพัก นวดเบาๆที่ศีรษะ
-หลีกเลี่ยงที่ที่อบอ้าว มีแสงจ้าหรือเสียงดัง หยุดการเคลื่อนไหวร่างกาย และการเดินขึ้นลงบันได
ถ้าคลื่นไส้มาก ให้กินยาแก้คลื่นไส้อาเจียน (ตามคำแนะนำของหมอ) ควบไปด้วย ในกรณีที่ใช้พาราเซตามอลไม่ได้ผล (พบได้ประมาณร้อยละ 20-30) แพทย์อาจให้ยาบรรเทาชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ทามาดอล (tamadol) เออร์โกทามีน (ergotamine) ชูมาทริปแทน (sumatriptan) เป็นต้น ซึ่งควรกินเป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาปวด
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1188 บาท ลดสูงสุด 7500 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
แนวทางการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน
1. การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต เช่น การหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการนอนมากเกินไป ความเครียดการถูกแดดมากเกินไป การได้รับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มบางอย่าง เช่น กาแฟ ชอคโกแลต ฯลฯ อาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ ส่วนมากปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้มักเกิดร่วมกันหลาย ๆ อย่าง และบางครั้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอเป็นทางออกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ได้
2. การใช้ยารักษา การใช้ยารักษาควรใช้กรณีที่จำเป็นยาที่รักษาพอสรุปได้ดังนี้
2.1 ยาในการรักษาอาการปวดไมเกรนแบบเฉียบพลัน ได้แก่
2.1.1 ยาแก้ปวด ได้แก่ พาราเซตามอล แอสไพริน nonsteroid anti-inflammatory drugs (NSAIDS) และยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของยาเสพติดให้โทษประเภท 3 เช่น Tylenol with Codeine แต่การใช้ยานี้พบว่าอาจทำให้มึนศีรษะได้และห้ามใช้ในเด็ก
2.1.2 ยากลุ่มเออร์กอต (Ergot-based drug) เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียงพอควร จึงควรใช้ในการรักษาอาการปวดไมเกรนที่รุนแรงและนาน ๆ เป็นสักครั้ง การใช้ยาบ่อย ๆ จะทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นและติดยา
2.1.3 ยากลุ่มทริปแทน (Triptan) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง กลัวเสียงได้ แต่มีราคาแพง
การใช้ยานอนหลับชนิดต่าง ๆ เช่น ไดอะซีแพม ก็สามารถใช้ในการรักษาไมเกรนได้ แต่ไม่ควรใช้บ่อยเพราะจะมีปัญหาติดยาเกิดขึ้น
2.2 ยาในการรักษาแบบป้องกัน ใช้ในกรณีที่มีอาการปวดไมเกรนบ่อย เช่น เกิน 2 ครั้งต่อเดือน การเกิดอาการปวดแต่ละครั้งรุนแรง หรือผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาในกลุ่มที่ใช้รักษาอาการปวดไมเกรนแบบเฉียบพลันได้ ยาในกลุ่มนี้ไม่ใช่ยาแก้ปวดจึงรักษาอาการปวดไมเกรนไม่ได้แต่เป็นยาที่ใช้สำหรับการป้องกันการเกิดไมเกรนและต้องรับประทานยาทุกวัน เป็นระยะเวลา 4-6 เดือน วัตถุประสงค์ของการใช้ยาป้องกันการเกิดไมเกรน คือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะหรือลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดศีรษะหลังจากหยุดยาในกลุ่มนี้อาการปวดศีรษะอาจหยุดไปเป็นเวลานาน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปวดหัวไมเกรนต่อเนื่องหลายเดือนแล้ว ปวดเกือบตลอดเวลา กินยาก็ไม่หาย ทำอย่างไรดีคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)