March 29, 2019 20:28
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นอาจจะต้องพิจารณาหลายปัจจัยคะ เช่น
1.ยังใช้งานข้อเท้าข้างนั้นอยู่มากหรือไม่ เช่นยืนนานๆเดินเยอะเป็นต้นคะ หากยังมีพฤติกรรมแบบเดิมอยู่ อาการก็อาจจะไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงได้คะ
2.มีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่นเส้นเอ็นฉีกและขาดหรือมีกระดูกแตกหรือหักร่วมหรือไม่คะ อาการจึงแย่ลงหรือไม่ดีขึ้นคะ
3.มีภาวะแทรกซ้อนเช่น ติดเชื้อร่วมด้วยหรือไม่คะ
แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดและหรืออาจจะต้องตรวจMRI เพิ่มเติมด้วยคะ เพื่อประเมิณโรคใหม่อีกครั้งคะ กรณีพักการใช้งานร่วมกับรับประทานยาต้านการอักเสบแล้วไม่ดีขึ้นคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ขอบคุณค่ะคุณหมอ
ข้อ1 ในการทำงาน(ผู้ช่วยสัตวบาลสุกรอนุบาล) ต้องใส่รองเท้าบู๊ทเดินทั้งวัน และมียืน, ปั่นจักรยานและยกแบกของบ้างค่ะ
ข้อ2 เคยเอกซเรย์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลในอำเภอไม่พบกระดูกแตกหรือหักค่ะ พอได้ประมาณ1เดือนอาการปวดไม่หายก็ไปโรงพยาบาลในจังหวัดให้ใส่เฝือก3สัปดาห์ค่ะ ไปโรงพยาบาลในจังหวัดก็หลายครั้งอยู่ค่ะ เจอหมอหลายท่านและหมอบางท่านก็บอกไม่เหมือนกันค่ะ พอเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ลองเอกซเรย์อีกครั้ง หมอบอกว่ามีรอยกระดูกแตกหน้าข้อเท้าแต่ติดแล้วและทำการฉีดยาแก้อักเสบให้ค่ะ พอไปโรงพยาบาลอีกก็บอกว่าเส้นเอ็นข้อเท้าอักเสบเรื้อรัง ยากินและยาฉีดก็คงช่วยไม่ได้ ให้ใส่ที่รัดข้อเท้า(แต่ก็ยังปวดอยู่)ค่ะ
ข้อ3 มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อร่วมด้วยหรือไม่คืออะไรหรอค่ะ
ส่วนMRIไม่เคยค่ะ ค่าใช้จ่ายคงสูง เนื่องจากใช้สิทธิประกันสังคมค่ะ
สวัสดีค่ะคุณหมอ ดิฉันอายุ24ปี คือดิฉันเดินก้าวเท้าลงตรงร่องแปลงผักแล้วล้ม ล้มแค่ครั้งเดียว ล้มเมื่อประมาณวันที่19 เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งก็ครบ1ปีแล้วค่ะ ไปหาหมอหลายครั้งแล้วก็ยังไม่หายปวดค่ะ อยากจะสอบถามว่าเส้นเอ็นข้อเท้าข้างขวาอักเสบเรื้อรังจะหายกลับมาปกติไหมค่ะ และมีวิธีการรักษาอย่างไรให้หายกลับมาปกติค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)