กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Sarcoidosis (โรคซาร์คอยโดสิส)

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

โรคซาร์คอยด์ (Sarcoidosis) เป็นโรคทางระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในอวัยวะของร่างกาย โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อมีเซลล์ของการอักเสบเจริญขึ้นในอวัยวะ โดยมากมักพบที่ปอด เรียกว่าโรคซาร์คอยด์ในปอด (Pulmonary sarcoidosis) รวมถึงบริเวณต่อมน้ำเหลือง ตา และผิวหนัง 

สมาคมโรคปอดแห่งสหรัฐอเมริกากล่าวว่า โรคซาร์คอยด์ประมาณครึ่งหนึ่งสามารถหายไปได้เอง แต่หากไม่หายก็สามารถเข้ารับการรักษาเพื่อช่วยให้ปอดและอวัยวะอื่นๆ ทำงานได้ดีขึ้น และในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ขั้นรุนแรงอาจจะต้องได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของการเกิดโรคซาร์คอยด์

ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากคิดว่าโรคซาร์คอยด์เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายพยายามควบคุมสารที่ไม่รู้จัก ซึ่งมักจะมาจากอากาศที่หายใจเข้าไป โดยปกติแล้วเมื่อมีสารที่อันตรายเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันก็จะส่งเซลล์มาที่อวัยวะนั้นๆ เพื่อช่วยทำลายสารดังกล่าว เมื่อมีการต่อสู้เกิดขึ้น จึงทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ และเมื่อสามารถกำจัดสารดังกล่าวไปได้แล้ว เซลล์ของภูมิคุ้มกันและกระบวนการอักเสบก็จะหายไป แต่หากคุณเป็นโรคซาร์คอยด์ การอักเสบจะยังคงอยู่ต่อไป เนื่องจากมีการสะสมของเซลล์และทำให้เกิดก้อนขึ้นในอวัยวะของคุณ

อาการของโรคซาร์คอยด์

ผู้ป่วยโรคซาร์คอยด์บางคนค่อยๆ มีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ในขณะที่บางคนมีอาการเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการมักจะตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคนี้เมื่อเข้ารับการตรวจเอกซเรย์จากปัญหาหรืออาการอื่น 

อาการและอาการแสดงของโรคซาร์คอยด์มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากโรค เมื่อเกิดโรคซาร์คอยด์ขึ้นในอวัยวะอื่นๆ นอกจากปอด คุณอาจมีอาการต่อไปนี้ได้

หากโรคนี้เกิดขึ้นที่ปอด คุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • คอแห้งเรื้อรัง
  • หายใจตื้น
  • หายใจมีเสียงวี้ด
  • เจ็บหน้าอกเล็กน้อย

การรักษาโรคซาร์คอยด์

โรคซาร์คอยด์ไม่มีวิธีรักษา แต่อาการของโรคมักหายไปได้เอง อย่างไรก็ตามการรักษาจะมุ่งเน้นที่การบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นจากโรค โดยแพทย์จะรักษาตามอาการ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ และความสามารถในการทำงานของอวัยวะนั้น 

หากโรคนี้เกิดขึ้นที่ตา หัวใจ หรือสมอง คุณจะต้องเข้ารับการรักษาไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม โดยแพทย์อาจสั่งจ่ายยาเหล่านี้เพื่อใช้ในการรักษา 

  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) มักเป็นยากลุ่มแรกที่ใช้ เนื่องจากสามารถลดการอักเสบได้ โดยสามารถใช้กับผิวหนังที่เป็นโรคได้โดยตรงหากใช้ในรูปแบบครีม หรือจะใช้ในรูปแบบยารับประทาน ใช้สูดเพื่อให้เข้าไปที่ปอด หรือให้ทางเส้นเลือดดำก็ได้ 
  • ยากลุ่ม Anti-rejection ช่วยลดการอักเสบโดยการกดภูมิคุ้มกัน 
  • ยาต้านมาลาเรีย อาจช่วยรักษาโรคที่เกิดกับผิวหนัง ระบบประสาท และภาวะแคลเซียมในเลือดสูงได้ 
  • Tumor necrosis factor-alpha (TNF-alpha) inhibitors อาจใช้ได้หากการรักษาด้วยยากลุ่มอื่นไม่ได้ผล 

อย่างไรก็ตามหากปอดหรือตับของคุณถูกทำลายอย่างรุนแรงจากโรคนี้ แพทย์อาจไม่มีทางเลือกอื่นในการรักษา นอกจากการแนะนำให้เข้ารับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pulmonary Sarcoidosis. Johns Hopkins Medicine. (Available via: https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/pulmonary-sarcoidosis)
Sarcoidosis - Lung Health A-Z. CHEST Foundation. (Available via: https://foundation.chestnet.org/patient-education-resources/sarcoidosis/)
Sarcoidosis: Practice Essentials, Background, Pathophysiology. Medscape. (Available via: https://emedicine.medscape.com/article/301914-overview)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เวลาตื่นนอนมาแล้วลุกขึ้นเดิน ร้สึกปวดส้นเท้ามากเดินแล้วเจ็บ แต่พอเดินไปสักพักก้อหาย อาการนี้มีวิธีรักษามั๊ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
นอนแล้วจุกหน้าอกบ่อยๆ สาเหตุมาจากอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
แผลคีรอยด์จากการผ่าตัด สามารถรักษาได้ไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรครูมตอยส์ อาการเป็นอย่างไงบ้างค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดช่วงเข่าหลังข้อพับขาไล่ถึงบริเวณใต้ก้น ไปหาหมอคุณให้เจาะน้ำออกจากเข่าแล้ว แร่ก็ยังไม่หายยังกลับมาเจ็บๆอยู่ค่ะ อยากทราบว่าจะรักษายังไงให้หายขาด
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้าเป็นฝีสามารถก่อให้เกิดเป็นเชื้อมะเร็งได้จริงเหรอป่าวคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)