May 26, 2019 14:05
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่มีอารมณ์เบื่อไปกับทุกอย่าง มีปัญหาการนอนติดกันมาเป็นเวลานานนั้นอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมเพื่อยืนยันสาเหตุที่แน่ชัดก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
จากอาการอาจบ่งถึงภาวะซึมเศร้าก็เป็นไปได้นะคะ
ลองสำรวจอาการอีกครั้งนะคะ ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมวันนี้ มีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน
1. เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.นอนไม่หลับ/หลับมากเกินปกติ
4.เบื่ออาหาร/ทานได้เยอะกว่าปกติ
5.อ่อนเพลีย
6.ขาดสมาธิ
7.หงุดหงิดง่าย
8.รู้สึกไร้ค่า ขี้น้อยใจ
9.อยากตาย/อยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเกิน 7 ข้อ ต่อเนื่องทุกวันนานเกิน 2 สัปดาห์ อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าได้สูงค่ะ ดังนั้นในกรณีนี้แนะนำพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งอาจต้องใช้ยาในการรักษา ตัวยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ช่วยให้ควบคุมความคิด อารมณ์ พฤติกรรมต่างๆได้เหมาะสมมากขึ้น และอาจทำจิตบำบัดควบคู่กันไปเพื่อช่วยให้ปรับตัวต่อปัยหาต่างๆได้ง่ายขึ้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาผมคิดว่าการนอนไม่หลับติดต่อกันนานๆ ก็มักจะส่งผลต่ออารมณ์และทำให้คุณมีอาการหงุดหงิดมากขึ้น หรือการที่ทะเลาะกับคนในบ้านก็ยิ่งทำให้รู้สึกเบื่อ และกลายเป็นปัญหาที่สะสมและส่งผลมายังปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับได้อีกครับ โดยในเบื้องต้นอยากจะลองพยายามนอนให้หลับให้ได้ก่อนครับ เพราะคุณเองก็รู้สึกว่าไม่อยากทะเลาะกับใคนๆในบ้าน ดังนั้นจริงๆแล้วคุณอาจจะต้องมีการควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ดีขึ้น โดยผมคิดว่าการเริ่มจากการนอนหลับให้เพียงพอน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญในกรณีของคุณครับ หากว่ารู้สึกต้องการตัวช่าย การเข้าปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อลองหาแนวทางปรับตัวหรือได้รับยาบางอย่างมาช่วย ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ครับ
ในเรื่องของการนอน ผมอยากให้คุณได้ลองจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนไม่ให้มีแสงสว่างเข้า ไม่มีเสียงรบกวน และนอนในที่นอนที่เรารู้สึกสบายและผ่อนคลายครับ ควรงด ชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของคาเฟอีกก่อนช่วงเวลานอนครับ การอาบน้ำอุ่น ทานนมอุ่นๆหรือกล้วย การออกกำลังกายในช่วงเย็น ก็จะสามารถช่วยให้ร่างกายมีอาการง่วงมากขึ้นได้ครับ แต่พยายามอย่าออกกำลังกายหักโหมก่อนเวลานอนนะครับเพราะการออกกำลังกายหนักๆจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายทำงานและอาจจะทำให้หลับได้ยากขึ้น ด้านล่างนี้ผมได้แนบบทความเกี่ยวกับการนอนไม่หลับไว้นะครับหากต้องการข้อมูลก็สามารถเข้าไปศึกษาได้ครับ
https://www.honestdocs.co/insomnia-psychiatric-disorders-sleep-deprivation
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญและปรับสภาพการนอนแล้ว ผมขอเพิ่มเติมว่า คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความตึงเครียดในตัวคุณลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการฝึกเพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งแต่ยังไม่ต้องการที่จะพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ และหากมีคำถามอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้เลยนะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ดิฉันอายุ35นอนหลับยากมากค่ะบางครั้งสองถึงสามวันค่อยหลับก้อมี แล้วพักหลังๆมานี่จะกลายเป็นคนหงุดหงิดง่ายอารม์ร้ายอยู่ร่วกับคนในครอบครัวบำบากมาก ไม่อยากทะเลาะกันเลย แต่ทุกคนก้อทำให้เราเบื่อ เบื่อทุกอยา่งดิฉันเป็นแบบนี้ต้องพบจิตแพทย์มั้ยคะ เมื่อก่อนไปหาหมอๆให้ยาตัวนี้มากินค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)