August 23, 2019 17:04
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ
กรณีน้ำหนักมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุทำให้ประจำเดือนขาดได้ค่ะ เพราะน้ำหนักมากจะมีไขมันสะสมมากไปด้วย และจะเกิดการสร้างฮอร์โมนเพศสูงและทำให้ฮอร์โมนแปรปรวนจนทำให้ประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอได้ค่ะ นอกจากนี้อาจคิดถึงสาเหตุอื่นๆได้ เช่น
-ระดับฮอร์โมนผิดปกติ หรือไม่มีการตกไข่
-เกิดความเครียด เป็นโรควิตกกังวล โรคอารมณ์แปรปรวน
-ผิดปกติทางโครงสร้างของมดลูก
-ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
-มีเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไต หรือรังไข่
-ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome)
-ภาวะพังผืดในมดลูก (Asherman's syndrome)
-วัยรุ่นที่เพิ่งมีประจำเดือนทำให้ประจำเดือนยังมาไม่สม่ำเสมอในช่วงแรกได้
-วัยที่เข้าใกล้วัยหมดประจำเดือน
-จากยาบางชนิด จากยาเคมีบำบัด จากการฉายรังสี
-โรคเรื้อรังบางชนิด หรือ จากการเจ็บป่วย
กรณีประจำเดือนขาดนาถึง 4 เดือนแนะนำให้ไปพบสูตินารีแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุประจำเดือนขาดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
ในกรณีประจำเดือนไม่มาตามปกติ หรือ ประจำเดือนขาดไป
-ถ้าคนไข้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การใช้ถุงยางอนามัย หรือการคุมกำเนิดวิธีอื่นๆไม่ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยรั่วซึม หรือ การหลั่งนอก ก็อาจตั้งครรภ์ได้ เบื้องต้นแนะนำว่า ให้ตรวจการตั้งครรภ์ก่อนนะครับ โดยการตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะด้วยตนเอง สามารถตรวจได้ตั้งแต่ 14 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครับ
(การตรวจนั้น ต้องตรวจถุกต้องตามคำแนะนำและระยะเวลาที่เหมาะสมด้วยนะครับจึงจะเชื่อถือได้ครับ)
-ถ้าคนไข้ไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เลยหรือตรวจการตั้งครรภ์แล้วไม่พบการตั้งครรภ์. ปัจจัยที่จะทำให้ประจำเดือนที่เคยมา แล้วไม่มา หรือผิดปกติ มีหลายอย่างครับ ตัวอย่าง เช่น
1.ความเครียด การอดอาหารนานๆ และการออกกำลังกายอยางหักโหมมากเกินไป ทำให้ประจำเดือนขาดได้ครับ พบได้บ่อยที่สุด
2.การใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น ยาคุมกำเนิด แบบฉีด หรือยาบางอย่าง เช่น ยารักษาโรคทางจิตเวช
3.โรคทางระบบสืบพันธ์บางชนิด เช่น ถุงน้ำรังไข่ ( PCOS) อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ หรือ การ ติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ อาจมำให้มีอาการปวดท้อง หรือ ตกขาว ที่ผิดปกติได้ ซึ่ง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
4.ฮอร์โมน ไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งจะต้องทีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ใจสั่น กินจุ น้ำหนักลด หรือ ฮอร์โมนจากรังไข่ผิดปกติ อาจทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่มา หรือมาแบบกระปริบกระปรอย เป็นต้นครับ
5. โรคทางการกินที่ผิดปกติ (anorexia) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง หากอดอาหาร หรือทานอาหารไม่ถูกวิธีนานๆ จะทำให้ขาดประจำเดือนได้ครับ
ถ้าคนไข้มีอาการต่างๆที่ผิดปกติดังที่กล่าวไป แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรือตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
หากประจำเดือนมาล่าช้ากว่าปกติ และไม่ได้เป็นมาติดต่อกันนานเกิน 3 ครั้ง ก็ให้รอดูอาการก่อนได้ครับ หากเกิน 3 เดือนประจำเดือนไม่มา แนะนำให้ไปตรวจร่างกาย และตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
อนึ่ง การทำใจให้สบาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาหรืออาหารเสริมที่แพทย์ไม่ได้สั่ง และออกกำลังกาย จะช่วยให้สมดุลฮอร์โมนดีและทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะ หนูอายุ 18 ประจำเดือนไม่มาประมาณ4 เดือนแล้วค่ะ ส่วนตัวไม่เคยมีเพศสัมพัธ์ค่ะ เเต่เป็นคนที่มีน้ำหนักค่อนข้างเยอะ แต่ก่อนหน้านี้น้ำหนักก็ไม่ได้ขึ้นหรือลงมากจนเกินไปนะคะ ปกติน้ำหนักนี้อยู่แล้วค่ะ ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายเมื่อ4เดือนก่อนก็มาน้อยมากเลยค่ะควรทำไงดีคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)