August 14, 2019 07:06
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ท้องอืดคือมีแก๊สในทางเดินอาหารมากกว่าปกติ สาเหตุเกิดจาก
รับประทานอาหาร แล้วไม่สามารถย่อยได้อย่างเหมาะสม เช่น รับประทานอาหารมื้อละมากๆ รับประทานเสร็จแล้วนอนเลย, รับประทานอาหาร/เครื่องดื่มที่มีแก๊สมาก เช่น แป้งและน้ำตาล(ยกเว้น แป้งจากข้าว) หรือไขมันซึ่งย่อยยาก, น้ำอัดลม เป็นตัน หรือกลืนอากาศ/แก๊สเข้าไปมากกว่าปกติ เช่น สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง
เบื้องต้นแนะนำ
ปรับพฤติกรรม
- ไม่รับประทานอาหารมื้อละมากๆ หลังรับประทานอาหารควรเดินย่อยสักพัก
- หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมัน
- ไม่รับประทานอาหารแล้วนอนทันที
- หลีกเลี่ยง สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง
- ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป
หรือ อาจจะซื้อยาขับลมมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการได้ครับ
ถ้าอาการไม่ดีขึ้น มีสัญญาณอันตรายของการปวดท้อง เช่น เบื่ออาหารน้ำหนักลด ถ่ายดำถ่ายเป็นเลือด อิ่มเร็วกว่าปกติชัดเจน อาเจียนตลอดเวลา มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมีอาการอื่นๆ เช่น มีไข้ร่วมด้วย ปวดบริเวณด้านขวาบนขอบท้อง หรือ ปวดท้องรอบสะดือ ย้ายไปด้านขวาล่างของท้อง หรือมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียดครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ไม่ได้สูบบุหรี่ไม่กินน้ำอัดลมครับแต่ทานอาหารชอบนอนหลับครับน้ำหนักชอบลดๆครับนานๆทีจะทานอาหารแบบเยอะครับ
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
จากประวัติชอบทานแล้วนอน ทานเยอะๆแล้วนอนหัวต่ำ อาจเกิดจากกรดไหลย้อนได้ครับ
นอกจากนี้ อาการปวดจุกแน่นท้อง สามารถเป็นได้จากหลายสาเหตุครับ แต่ในคนอายุน้อยสาเหตุหลักๆคือ
1.โรคกระเพาะอาหารอักเสบแผลในกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน **พบบ่อยที่สุดครับ
2.นิ่วในถุงน้ำดี
3.ตับอ่อนอักเสบ
ส่วนในผู้สูงอายุต้องระวังโรคหัวใจขาดเลือดด้วยครับ
4.การติดเชื้อในทางเดินอาหารครับ
>>>โรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อนครับ
>>ปัจจัยในการเกิดโรคกระเพาะอาหาร เช่น
1.ภาวะเครียด
2.กินข้าวไม่ตรงเวลา
3.ชอบกินของเผ็ดของเปรี้ยว
4.ชากาแฟน้ำอัดลม และแอลกอฮอล์
5.ยาแก้ปวด ยาสมุนไพร
ดังนั้น เนื่องจาก กรดไหลย้อน และแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด หมอแนะนำให้ลองปฎิบัติการรักษาโรคนี้ก่อนได้ครับ
>>>การรักษาโรคกระเพาะและกรดไหลย้อน ประกอบไปด้วยสองอย่างคือ
1.การปรับการใช้ชัวิตประจำวัน
2.การใช้ยา
******************************************
1. การปรับชีวิตประจำวัน ควรปรับเรื่อง อาหาร และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการกินครับ
-อาหาร ควรเป็นอาหารที่ไม่รสจัด ไม่มัน ไม่หวานจัดเผ็ดจัดเค็มจัด
-ลดของหวานของมัน เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และ คาเฟอีน
-รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
-หลังกินควรยกหัวสูง อย่างน้อย 1-3 ชม คือไม่นอนทันทีครับ
-หากมียาที่มีผลข้างเคียงที่รับประทานเป็นประจำ ทำให้ปวดท้อง เช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน ควรปรึกษาแพทย์
>>ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุ อาจจะเป็นโรคกระเพาะไม่มีสาเหตุ การติดเชื้อเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ก้อน นิ่ว เป็นต้น หลังจากตรวจ อาจจะได้นามารับประทาน ให้รับประทานต่อเนื่อง ร่วมกับการปรับชีวิตประจำวันครับและไปตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอครับ
2. การใช้ยา โดยทั่วไป ยาสามัญประจำบ้านที่คนไข้สามารถซื้อเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยา alum milk , ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน , simeticone เป็นต้นค่ะ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ครับ
**สำหรับอาการดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยอย่างพอสังเขป การให้การรักษาต้องได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมโดยแพทย์ ดังนั้น แนะนำให้ไปตรวจร่างกายที่ รพ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องหากอาการไม่ดีขึ้นครับ**
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สวัสดีดีครับคุณหมอพอดีผมมีอาการเจ็ปท้องตอนเช้าเกือบทุกวันเหมือนถ่าไม่สุดครับช่วงท้องมีลมเหมือนท้องอืดท้องเฟ้อเป็นทุกตอนเช้าพอไปโรงเรียนพอทานข้าวเช้าก็พบอาการปวดถ่ายอยากเข้าห้องน้ำครับแต่พอไม่ทานข้าวเช้าอาการเริ่มดีขึ้นครับอยากทราบว่าอาการนี้เป็นอาการอะไรครับรักษายังไงครับควรทานยาอะไรบ้างครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)