March 22, 2019 00:56
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ อาการปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่/ เรอบ่อย แน่นท้อง เป็นได้จากหลายสาเหตุคะ แต่ในคนอายุน้อยสาเหตุหลักๆคือ 1.โรคกระเพาะอาหารอักเสบแผลในกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน **พบบ่อยที่สุดค่ะ 2.นิ่วในถุงน้ำดี 3.ตับอ่อนอักเสบ ส่วนในผู้สูงอายุต้องระวังโรคหัวใจขาดเลือดด้วยคะ >>>>>>>>>>>>>>>>>>ซึ่งปัจจัยในการเกิดโรคกระเพาะอาหาร 1.ภาวะเครียด 2.กินข้าวไม่ตรงเวลา 3.ชอบกินของเผ็ดของเปรี้ยว 4.ชากาแฟน้ำอัดลม และแอลกอฮอล์ 5.ยาแก้ปวด ยาสมุนไพร >>>>>>>>>>>>>>>การรักษาโรคกระเพาะและกรดไหลย้อน ประกอบไปด้วยสองอย่างคือ 1.การปรับการใช้ชัวิตประจำวัน 2.การใช้ยา >>>>>>>>>>การปรับชีวิตประจำวัน ควรปรับเรื่อง อาหาร และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการกินค่ะ -อาหาร ควรเป็นอาหารที่ไม่รสจัด ไม่มัน ไม่หวานจัดเผ็ดจัดเค็มจัด -ลดของหวานของมัน เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และ คาเฟอีนค่ะ -รับประทานอาหารให้ตรงเวลา -หลังกินควรยกหัวสูง คือไม่นอนทันทีค่ะ อย่างน้อย 1-3 ชม -หากมียาที่มีผลข้างเคียงที่รับประทานเป็นประจำ ทำให้ปวดท้อง เช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน ควรปรึกษาแพทย์ >>>>>>>>>>>ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุ อาจจะเป็นโรคกระเพาะไม่มีสาเหตุ การติดเชื้อเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ก้อน นิ่ว เป็นต้น หลังจากตรวจ อาจจะได้นามารับประทาน ให้รับประทานต่อเนื่อง ร่วมกับการปรับชีวิตประจำวันค่ะและไปตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอค่ะ >>>>>>>>การใช้ยา โดยทั่วไป ยาสามัญประจำบ้านที่คนไข้สามารถซื้อเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยา alum milk , ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน , simeticone เป็นต้นค่ะ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ค่ะ **สำหรับอาการดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยอย่างพอสังเขป การให้การรักษาต้องได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมโดยแพทย์ ดังนั้น แนะนำให้ไปตรวจร่างกายที่ รพ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องหากอาการไม่ดีขึ้นค่ะ**
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปวดท้องบิดๆ มันบีบในท้องมีลมในท้องเยอะมากค่ะ อาเจียนด้วย นอนไม่ได้เลยค่ะปวดตลอดเวลา
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)