April 09, 2017 21:53
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
ท้องผูกหากเกิดจากสาเหตุทางกาย แพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุ แต่กรณีหาสาเหตุไม่พบจะมีแนวทางการดูแลรักษาต่อไปนี้
การดูแลรักษาทั่วไป
1. การสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วย ผู่ป่วยบางคนสามารถถ่ายอุจจาระได้ปกติแต่เข้าใจว่าตัวเองมีอาการท้องผูก ผู้ป่วย กลุ่มนี้มักให้ความสําคัญกับสุขภาพตนเองมากและเชื่อว่าการถ่ายปกติต้องถ่ายได้ทุกวันทําให้เกิดความกังวลเมื่อตนเองไม่
สามารถถ่ายได้อย่างสม่ําเสมอการให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่าถ้าสามารถถ่ายได้มากกว่าสองครั้งตอสัปดาหและ
การถ่ายนั้นไม่ได้ยากลําบากหรือเจ็บปวดก็ถือว่าเป็นการถ่ายที่ปกติ
2.การถ่ายให้เป็นเวลาและตอบสนองต่อความรู้สึกอยากถ่าย โดยปกติความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระมักเกิดหลังจากผู้ป่วยตื่นนอนในตอนเช้าและช่วงเวลาหลังอาหารในทางปฏิบัติหลังตื่นนอนตอนเช้าจะเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดสําหรับการถ่ายอุจจาระ ผู้ป่วยที่มีอาการที่องผูกควรตื่นแต่เช่าให้มีเวลาเพียงพอที่จะดื่มนมสักหนึ่งแก้วเพื่อกระตุ้นให้เกิดความอยากถ่าย
3.อาหาร น้ําดื่มและเกลือแร่อาหารที่มีกากหรือไฟเบอร์มากจะทําให้ปริมาณอุจจาระมากขึ้นและเคลื่อนตัวภายในลําไส้ใหญ่เร็วขึ้นแต่การรับประทานอาหารที่มีกากมากขึ้นจะได้ผลเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกไม่รุนแรงในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการท้องผูกรุนแรงการเพิ่มปริมาณกากอาหารหรือไฟเบอร์ในอาหารที่รับประทานอาจทําให้มีอาการท้องอืดหรือปวดเกร็งท้องได้
4.การออกกําลังกายและการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวและออกกําลังกายจะทําให้การเคลื่อนไหวของลําไส้ดีขึ้นทําให้ถ่ายได้บ่อยขึ้น ผู้ป่วยที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวนอนอยู่กับเตียงตลอดเวลาจะทําให้เกิดอาการท้องผูกได้
การใช้ยาระบาย มีหลากหลายประเภท แนะนำให้ปรึกษาแพทย์และนอกจากนั้นยังมีการรักษาด้วยการผ่าตัดลำไส้ใหญ่อีกด้วยโดยผู้ป่วยที่ท้องผูกจากลําไส้เคลื่อนไหวช้าและรับประทานยาแล้วไม่ได้ผลยังมีลําไส้ใหญ่เคลื่อนไหวช้าอยู่
การตัดลําไส้ใหญ้ออกไปอาจทําให้อาการดีขึ้นได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
แนวทางการรักษาอาการท้องผูกที่สำคัญคือ การเพิ่มมวลอุจจาระและทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มเคลื่อนที่ได้ง่าย ซึ่งคือ การกินอาหารมีใยอาหารสูง (ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วต่างๆ) และดื่มน้ำสะ อาดวันละมากๆเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม อย่างน้อยวันละ 8 - 10 แก้ว และเคลื่อนไหวร่างกายออกกำลังกายเสมอ
ถ้าอาการท้องผูกยังคงมีอยู่ไม่ดีขึ้นหลังปรับเปลี่ยนอาหาร ดื่มน้ำ และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย อาจใช้ยาแก้ท้องผูกโดยปรึกษาเภสัชกรก่อนเสมอ ถ้าซื้อยากินเอง เมื่อใช้ยาแก้ท้องผูกนานเกิน 5 - 7 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
ต้องมาเข้าใจให้ตรงกันก่อนครับว่า ที่ว่า ท้องผูก นั้น คืออะไรแน่ ท้องผูก จริงหรือไม่
การถ่ายอุจจาระ ไม่ออก อาจเพราะไม่ปวด หรือ เพราะ อุจจาระแข็ง
คนทั่วไป จะเข้าใจว่า ต้องถ่ายอุจจาระทุกวัน จึงจะปกติ ซึ่งไม่จริง คนโบราณ อาจบอกว่า ธาตุหนักธาตุเบาไม่เท่ากัน บางคนอาจไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน ก็ถือว่าปกติ ขึ้นกับอาหารการกิน การออกกำลังกาย และ อื่น ๆ ฯลฯ
การเข้าห้องน้ำพยายาม เบ่งถ่าย เพื่อให้มีอุจจาระทุกวัน กลับมีผลเสีย
ดังเคยพบ ผู้ป่วยที่มาด้วยริดสีดวงทวารหนักก้อนโต เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าว เป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง นำมาสู่การเป็นริดสีดวงทวารหนัก
• -ภาวะท้องผูก เป็นอาการที่พบได้บ่อย หมายถึง การที่ลำไส้ไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายและสม่ำเสมอ โดยมีความถี่ของการขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ร่วมกับก้อนอุจจาระมีลักษณะแข็งและยากต่อการขับถ่ายออกมา คนที่มีท้องผูกอาจรู้สึกเจ็บปวดเวลาถ่ายอุจจาระซึ่งมักต้องออกแรงเบ่ง ท้องอืดมีลมเยอะ แน่นท้องและรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดรวมถึงถ่ายอุจจาระใช้เวลานาน
• -สาเหตุของภาวะท้องผูก ที่พบบ่อย ได้แก่
--การรับประทานอาหารไม่สม่ำเสมอ และมีปริมาณเส้นใยไม่เพียงพอ
--ขาดการออกกำลังกาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ)
--ยาบางชนิด เช่น ยาระงับปวด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มยาระงับปวดที่เป็นสารเสพติด), ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียมและแคลเซียม, ยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิด (ยากลุ่มยับยั้งแคลเซียม), ยารักษาโรคพาร์กินสัน, ยาต้านปวดเกร็ง, ยาต้านซึมเศร้า, ยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก, ยาขับปัสสาวะ, ยาต้านการชัก
--กลุ่มอาการลำไส้ทำงานแปรปรวน
--การเปลี่ยนแปลงในชีวิตหรือกิจวัตร เช่น การตั้งครรภ์ อายุมาก การเดินทางท่องเที่ยว
--การใช้ยาระบายไม่ถูกต้อง
--การละเลยที่จะออกแรงเบ่งเพื่อขับถ่ายอุจจาระ
--โรคหรือสภาวะบางอย่าง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (พบได้บ่อยที่สุด)
--ปัญหาของลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และการทำงานของลำไส้เอง (ภาวะท้องผูกเรื้อรังไม่รู้สาเหตุ)
• -การรักษาผู้ที่มีภาวะท้องผูก
--การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควรดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อย1.5 ถึง 2.0 ลิตรต่อวัน การออกกำลังกายทุกวันในระดับน้อยถึงปานกลางอาจทำให้มีการเคลื่อนไหวของลำไสเพิ่มขึ้นได้ ไม่ควรละเลยหรือยับยั้งความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก และหลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายต่อเนื่องยาวนานโดยไม่จำเป็น
--การฝึกให้มีนิสัยการขับถ่ายที่ดี
--ท่านั่งที่เหมาะสมกับการขับถ่ายอุจจาระ
--อาหาร การรับประทานอาหารสม่ำเสมอและดื่มน้ำเพียงพอเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี อาหารที่มีปริมาณเส้นใยเพียงพอ
--การรักษาด้วยการใช้ยา ให้ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์
• -การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ไบโอฟีดแบ็ก (Biofeedback) และการผ่าตัด
• -ข้อควรจำ เมื่อใดที่นิสัยการขับถ่ายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือเกิดต่อเนื่องยาวนาน ควรปรึกษาแพทย์
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คนที่มีปัญหาท้องผูกแก้ยังไงค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)