กลั้นอุจจาระ ไม่ควรทำ เพราะอันตรายถึงชีวิต

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

การถ่ายอุจจาระ เป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักในชีวิตประจำวันของทุกคนในการขจัดของเสียที่ไม่จำเป็นออกจากร่างกาย โดยปกติแล้วเราจะถ่ายอุจจาระประมาณวันละ 1-2 ครั้ง ส่วนปริมาณและลักษณะของอุจจาระที่ถ่ายในแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดและปริมาณอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ทำให้แต่ละคนมีประสบการณ์การขับถ่ายที่แตกต่างกัน

คำถามที่ตามมาคือ แล้วถ้ากลั้นอุจจาระไว้จะมีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่? คำตอบคือ มีอย่างแน่นอน เรามีเคสตัวอย่างจากต่างประเทศที่เกิดขึ้นจริงมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นอุทาหรณ์เกี่ยวกับการกลั้นอุจจาระ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลั้นอุจจาระ อันตรายถึงชีวิต

เด็กสาววัย 16 ปีคนหนึ่งเสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจวายกระทันหัน เนื่องจากลำไส้ขยายตัวจนแทบแตกหลังจากที่เธอไม่ยอมขับถ่ายอุจจาระและกลั้นไว้นานกว่า 2 เดือน

บริเวณท้องของเธอมีสภาพที่บวมเต่งและอืดมาก กระดูกซี่โครงส่วนล่างนั้นถูกลำไส้ดันจนยื่นเลยกระดูกหัวเหน่าออกมาอย่างเห็นได้ชัด แต่แพทย์ก็ต้องตกใจยิ่งกว่าเมื่อชันสูตรพบว่าภายในลำไส้ของเด็กสาวนั้นเต็มไปด้วยอุจจาระที่แข็งตัวและอัดแน่นมาก แน่นถึงขนาดที่บางส่วนถูกดันขึ้นมาลอยอยู่นอกลำไส้ และอีกบางส่วนจับตัวกันแน่นอยู่ตามอวัยวะต่างๆด้วย

ก่อนหน้าที่จะเสียชีวิต เด็กสาวคนนี้มีนิสัยไม่ชอบขับถ่ายอยู่แล้วเพราะมีปัญหาท้องผูกเป็นประจำ ทางครอบครัวได้พยายามพาไปพบแพทย์เพื่อรับยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนตัวลงและรับการตรวจสอบภายใน แต่เนื่องจากเด็กสาวมีอาการออทิสติกเล็กน้อยทำให้การสื่อสารค่อนข้างลำบากและเกิดอาการกลัวที่จะเข้ารับการบำบัด เธอจึงปฏิเสธความช่วยเหลือจากทางแพทย์และเสียชีวิตลงในที่สุด (ที่มา: หนังสือพิมพ์ Independent UK )

จากเคสที่นำมาเตือนกันในบทความนี้ มีข้อสรุปได้อย่างชัดเจนเลยว่าการกลั้นอุจจาระนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพได้อย่างแน่นอน และผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดก็คือการเสียชีวิต

กลุ่มเสี่ยงเสียชีวิต

นิสัยการขับถ่ายที่ผิดปกตินี้มักพบในเด็กและวัยรุ่นมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 2 กลุ่มหลักดังต่อไปนี้

1. กลุ่มที่มีอาการท้องผูกบ่อยครั้ง: ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้ หรือดื่มน้ำน้อยเกินไปมักมีอาการท้องผูก ซึ่งทำให้รู้สึกปวดท้องมากและมีอาการเจ็บที่บริเวณหูรูดเมื่อพยายามขับถ่าย ผู้ที่มีอาการท้องผูกจึงมักหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดเหล่านี้โดยการไม่ขับถ่ายเสียเลย

2. กลุ่มที่มีความหมกมุ่นกับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง: อีกกลุ่มที่น่าเป็นกังวลมากในปัจจุบันคือกลุ่มที่มีความหมกหมุ่นกับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเป็นพิเศษ อย่างเช่น การเล่นเกม พฤติกรรมที่พบคือ เด็กจะกลั้นอุจจาระจนกว่าจะเล่นเกมเสร็จไปในแต่ละรอบ หรือหากเด็กมีความหมกมุ่นมากๆก็อาจกลั้นอุจจาระไว้นานข้ามวันหรือข้ามสัปดาห์เลยก็เป็นได้

ไม่ว่าจะสำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ การกลั้นอุจจาระนั้นไม่ใช่สิ่งที่ควรกระทำเลย แต่หากกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายอยู่ ก็ควรเริ่มต้นด้วยการรับประทานอาหารที่ช่วยทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้นและฝึกตนเองให้ขับถ่ายเป็นเวลา ผู้ปกครองควรฝึกนิสัยการขับถ่ายของเด็กไว้ตั้งแต่เล็กและพูดคุยกับเกี่ยวพฤติกรรมการขับถ่ายเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงต่างๆที่อาจตามมา


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fecal incontinence. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/bowel-control-problems-fecal-incontinence.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)