August 26, 2019 20:16
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ปัญหาในการควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้นั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- ขาดทักษะในการควบคุมอารมณ์ที่ดีพอ
- อารมณ์ที่แปรปรวนตามรอบเดือน
- โรคอารมณ์สองขั้วหรือไบโพลาร์
- โรคซึมเศร้า
- โรคระเบิดอารมณ์เป็นครั้งคราว (Intermittent explosive disorder)
- โรคสมาธิสั้น
- ความผิดปกติของบุคลิกภาพบางอย่าง
.
ถ้าหากปัญหาในการควบคุมอารมณ์นี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆโดยไม่สามารถควบคุมได้หมอก็แนะนำว่าควรพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นเพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
จากอาการที่เล่ามาถือว่ามีปัญหาทางด้านอารมณ์นะคะ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่
กรรมพันธ์ ลักษณะทางบุคลิกภาพและการปรับตัว วิธีการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม จากภาวะซึมเศร้า สมาธิสั้น และประเด็นสำคัญขณะนี้คือน้องอาจมีปัญหาทางพฤติกรรมที่ติดเกมด้วย
ในเด็กที่ติดเกม หมกมุ่นกับเกมอย่างมาก อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะสมาธิสั้น มีปัญหาเรื่องของการปรับตัวและการควบคุมอารมณ์ได้ค่ะ
ในกรณีนี้แนะนำให้พาน้องไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประเมินอาการ วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสม ซึ่งประเด็นสำคัญคืออาจต้องจัดตารางเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆให้เหมาะสม วางระเบียบวินัย มอบหมายงานบ้านให้รับผิดชอบ ลดเวลาเล่นเกม และอาจต้องใช้ยารักษาเพื่อลดอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว ควบคู่กันไปด้วยนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
คำถามที่ถามว่าน้องยังปกติอยู่ไหม อันนี้ต้องบอกเลยนะครับว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนครับ สิ่งสำคัญก็คือการหาที่มาที่ไปของพฤติกรรมเหล่านี้ โดยมากแล้วอาจจะดูเรื่องความเครียดของตัวน้อง การที่พ่อแม่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่ หรือว่ามีใครที่สามารถสอนน้องได้บ้างหรือเปล่าในการจัดการกับอารมณ์และความเครียดได้อย่างเหมาะสม เพราะว่าน้องอายุเพียงแค่ 13 ปี ก็ยังนับว่ายังมีหลายเรื่องที่ต้องเรียนรู้ พร้อมทั้งยังเป็นไปได้นะครับว่าเจ้าตัวเองก็กำลังเข้าสู่วัยรุ่นเลยเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านฮอโมนที่ทำให้น้องสาวมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่ฉุนเฉียวขึ้น
ผมคิดว่าสิ่งที่คุณสามารถทำต่อไปได้อาจจะไม่ใช่เรื่องของการเข้าไปเปลี่ยนแปลงตัวน้อง คุณอาจจะสอนน้องได้บ้างในบางเรื่องที่พูดได้ แต่สิ่งที่อาจจะทำได้มากขึ้นก็คือการลอกเล่าเรื่องราวให้คุณพ่อ คุณแม่ได้เข้าใจถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นแลองช่วยกันวางแผนในการรับมือกับอาการเหล่านี้ของน้องสาวนะครับ หากว่าพฤติกรรมมันรุนแรง การให้น้องเข้ารับบริการด้านการแพทย์กับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นก็เป็นตัวเลือกที่ดีครับ หรือจะให้พบเจอกับนักจิตวิทยาก็สามารถทำได้ แต่ทั้งหมดนนี้อาจจะตัองเริ่มจากคนในบ้านมารับรู้ปัญหาร่วมกันก่อนครับ
สุดท้ายนี้หากมีคำถามเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หมอค่ะ น้องสาว อายุ13 มีอารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียว พูดอะไรที่ผิดจากความคิดเขา พูดดีๆด้วย ก็ยังมีอารมณ์ไม่พอใจ แอบทำลายของ ต่อยกำแพง หรือว่าทำร้ายตัวเอง อะไรที่ต้านจากความคิดเขาอะค่ะ เวลาพูด จะมีสีหน้าไม่พอใจ ฝืนยิ้ม กึ่งร้องไห้ น้ำตาคลอ เล่นเกมส์แพ้ก็หงุดหงิด ใครพูดจาปั่นประสาทก็หงุดหงิด เป็นประมาณนี้มานานแล้วค่ะ อยากรู้ว่าน้องปกติรึป่าว
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)