November 20, 2019 22:13
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
ต่อมบาร์โธลินมีหน้าที่หลั่งสารเมือกเพื่อหบ่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ หากมีการอุดตันของต่อม จะทำให้บวมแดงปวดได้ครับ และหากมีการติดเชื้อร่วมด้วยต้องรีบทำการรักษาครับ หากไม่มีอาการใดๆอาจไม่จำเป็นต้องทำอะไร แต่หากมีอาการปวดบวม มากขึ้น ควรไปพบสูตินารีแพทย์เพื่อทำการกรีดระบายหนองหรือสารเมือกในต่อมออกและเปิดแผลไว้ เนื่องจากต่อมนี้จะสร้างเมือกตลอดเวลาไม่สามารถปิดได้ แต่ทำแผลจนกว่าจะหายดีครับ ที่เรียกวิธีการทำนี้ว่า marsupialization ร่วมกับการนั่งแช่ก้นในด่างทับทิม จะช่วยทำให้แผลหายไวขึ้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ไม่เป็นอันตรายใช่ไหมคะ
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
-ต่อมนี้หากมีการอุดตันของสารเมือกอาจโตขึ้นได้ครับ
-หากคนไข้อายุตั้งแต่40ปีขึ้นไป อาจมีความเสี่ยงของเนื้องอกและมะเร็งได้ครับ จึงควรส่งตรวจชิ้นเนื้อครับ
-ถ้าไม่ได้ปวดบวมแดง หรือมีหนองไหลออกมาก้ไม่เป็นอันตรายครับ แต่หากมีปัญหาหรือรบกวนการมีเพศสัมพันธ์หรือชีวิตประจำวันค่อนข้างมากแนะนำให้ไปผ่าออกครับ และเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่จะตามมาในภายหลังด้วย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ
สวัสดีค่ะ คือดิฉันเป็นต่อมบาร์โธลินด้านซ้าย บวมโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ซม. ไม่เจ็บ เป็นมาประมาณ 3-4 ปี เคยไปพบหมอค่ะ แต่หมอบอกว่าไม่เจ็บก็ไม่ต้องเอาออก แต่รู้สึกรำคาญค่ะ แล้วเราจำเป็นต้องผ่าออกหรือไม่ผ่าก็ได้คะ ดิฉันอยากทราบว่ามันจะมีโอกาสโตขึ้นไหมคะ แล้วมันจะเป็นอันตรายไหมคะ ขอคำแนะนำและวิธีการดูแลด้วยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)