September 02, 2019 22:24
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่มีความคิดวิตกกังวลในลักษณะที่ต้องตั้งกฎบางอย่างขึ้นมาให้กับตนเองและต้องทำตามกฎนั้นให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดความสบายใจ ทั้งๆที่รู้ว่าไม่สมเหตุมสมผลก็ยังต้องทำอยู่มักเป็นอาการที่เกิดจากโรคย้ำคิดย้ำทำครับ
โรคย้ำคิดย้ำทำนั้นจะประกอบด้วย 2 อาการหลักๆ คือ
1. อาการย้ำคิด เป็นอาการที่จะทำให้เกิดความกังวลในเรื่องเดิมซ้ำๆขึ้นมาอย่างไม่สามารถควบคุมได้ เรื่องที่กังวลนั้นมักเป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้วว่าไม่มีทางเป็นไปได้แต่ก็ยังอดที่จะคิดไม่ได้หรือไม่สามารถห้ามความคิดได้ เช่น กลัวความสกปรก กลัวลืมปิดน้ำปิดไฟ กลัวของหาย กลัวทำอะไรผิดขั้นตอน
2. อาการย้ำทำ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่ออาการย้ำคิด โดยจะเป็นพฤติกรรมที่ทำเพื่อลดความกังวลจากอาการย้ำคิดที่เกิดขึ้น เช่น ต้องล้างมือบ่อยๆ อาบน้ำเป็นเวลานาน กลับไปเช็คของซ้ำๆ กลับมาตรวจเช็คงานที่ทำไปแล้วบ่อยๆ ต้องทำอะไรตามรูปแบบเดิมๆห้ามผิดขั้นตอน
อย่างไรก็ตามคนที่จะสามารถยืนยันได้ดีที่สุดว่าอาการเหล่านี้เกิดจากการเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหรือไม่ ก็จะต้องเป็นจิตแพทย์ที่ดูแลอยู่เนื่องจากเป็นผู้ที่มีการตรวจประเมินอาการโดยตรงครับ ซึ่งในกรณีที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำจริงก็จะต้องมีการรักษาโดยการใช้ยา ร่วมกับอาจจะต้องมีการทำจิตบำบัดร่วมด้วยเพื่อช่วยในการรักษา
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการและรับการรักษาอย่างต่อเนื่องครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
จากอาการ ที่เล่ามาอาจเป็นเข้าข่ายอาการของโรคในกลุ่มวิตกกังวล ชนิดย้ำคิด ย้ำทำก็เป็นไปได้นะคะ
โดยผู้ป่วยจะมีอาการหมกมุ่นย้ำคิดและมีพฤติกรรมทำซ้ำ ๆ เพื่อลดความไม่สบายใจหรือลดความวิตกกังวลใจที่เกิดขึ้น ซึ่งตัวผู้ป่วยเองอาจรับรู้ว่าการคิดและพฤติกรรมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความย้ำคิดและพฤติกรรมย้ำทำได้ จนทำให้เกิดความทุกข์ใจกับอาการดังกล่าว หรืออาการส่งผลรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน นอกจากนี้โรคย้ำคิดย้ำทำอาจมีอาการของโรคจิตเวชอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัวสังคม โรควิตกกังวลทั่วไป โรคแพนิค เป็นต้น
อาการแบ่งเป็น 2 อาการหลัก คือ
- อาการย้ำคิด เป็นความคิด ความรู้สึก ที่ผุดขึ้นมาซ้ำๆ โดยผู้ป่วยเองก็ทราบว่า เป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล เช่น มีความคิดซ้ำๆ ว่ามือตนเองสกปรก , คิดว่าลืมปิด , จินตนาการเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ หรือคิดทำสิ่งที่ไม่ดีอย่างซ้ำๆ เช่น คิดว่าตนลบหลู่หรือด่าว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาการคิดซ้ำๆนี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลใจไม่สบายใจอย่างมากและรู้สึกรำคาญหรือทุกข์ใจต่อความคิดนั้น
- อาการย้ำทำ เป็นพฤติกรรมซ้ำๆ ที่ผู้ป่วยทำขึ้น โดยเป็นการตอบสนองต่อความย้ำคิด หรือหรือเงื่อนไขบางอย่างที่ตนกำหนดไว้ หวังเพื่อลดความไม่สบายใจที่เกิดจากความย้ำคิด หรือหวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายๆ ตามที่ตนหวั่นเกรง เช่น การล้างมือซ้ำๆ , พูดขอโทษซ้ำๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มากเกินกว่าเหตุตามความเป็นจริง โดยอาการย้ำคิดย้ำทำ ทำให้ผู้ป่วยเสียเวลาไปกับอาการดังกล่าวนานกว่า 1 ชั่วโมง/วัน และอาการผิดปกติเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเรียน การทำงาน การเข้าสังคม เป็นต้น
การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำมักใช้วิธีการรักษาที่หลากหลายร่วมกัน ได้แก่ การรักษาด้วยยา การทำจิตบำบัด การปรับความคิด การปรับพฤติกรรม ค่ะ
ในกรณีที่รับการรักษาทานยาต่อเนื่องแล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้แจ้งจิตแพทย์ คุณหมอจะได้วางแผน ปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษาให้เหมาะสมนะคะ ซึ่งอาจปรับยา หรือ อาจให้การรักษาด้วยการทำจิตบำบัดควบคู่กันไปค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอนนี้ผมเป็นโรควิตกกังวล คือ กังวลเกี่ยวกับกิจวัตรต่างๆในแต่ละวัน เช่น จะกินข้าว ก็ตั้งกฎขึ้นมา 3 ข้อ 1 กินให้มีสติ 2 กินแต่พออิ่ม 3 เร็ว (หมายความว่าอย่าใช้เวลานานในการกินข้าว) เวลาเราจะกินอะไร ก็จะตั้งกฎ 3 ข้อขึ้นมา จนก่อให้เกิดความกังวล ว่า จะกินอะไรก็ต้องทำตาม 3 ข้อนี้เหรอ กินแบบไม่คิดไม่ได้เหรอ อาการโรคคือ จะทำอะไรก็ต้องตั้งกฏข้้นมา ตอนนี้ทาน ยา อยู่ นานเกือบ 5 ปีแล้ว อาการเหมือนจะคงเดิน คุณหมอก็เปลี่ยนยาบ้าง แต่เปลี่ยนครั้งนี้นานที่สุด แต่ก็ไม่มีทีท่าจะลดยาลง แสดงว่าอาการเราคงคงที่ ไม่ดีขั้น ไม่แย่ลง ใช้ชีวิตได้ในแต่ละวันก็พอ ขอบคุณครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)