คนทุก ๆ คนต่างก็รู้กันดีว่า ยาต้านเศร้าเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า แต่ทราบหรือไม่ว่า ยาชนิดนี้มักจะถูกใช้ในการรักษาโรคอื่นๆ เช่นกัน ซึ่งยาชนิดนี้สามารถช่วยให้นอนหลับได้ ช่วยรักษาวิตกกังวล เลิกบุหรี่ ใช้ในการรักษาโรคลำไส้แปรปรวนและบางตัวอาจจะใช้ช่วยลดอาการปวดบางประเภทได้อีกด้วย
ยาต้านเศร้าทำงานอย่างไร
ยาต้านเศร้าเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่า "neurons" โดยส่วนใหญ่ยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์โดยการเพิ่มปริมาณของสารสื่อประสาทระหว่างช่องว่างของเซลล์ประสาท ที่เรียกว่า "synapse" หรือทำให้สารสื่อประสาทเหล่านี้อยู่ได้นานขึ้นกว่าเดิม
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ประวัติของยาต้านเศร้า
ยาต้านเศร้าชนิดแรกมีชื่อว่า "isoniazid" เป็นยาที่ถูกคิดค้นเพื่อรักษาโรควัณโรค แต่พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาชนิดนี้จะมีระดับอารมณ์ที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้ได้รับการสั่งจ่ายเพื่อรักษาอาการโรคซึมเศร้ากันทั่วไปในช่วงปลายยุค 1950
อนุพันธ์ของยาที่มีชื่อว่า "iproniazid" จัดเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มของยาที่เรียกว่า "monoamine oxidase inhibitors (MAOIs)" ซึ่งยาในกลุ่มนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการรักษาโรคซึมเศร้า แต่ผู้ป่วยจะต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อเพื่อหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียงที่รุนแรง
ยากลุ่ม MAOIs นี้มักใช้รักษาโรคซึมเศร้าเมื่อไม่สามารถใช้ยาตัวอื่นได้แล้ว ต่อจากยาในกลุ่ม MAOIs ก็เป็นยากลุ่ม tricyclic antidepressant ยาตัวแรกในกลุ่มนี้คือ Tofranil (imipramine) ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาโรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นหลัก
แต่พบว่า ยานี้ไม่สามารถรักษาโรคจิตเภทได้แต่ประสบความสำเร็จในการเป็นยาต้านเศร้า ยากลุ่มนี้ช่วยยกระดับอารมณ์และเพิ่มพลังงานให้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายคน
ยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) และ serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) จัดเป็นยาต้านเศร้ากลุ่มล่าสุดที่มีการพัฒนาขึ้น ซึ่งยาในกลุ่มนี้มีผลข้างเคียงที่น้อยกว่ายาในกลุ่มแรกๆ และเป็นยาชนิดแรก ๆ ที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคทางจิตอื่น ๆ
การใช้ยาต้านเศร้าสำหรับปัญหาเรื่องการนอน
ยาในกลุ่ม Tricyclic antidepressants สามารถออกฤทธิ์กล่อมประสาทได้ ดังนั้นบางครั้งจึงมีการใช้ยาในกลุ่มนี้ เช่น Elavil (amitriptyline) และ Oleptro (trazodone) เพื่อใช้รักษาอาการนอนไม่หลับ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ยากลุ่มนี้มักใช้รักษาอาการนอนไม่หลับเพราะการใช้ยาในปริมาณไม่มากสามารถทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ และในขณะที่ต้องใช้ยาในระดับสูงจึงจะช่วยลดอาการโรคซึมเศร้าได้
การใช้ยาต้านเศร้าในการรักษาโรควิตกกังวล
ยาต้านเศร้าถูกใช้ในการรักษาโรควิตกกังวลเป็นอันดับสองรองจากการใช้เพื่อรักษาอาการโรคซึมเศร้า ซึ่งในการใช้ยาต้านเศร้าในทุก ๆ กลุ่มได้รับการอนุมัติให้ใช้รักษาโรควิตกกังวลในแต่ละประเภทได้
เช่น Paxil (paroxetine) ซึ่งเป็นยากลุ่ม SSRI ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาให้ใช้รักษาโรควิตกกังวลทั่วไป, โรคย้ำคิดย้ำทำและโรคหวาดกลัวสังคม ยา Tofranil ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม tricyclic สามารถใช้รักษาโรคหวาดระแวง โรคซึมเศร้าหลังจากเกิดการกระทบกระเทือนทางจิตใจและโรควิตกกังวลทั่วไปได้
โดยยาแต่ละตัวจะออกฤทธิ์แบบเดียวกับที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าโดยการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง
ยาต้านเศร้ากับการเลิกบุหรี่
ยาต้านเศร้าที่มีชื่อว่า Wellbutrin (bupropion) หรือชื่อการค้าคือ Zyban เป็นยาที่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาเพื่อใช้ในการเลิกบุหรี่ ถึงแม้ว่าจะยังไม่ทราบว่า ยาดังกล่าวสามารถช่วยลดบุหรี่ได้อย่างไร
แต่คาดว่า ปัจจัยหนึ่งที่ผู้สูบบุหรี่จะต้องเผชิญก็คือความวิตกกังวลและยาตัวนี้ยังสามารถช่วยลดความวิตกกังวลดังกล่าวได้อีกด้วย
ยาต้านเศร้ากับโรคลำไส้แปรปรวน
ยาต้านเศร้าในกลุ่ม Tricyclic พบว่า สามารถช่วยลดอาการของโรคลำไส้แปรปรวนได้ โดยการออกฤทธิ์จะช่วยลดอากาปวดภายในท้องและทางเดินอาหาร
ยาต้านเศร้ากับความเจ็บปวด
การใช้ยาต้านเศร้าในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง เช่น ปวดข้อ ปวดหลัง fibromyalgia ปวดเส้นประสาท ไมเกรน ปวดศีรษะ และปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการของโรคซึมเศร้าก็ตาม
ไม่มีใครทราบว่า ยาต้านเศร้าสามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดได้อย่างไร แต่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับการแปลงเปลี่ยนวิธีการทำงานของสารสื่อประสาทภายในสมอง ซึ่งอาจช่วยลดการส่งสัญญาณความเจ็บปวดได้ แต่ก็ยังพบว่า อาการเจ็บปวดจะเริ่มลดลงหลังจากเริ่มใช้ยาไปแล้วหลายสัปดาห์