ยาถ่ายพยาธิ

วิธีการใช้ยาถ่ายพยาธิ และข้อควรระวัง
เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาถ่ายพยาธิ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาถ่ายพยาธิ คือยารับประทานเพื่อขับพยาธิที่เป็นปรสิตชนิดหนึ่งออกมา มีหลายชนิด แต่ละชนิดสามารถขับพยาธิได้แตกต่างกัน
  • อันเบนดาโซน เป็นชนิดที่นิยมมากที่สุด เพราะสามารถรักษาการติดเชื้อพยาธิได้เกือบทุกชนิด
  • พราซิควอนเทล ใช้รักษาพยาธิใบไม้ ส่วน มีเบนดาโซล ใช้รักษาพยาธิตัวกลม
  • ไอเวอร์เมคติน ใช้รักษาพยาธิสตองจิลอยด์สเตอร์โคราลิส พยาธิไส้เดือน และยังสามารถรักษาเปลือกตาอักเสบ เหา หิด และโรคเท้าช้างได้อีกด้วย
  • ยาถ่ายพยาธิมีผลข้างเคียงหลายอย่าง ไม่ควรซื้อมารับประทานด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

เป็นที่ทราบกันดีว่า การมีพยาธิในร่างกายย่อมส่งผลเสียทางด้านสุขภาพกายและใจเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยบางรายเป็นพยาธิจนสามารถสังเกตเห็นได้ตามผิวหนังบนร่างกาย ซึ่งมีผลต่อบุคลิกภาพและสิ้นเปลืองค่ารักษาพยาบาล 

หากรักษาไม่ทันก็อาจจะทำให้พยาธิเข้าไปอยู่ในส่วนสำคัญของร่างกายแล้วเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ แต่เราสามารถรักษาได้ด้วย ยาถ่ายพยาธิ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาถ่ายพยาธิคืออะไร?

ยาถ่ายพยาธิ (Anthelmintic Drugs) คือ ยารับประทานเพื่อขับเอาพยาธิที่เป็นปรสิตชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น คนหรือสัตว์ โดยพยาธิจะคอยแย่งอาหารหรือดูดเลือดของสิ่งมีชีวิตเพื่อดำรงชีพ 

ซึ่งยาถ่ายพยาธิจะช่วยออกฤทธิ์ทำให้ตัวพยาธิเป็นอัมพาต หรือหมดแรง จนกระทั่งร่างกายของคนสามารถขับพยาธิออกมาทางการขับถ่ายได้ อีกทั้งยาถ่ายพยาธิยังสามารถใช้ได้ทั้งคนและสัตว์ด้วย

ประเภทของยาถ่ายพยาธิ

ยาถ่ายพยาธิแต่ละชนิดมีความสามารถในการรักษาต่างกัน โดยแบ่งตามประเภทของการรักษาดังต่อไปนี้

  • อัลเบนดาโซล (Albendazole) เป็นชนิดที่นิยมใช้มากกว่าชนิดอื่นๆ เพราะสามารถรักษาการติดเชื้อพยาธิได้เกือบทุกชนิด
  • พราซิควอนเทล (Praziquantel) ใช้รักษาพยาธิใบไม้ เช่น พยาธิใบไม้ในตับ หรือในเลือด
  • มีเบนดาโซล (Mebendazole) ใช้รักษาพยาธิตัวกลม พยาธิแส้ม้า และพยาธิปากขอ
  • ไอเวอร์เมคติน (Ivermectinใช้รักษาพยาธิสตองจิลอยด์สเตอร์โคราลิส (Strongyloidiasis Stercoralis) พยาธิไส้เดือน และยังสามารถนำมารักษาเปลือกตาอักเสบ เหา หิด และโรคเท้าช้างได้อีกด้วย

วิธีใช้ยาถ่ายพยาธิ

ยาถ่ายพยาธิอาจดูเป็นยาที่สามารถหาซื้อได้เอง ไม่จำเป็นต้องผ่านการปรึกษาจากแพทย์ หรือเภสัชกรก็ได้ นั่นเป็นความคิดที่ผิด

การจะรับประทานยาถ่ายพยาธิปีละกี่ครั้ง หรือความถี่เท่าไร แล้วอันตรายไหม ต้องรับประทานแบบเคี้ยว หรือกลืนลงไปเลย ทุกอย่างล้วนต้องผ่านการปรึกษาจากแพทย์ หรือเภสัชกรก่อน

ก่อนอื่น ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย หรือได้รับการตรวจจากทางห้องปฏิบัติการก่อนว่าติดเชื้อพยาธิตัวใด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์จากการรักษาที่ถูกต้องแน่นอน เนื่องจากยาถ่ายพยาธิแต่ละชนิดจะให้ผลครอบคลุมในการรักษาพยาธิไม่เท่ากัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตัวอย่างเช่น การรักษาพยาธิเข็มหมุดด้วยยามีเบนดาโซล ขนาด 100 กรัม ก็จะรับประทานเพียงครั้งเดียว แต่ถ้ารักษาด้วยยาอัลเบนดาโซลก็จะใช้ขนาด 400 กรัม แล้วรับประทานเพียงครั้งเดียว

ดังนั้นก่อนใช้ยาถ่ายพยาธิไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ผู้ป่วยต้องถามเภสัชกร หรือแพทย์ที่รักษาเพื่อความถูกต้อง และปลอดภัย 

ไม่แนะนำให้รับประทานยาถ่ายพยาธิเพื่อเป็นการป้องกันการติดพยาธิ เพราะยาทุกชนิดใช่ว่าจะมีแต่คุณประโยชน์เท่านั้น แต่อาจมีอาการข้างเคียงต่างๆ หรืออาจมีผลที่ไม่พึงประสงค์กับร่างกายตามมาด้วยก็ได้

อาการข้างเคียงจากการใช้ยาถ่ายพยาธิ

แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น 

  • เป็นลมพิษ 
  • ผิวลอก 
  • เป็นตุ่ม 
  • หายใจไม่ออก 
  • บริเวณใบหน้าหรือคอบวม 
  • เจ็บคอ 
  • รู้สึกเหนื่อย 
  • ปัสสาวะเปลี่ยนสี 
  • มีไข้อย่างรุนแรง 
  • เกิดแผลที่บริเวณดวงตา จมูก ปาก หรืออวัยวะเพศ 
  • มีรอยฟกช้ำ 
  • เกิดเลือดออกง่ายผิดปกติ 

หากเกิดอาการเหล่านี้ จะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอาการแพ้ยาที่มีผลต่อความผิดปกติของตับ หรือเป็นอาการของภาวะกดไขกระดูก ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยอย่างรุนแรงที่เป็นอันตรายมากได้

ข้อควรระวังในการใช้ยาถ่ายพยาธิ

  • หากมีประวัติการแพ้ยา หรือแพ้ส่วนประกอบของยาทุกชนิด รวมถึงการแพ้อาหาร มีอาการเจ็บป่วย และกำลังใช้ยารักษาโรคอื่นๆ ร่วมด้วย จะต้องแจ้งให้เภสัชกร หรือแพทย์ผู้รักษาทราบก่อนทุกครั้ง
  • สตรีมีครรภ์ห้ามใช้ยานี้ เพราะมีผลการทดลองของยาถ่ายพยาธิที่ใช้ในสัตว์ที่กำลังตั้งครรภ์ พบว่ายาสามารถส่งผลทำให้ลูกในท้องพิการได้
  • ในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ควรใช้ภายใต้คำแนะนำหรือการดูแลของแพทย์
  • ยานิโคลซาไมล์ (Niclosamide) ที่ใช้สำหรับรักษาพยาธิตัวตืด เป็นยาที่มีข้อจำกัดในการใช้หลายประการ ดังนั้นจึงควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้ด้วย

สุขอนามัยเบื้องต้นที่ดีจะสามารถช่วยป้องกันการเกิดพยาธิได้ เช่น ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เก็บอาหารไม่ให้สกปรก หรือมีแมลง และสัตว์อื่นๆ มากินได้ ขับถ่ายในห้องน้ำที่สะอาดถูกสุขลักษณะ ก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังขับถ่ายจะต้องล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง เพียงเท่านี้ก็ทำให้ชีวิตของเราไม่จำเป็นต้องพึ่งการใช้ยาถ่ายพยาธิอีกต่อไป

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป : หลักการวินิจฉัยและรักษาโรค/280 โรคและการดูแลรักษา / สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)