การตรวจหา Angiotensin-Converting Enzyme (ACE) จากเลือด

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

การตรวจหา Angiotensin-Converting Enzyme (ACE) จากเลือด ทำเพื่อวินิจฉัยและติดตามการเป็นโรคซาร์คอยโดซิส ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่ง บางครั้งแพทย์อาจใช้การตรวจ ACE เพื่อตรวจสอบว่าร่างกายของผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อการรักษาโรคนี้หรือไม่

ชื่ออื่น: Serum angiotensin converting enzyme, SACE

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อทางการ: Angiotensin-converting enzyme

จุดประสงค์การตรวจ Angiotensin-Converting Enzyme (ACE)

การตรวจ ACE จากการเจาะเลือดไปตรวจ ทำเพื่อวินิจฉัยและติดตามโรคซาร์คอยโดซิส (Sarcoidosis) หรือโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบขึ้นโดยไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจหาสาเหตุของอาการเรื้อรังที่อาจเกิดจากโรคซาร์คอยโดซิส

โรคซาร์คอยโดซิส จะทำให้เกิดเนื้อเยื่อที่เติบโตผิดปกติขนาดเล็ก เรียกว่า Granulomas ซึ่งเซลล์ที่อยู่รอบ Granulomas นั้น จะทำให้ ACE เพิ่มขึ้น หากประสิทธิผลของการรักษาโรคซาร์คอยโดซิสลดลงด้วย Corticosteroid ก็จะทำให้ ACE ลดลงไปอยู่ในระดับปกติ

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Angiotensin-Converting Enzyme (ACE)?

แพทย์อาจตรวจ ACE เมื่อผู้ป่วยมีสัญญาณ หรืออาการที่อาจเกิดจากโรคซาร์คอยโดซิส เช่น

  • เกิดเนื้อเยื่อเติบโตผิดปกติขนาดเล็ก หรือ Granulomas
  • ไอเรื้อรังหรือหายใจลำบาก
  • ตาแดงหรือมีน้ำตาไหล
  • เจ็บตามข้อ

วิธีเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ Angiotensin-Converting Enzyme (ACE)

แพทย์จะตรวจ Angiotensin-Converting Enzyme จากเลือด โดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำในแขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

รายละเอียดการตรวจ Angiotensin-Converting Enzyme (ACE)

Angiotensin-Converting Enzyme (ACE) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยควบคุมความดันโลหิต สามารถพบ ACE ในเลือดเพิ่มขึ้นได้ในผู้ที่เป็นโรคซาร์คอยโดซิส (Sarcoidosis) ซึ่งเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ โดยลักษณะเด่นของโรคซาร์คอยโดซิส คือ การมี ก้อนเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปกติหรือ Granulomas ทำให้โครงสร้างของเนื้อเยื่อรอบๆ เปลี่ยนไปจนเกิดความเสียหาย การอักเสบ และขัดขวางการทำงานตามปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความหมายของผลตรวจ Angiotensin-converting enzyme (ACE)

ผู้ที่มี ACE เพิ่มขึ้น และมีอาการที่สอดคล้องกับโรคซาร์คอยโดซิส มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซาร์คอยโดซิสระยะแสดงอาการ ซึ่งจะพบ ACE จะเพิ่มขึ้น 50%-80% แต่การมี ACE ระดับปกติ ก็ไม่สามารถตัดโอกาสที่จะไม่เกิดโรคซาร์คอยโดซิสได้ เพราะระดับของ ACE จะเป็นปกติเมื่อโรคซาร์คอยโดซิสไม่ได้อยู่ในระยะแสดงอาการ และค่า ACE ก็จะไม่เพิ่มขึ้นในกรณีเป็นโรคซาร์คอยโดซิสแบบเรื้อรัง

ระดับของ ACE ที่เพิ่มขึ้นในช่วงแรกและลดลงเมื่อเวลาผ่านไป มักบ่งชี้ถึงอาการที่ทุเลาตามธรรมชาติหรือได้รับการรักษา รวมถึงยังเป็นสัญญาณที่ดี แต่ในทางกลับกัน หากมี ACE เพิ่มขึ้น อาจบ่งชี้ถึงการเป็นโรคช่วงต้นที่กำลังเข้าสู่ระยะลุกลามหรือการไม่ตอบสนองต่อการรักษา

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Angiotensin-converting enzyme (ACE)

ACE สามารถเปลี่ยน Angiotensin I เป็น Angiotensin II เพื่อทำหน้าที่เป็นยากระตุ้นความดันโลหิตชนิดรุนแรง การเปลี่ยนนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามปกติภายในร่างกาย ซึ่งนำไปสู่การพัฒนายาที่เรียกว่า ACE inhibitors ที่ใช้สำหรับรักษาภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

การลดลงของ ACE อาจพบได้ในผู้ที่มีภาวะดังนี้

นอกจากนี้ยังอาจพบ ACE ที่เพิ่มขึ้นระดับปานกลางในผู้ที่เป็นโรคและมีความผิดปกติดังนี้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ACE Inhibitors: List of Names, Side Effects (Cough, Kidney) & Dosage. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/ace_inhibitors/article.htm)
ACE inhibitors: List, side effects, and more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326791)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้

ยา Dopamine (โดปามีน) ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นในขณะที่หัวใจล้มเหลว ช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตได้

อ่านเพิ่ม
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ

หากอยากรู้ว่า อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นไหน ทำงานอย่างไร ต้องไม่พลาดบทความนี้

อ่านเพิ่ม