ยาแก้ปวดกับความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular risk)

รู้หรือไม่ ว่ายาแก้ปวดบางชนิดสร้างอันตรายต่อโรคทางหัวใจได้
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ม.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาแก้ปวดกับความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular risk)

ยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) ไม่ว่าจะเป็นยารุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ ส่วนมากพบว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ทั้งนั้น นอกจากนี้ ตัวยายังอาจส่งผลข้างเคียง หรืออาการแทรกซ้อนเพิ่มในกลุ่มผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้วด้วย ซึ่งผลข้างเคียงจากยาบางประเภทอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ 

สำหรับประเภทของยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ซึ่งมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น จะอยู่ที่ประเภทซึ่งแบ่งตามฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจิเนส (Cyclooxygenase: COX) ซึ่งไม่ว่าจะเป็นยารุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ ต่างก็เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งนั้น โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ COX แบบไม่เจาะจง (Non-specific COX inhibitors หรือ Traditional NSAIDs หรือ Conventional NSAIDs)

  • ไดโคลฟีแนค (Diclofenac): มีข้อแนะนำว่า ไม่ควรใช้ยาในปริมาณสูง (150 มิลลิกรัมต่อวัน) เนื่องจากมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจวาย จึงไม่ควรใช้ยาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ผู้ที่เสี่ยงต่ออาการหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน รวมถึงผู้ที่ยังควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ แต่หากผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงจำเป็นจะต้องใช้ยาตัวนี้เป็นประจำทุกวัน ไม่ควรใช้ยาเกิน 100 มิลลิกรัมต่อวัน และควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
  • ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen): การใช้ยาในปริมาณที่สูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการอุดตันในหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะสมองขาดเลือด หรือภาวะความดันสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิต ดังนั้นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าว โดยเฉพาะหากต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ COX-2 แบบเจาะจง (Specific COX-2 inhibitors หรือ COX-2 specific NSAIDs) 

เช่น เซเลค็อกซิบ (Celecoxib) เมล็อกซิแคม (Meloxicam) พาเรค็อกซิบ (Parecoxib) เอทอริค็อกซิบ (Etoricoxib) และโรฟีค็อกซิบ (Rofecoxib)

ทั้งนี้ ความเสี่ยงในการใช้ยาประเภทดังกล่าวที่มีต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น จะแปรผันไปตามปริมาณการใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละราย แต่ทางที่ดี ผู้ป่วยหรือผู้ที่อยูในกลุ่มเสี่ยงควรใช้ยาในปริมาณที่ต่ำที่สุดแต่ยังคงประสิทธิภาพในการรักษาไว้ได้ และควรใช้ยาในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยเช่นกัน หรือเพื่อความมั่นใจ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานยาดังกล่าวเพื่อความปลอดภัย

นอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยาแก้ปวดและต้านการอักเสบตัวอื่นๆ หากคุณใช้ยาแล้วอาการป่วยไม่ดีขึ้น คุณควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและมีการปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาให้เหมาะสมต่อไป และอีกสิ่งที่สำคัญคือ คุณไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นการรักษาที่ไม่ตรงจุด และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในร่างกายได้มากขึ้น ซึ่งในที่นี้ก็รวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ยังต้องระมัดระวังการใช้ยาในคนไข้โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ โรคหอบหืด และในคนที่เลือดแข็งตัวช้า เพราะยาอาจไปทำให้ภาวะของโรคเหล่านี้เลวร้ายยิ่งขึ้น สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ยาใดๆ ทั้งสิ้น ในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หากจำเป็นจะต้องใช้ยากลุ่มนี้ ให้ใช้ขนาดยาต่ำสุดที่จะให้ผลในการรักษา และใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ควรหยุดใช้ยาหากไม่มีอาการ อ่านฉลากยาก่อนใช้ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)