บทนำ
ภาวะสุราเป็นพิษ คือ การดื่มสุราในปริมาณมากจนถึงระดับที่เป็นอันตราย ซึ่งมักเกิดจากการดื่มสุราในปริมาณมากๆ ในช่วงเวลาอันสั้น และภาวะดังกล่าวนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการดื่มสุราจนทำให้เกิดอาการเสพติดหรือดื่มสุราในปริมาณที่มากเกินไป
สัญญานบ่งบอกและอาการเตือนภาวะสุราเป็นพิษ
มีสัญญานบ่งบอกและอาการเตือนภาวะสุราเป็นพิษ ดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- เกิดอาการจิตสับสน
- พูดไม่ชัดหรือพูดไม่รู้เรื่องอย่างหนัก
- การทำงานประสานกันของอวัยวะบกพร่อง
- อาเจียน
- จังหวะการหายใจผิดปกติหรือหายใจช้าลง
- ตัวเย็นผิดปกติจนทำให้ผิวหนังซีดหรือกลายเป็นสีม่วง
- หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
- เกิดภาวะกึ่งโคม่า ซึ่งยังรู้สึกตัวแต่ไม่สามารถตอบสนองการรับรู้ได
ในกรณีที่ภาวะสุราเป็นพิษรุนแรงอาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการโคม่า สมองถูกทำลาย และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
การช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล
หากพบว่ามีผู้ที่กำลังเกิดภาวะสุราเป็นพิษ ให้รีบโทร 191 หรือ 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ ในช่วงที่กำลังรอรถพยาบาล แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
- พยายามปลุกผู้ป่วยให้ตื่นและพยายามพยุงให้อยู่ในท่านั่ง
- ให้ดื่มน้ำเปล่าหากผู้ป่วยยังสามารถดื่มได้
- หากผู้ป่วยเป็นลมหมดสติ ให้จัดผู้ป่วยในท่านอนตะแคงหรือท่าพักฟื้น และคอยตรวจดูว่าผู้ป่วยยังคงหายใจอยู่
- พยายามทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอบอุ่น
- อยู่กับผู้ป่วยและคอยสังเกตอาการจนกว่ารถพยาบาลจะมารับผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
ไม่แนะนำให้ปล่อยให้ผู้ป่วยนอนหลับ นั่นเพราะระดับของแอลกอฮอล์จะยังคงมีอยู่ในเลือดสูงประมาณ 30-40 นาทีหลังจากการดื่มครั้งสุดท้าย ส่งผลให้อาการของภาวะสุราเป็นพิษอาจเลวร้ายและรุนแรงขึ้นได้ นอกจากนี้ ฃไม่ควรให้ผู้ป่วยดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่ควรนำผู้ป่วยไปอาบน้ำ ซึ่งไม่เพียงแต่จะไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นแต่จะยิ่งทำให้อาการของผู้ป่วยรุนแรงและเป็นอันตรายมากขึ้นอีก
การรักษาภาวะสุราเป็นพิษ
เมื่อถึงมือแพทย์ แพทย์จะคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะมั่นใจแล้วว่าแอลกอฮอล์ถูกขับออกจากร่างกายจนหมดแล้ว และหากแพทย์จำเป็นต้องทำการรักษา อาจมีกระบวนการรักษาต่อไปนี้
- ใช้วิธีการสอดท่อขนาดเล็กลงไปทางปากและหลอดลม เป็นการใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อเปิดทางเดินหายใจ กำจัดสิ่งอุดตันต่างๆ และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้สะดวกขึ้น
- ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด เป็นการเติมน้ำ น้ำตาล และวิตามิน เข้าสู่ร่างกายและเพื่อให้น้ำ น้ำตาล และวิตามินอยู่ในระดับปกติ
- ใช้วิธีการสอดท่อขนาดเล็กมากทางท่อปัสสาวะไปยังกระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายน้ำปัสสาวะออกจากร่างกาย
อันตรายของภาวะสุราเป็นพิษ
ผู้ที่มีภาวะสุราเป็นพิษจะมีอาการดังต่อไปนี้
- สำลักในขณะอาเจียน
- หยุดหายใจ
- เกิดภาวะหัวใจวาย
- หายใจสูดอาเจียนเข้าไปในปอดจนอาจเป็นอันตรายต่อปอดอย่างรุนแรงได้
- เกิดอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อสมองทำให้สมองเสียหายอย่างถาวร
- ตัวเย็นมากผิดปกติ
- มีอาการชัก อันเป็นผลมาจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ
นอกจากนี้ การอาเจียนมากๆ หรือขย้อนถี่ๆ อาจส่งผลทำให้อาเจียนเป็นเลือดซึ่งเกิดจากการตกเลือดในระบบทางเดินอาหารบริเวณระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ผลกระทบและความเสี่ยงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การดื่มสุราในปริมาณมากเกินไปนั้นส่งผลกระทบต่อผู้ดื่มและอาจนำไปสู่สถานการณ์อันเสี่ยงต่อทั้งสุขภาพและความปลอดภัย เช่น
- เกิดอุบัติเหตุและเกิดอาการบาดเจ็บ
- มีส่วนเกี่ยวกข้องกับความรุนแรงหรือมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมโดยใช้ความรุนแรง
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ส่งผลทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนและเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- สูญเสียทรัพย์สิน
ภาวะสุราเป็นพิษเกิดขึ้นอย่างไร
ทุกครั้งที่ดื่มสุรา ตับจะทำหน้าที่ขับแอลกอฮอล์ออกจากเลือด โดยแอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว ซึ่งเร็วกว่าการดูดซึมสารอาหารมาก ในขณะที่ร่างกายสามารถขับแอลกอฮอล์ได้เพียง 1 ดื่มมาตรฐานต่อ 1 ชั่วโมงเท่านั้น และหากคุณดื่มสุราในปริมาณมากภายในช่วงเวลาอันสั้น อย่างการออกไปดื่มตามสถานบันเทิงหรือไปปาร์ตี้ แน่นอนที่ร่างกายไม่มีเวลามากพอที่จะขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายได้หมด นอกจากนี้ภาวะสุราเป็นพิษยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้ยาหรือเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น การที่บางครั้งเด็กทานยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์โดยไม่รู้ตัว ส่งผลทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงขึ้นด้วย
ผลข้างเคียงจากการดื่มสุรา
1-2 ดื่มมาตรฐาน
เมื่อดื่มสุราในปริมาณ 1-2 ดื่มมาตรฐาน หัวใจจะเต้นเร็วขึ้นและหลอดเลือดจะขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ดื่มตัวร้อน และเริ่มคุยเก่งมากขึ้น
4-6 ดื่มมาตรฐาน
หลังจากดื่มสุราไปแล้ว 4-6 ดื่มมาตรฐาน สมองและระบบประสาทจะเริ่มได้รับผลกระทบ โดยจะส่งผลต่อระบบภายในสมองที่เกี่ยวเนื่องกับการคิด วิเคราะห์ พิจารณา และการตัดสินใจ ทำให้ผู้ดื่มมีความประมาทสะเพร่าและมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้ สุรายังส่งผลต่อการทำลายเซลล์ในระบบประสาทด้วย ทำให้ผู้ดื่มรู้สึกวิงเวียนศีรษะ การตอบสนองของร่างกายช้าลงและทำงานไม่สัมพันธ์กันกับสมอง
8-9 ดื่มมาตรฐาน
หลังจากดื่มสุราไปแล้ว 8-9 ดื่มมาตรฐาน การตอบสนองของร่างกายจะยิ่งช้าลงไปอีก เริ่มพูดช้าลง พูดไม่รู้เรื่อง และสายตาเริ่มมองเห็นภาพไม่ชัดเจน นอกจากนี้ ตับที่มีหน้าที่กรองแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย ไม่สามารถกรองแอลกอฮอล์ทั้งหมดที่ดื่มเข้าไปได้ภายในคืนเดียว จึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ดื่มสุรามีอาการเมาค้างในเช้าวันถัดมานั่นเอง
10-12 ดื่มมาตรฐาน
หลังจากดื่มสุราปริมาณ 10-12 ดื่มมาตรฐาน การตอบสนองของร่างกายจะบกพร่องทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งการดื่มสุราในปริมาณมากส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้ผู้ดื่มรู้สึกง่วงซึม
โดยปริมาณแอลกอฮอล์จะเริ่มเข้าสู่ระดับที่เป็นพิษต่อร่างกาย และร่างกายจะตอบสนองโดยการขับแอลกอฮอล์ออกมาทันทีผ่านการปัสสาวะ ส่งผลทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงในเช้าวันถัดมาจึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ดื่มมีอาการปวดหัวอย่างหนัก
นอกจากนี้ การดื่มสุราในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และเกิดอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
มากกว่า 12 ดื่มมาตรฐาน
หากดื่มสุรามากกว่า 12 ดื่มมาตรฐาน มีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่ผู้ดื่มจะมีภาวะสุราเป็นพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีพฤติกรรมการดื่มสุราในปริมาณสูงในระยะเวลาอันสั้น
โดยปกติแล้ว ตับจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงในการขจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย และภาวะสุราเป็นพิษเกิดขึ้นจากการดื่มสุราในปริมาณสูงจนเริ่มรบกวนระบบการทำงานของร่างกาย ดังต่อไปนี้
- ระบบทางเดินหายใจ
- อัตราการเต้นของหัวใจ
- ระบบขย้อนเพื่อป้องกันอาการสำลักน้ำและอาหาร
แน่นอนที่ภาวะสุราเป็นพิษอาจส่งผลร้ายแรงทำให้ผู้ดื่มหมดสติและเสียชีวิตได้
การจำกัดปริมาณการดื่มสุราที่แนะนำ
เพื่อให้อัตราเสี่ยงจากการดื่มสุราที่ส่งผลต่อสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ แพทย์แนะนำว่า
ทั้งหญิงหรือชาย ไม่ควรดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์
หากดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ แนะนำว่าไม่ควรดื่มหนักในคราวเดียวแต่ควรแบ่งปริมาณการดื่มออกเป็นหลายๆ วัน
สำหรับสุรา 1 ดื่มมาตรฐาน สามารถเปรียบเทียบเปรียบเทียบปริมาณได้ดังนี้
- เทียบเท่าเบียร์สดครึ่งไพนต์ ที่มีระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 3.6%
- เทียบเท่าสุรากลั่น 1 ช็อตปริมาณ 25 มล. ที่มีระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 40%
ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแบบ binge drinking หรือการดื่มปริมาณมากเป็นครั้งคราวหรือการดื่มมากติดต่อกันในช่วงเวลาสั้นๆ แบบ “เมาหัวราน้ำ” นั่นเพราะการดื่มในลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะสุราเป็นพิษและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้