พิษของแอลกอฮอล์ จากสุรา และเทคนิคการดื่มให้เมาช้าลง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
พิษของแอลกอฮอล์ จากสุรา และเทคนิคการดื่มให้เมาช้าลง

โทษของการดื่มสุราเป็นเรื่องที่คิดว่ารู้ซึ้งกันดีแล้ว พอจะรู้ว่าแอลกอฮอล์ทำลายตับ ทำลายเส้นประสาทและสมอง แม้จะเป็นคอทองแดง อวดความเก่งกาจได้ไม่นาน ตับสู้ฤทธิ์เหล้าไม่ได้ ก็ชำรุดกลายเป็นโรคตับแข็ง และตับพิการ

ที่เข้าใจผิดกันคือ อาการมึนเมาที่เกิดขึ้นหลังดื่ม ทั้งคงเมาและคนชวนล้วนพยายามหาวิธีที่จะช่วยให้กินเหล้าได้มาแต่เมาน้อยมาใช้ เมาในวงเหล้าไม่ว่ากะไร แต่เมื่อลุกออกจากวงเหล้าแล้ว จะต้องกลับไปสู้หน้าลูกเมียหรือแม่ยาย อยากให้สร่างเมาเป็นปลิดทิ้งในทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความเมานั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของร่างกาย

ฤทธิ์เหล้าก็คือความแรงหรือปริมารแอลกอฮอล์ชื่อว่า เอททิล ที่อยู่ในเครื่องดื่ม เป็นสารอินทรีย์ขนาดเล็ก ไม่ต้อยย่อย ถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วเข้าสู่กระแสโลหิต ไปแสดงฤทธิ์ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ตับ

ตับเป็นอวัยวะอย่างเดียวที่สามารถทำลายพิษแอลกอฮอล์โมเลกุลของแอลกอฮอล์ถูกตับแบ่งแยกออก กลายเป็นสารที่ไม่มีพิษที่ร่างการเผาผลาญเป็นพลังงาน หรือเปลี่ยนเป็นไขมันพอกพูนตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้

ความสามารถในการทำลายพิษของตับมีขีดจำกัด

ค่อย ๆ ทำไปตามประสิทธิภาพของเซลล์และเอนไซม์ในตับ แอลกอฮอล์ส่วนที่เกินขีดจำกัดก็จะวนเวียนไปตามกระแสโลหิต บางส่วนถูกขับออกมากับลมหายใจ บางส่วนถูกขับออกกับปัสสาวะ รวมทั้งสองทางนี้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของแอลกอฮอล์ที่ดื่ม ในต่างประเทศใช้การวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจ เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเมามากเมาน้อยหรือกินเหล้ามากหรือน้อยเพียงใด เมาแล้วขับรถก็จะถูกจับก่อนที่จะกลายเป็นมาตรกรเพราะความเมา

ในขณะที่แอลกอฮอล์วนเวียนรอให้ถึงคิวถูกเผาผลาญอยู่นั้นย่อมถือโอกาสทำลายอวัยวะอื่นไปด้วยโดยเฉพาะสมอง เพียงในเวลาอันสั้น จะเห็นฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสารกล่อมประสาท

แอลกอฮอล์มีผลให้เกิดความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม

ความฉับไวและเที่ยงตรงของสมองด้อยลง ยิ่งกินมาก ก็ยิ่งเชื่องช้า โดยที่ตัวคนดื่มอาจจะไม่รู้สึกยังไม่ทันรู้ตัวว่าเมา ทั้ง ๆ ที่เริ่มพูดอ้อแอ้ ตาเริ่มพร่า กล้ามเนื้อที่สมองกำกับก็พลอยถูกกระทบกระเทือน การบังคับการทรงตัวเปลี่ยนไปจากเดินสะเปะสะปะ เตะโน่นกระทบนี่ข้างทาง ในที่สุดเลือดที่มีแอลกอฮอล์ปนจนเปี่ยมจะทำให้การหายใจและการเต้นของหัวใจช้าลง หมดสติล้มกลิ้งอยู่ที่ไหนก็ได้ไม่เลือกที่

ตามปกติผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่น้ำหนักราว 60-70 กิโลกรัม จะต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง จึงจะกำจัดฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม 1 แก้วได้หมดสิ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เครื่องดื่ม 1 แก้วหมายถึงเบียร์แก้วใหญ่ (12 ออนซ์) ไวน์แก้วขนาดกลาง (5 ออนซ์) วิสกี้อย่างแม่โขง 1 จอก (11/2 ออนซ์) หรือค็อกเทล 1 แก้ว

การทำลายฤทธิ์แอลกอฮอล์ที่เข้าสู่ร่ายกายมีขั้นตอน และต้องใช้เวลา ทั้งไม่มีวิธีให้สร่างฤทธิ์แอลกอฮอล์เร็วขึ้น ต้องรอจนกว่าตับจะทำลายหมดสิ้น

การอาบน้ำหรือกินกาแฟดำไม่ช่วยทำลายฤทธิ์แอลกอฮอล์ให้หมดไป เพียงแต่ช่วยให้คนเมาตื่นแต่ไม่สามารถช่วยให้สมองสั่งงานเร็วขึ้น หรือเที่ยงตรงขึ้น นั่นคือ ไม่ช่วยให้ขับรถดีขึ้น ยังขับรถส่ายไปมา เบรกไม่ค่อยจะทัน ล้ำเส้นและล้ำไฟแดง

การเดินหรือออกกำลังกาย ไม่มีส่วนช่วยเพิ่มเอนไซม์ในตับ

ฉะนั้น วิธีที่ทำให้เมาช้าหรือสร่างเมาจึงมีเพียงอย่างเดียว คือดื่มในปริมาณที่ร่างกายจะกำจัดแอลกอฮอล์ได้ นั่นคือจิบช้า ๆ ไวน์แก้วหนึ่งอาจใช้เวลาจิบเป็นชั่วโมง ถูกขาล้อเลียน ดีกว่าคุมสติไม่อยู่

การกินเหล้าพร้อมข้าวหรือกับแกล้ม เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมช้าและเจือจางลงเพราะกระเพาะต้องดูดซึมแอลกอฮอล์ไปพร้อม ๆ กับอาหาร อาหารที่มีไขมันสูง เช่น กับแกล้มประเภททอด ได้แก่ มันทอด ไส้กรอกทอดทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้าลง ทั้งอาหารและแอลกอฮอล์จึงอยู่ในกระเพาะนานขึ้น จึงทำให้เมาช้า นอกจากนั้น การกินเหล้าพร้อมข้าวยังทำให้กินเหล้าน้อยลงไปตามส่วนด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

แอลกอฮอล์มักทำให้ผู้ดื่มกระหายน้ำพร้อม ๆ กับขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น ยิ่งดื่มจึงยิ่งคอแห้ง ยิ่งกระหายน้ำ จึงทำให้ดื่มเพิ่ม บางคนใช้วิธีดื่มน้ำไปก่อนเริ่มดื่ม หรือดื่มเครื่องดื่มมึนเมาที่มีน้ำผสมอยู่มาก เช่น เหล้าผสมโซดาจนเจือจาง หรือเบียร์ที่มีน้ำมาก แต่มีแอลกอฮอล์น้อยกว่าเหล้า ด้วยเหตุนี้ เวลาดื่มเบียร์จึงเมาช้ากว่าดื่มเหล้า  

ในปีนี้ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์ก็คงจะเกิดขึ้นอีกตามวาระ ถ้าผู้ดื่ม เจ้าภาพ ผู้รับเชิญและผู้ร่วมสนุกซึ่งรู้หนทางเลี่ยงหลีกอุบัติเหตุ แต่ไม่ทำตาม อย่าปล่อยให้การฉลองเพื่อส่งความสุขปีใหม่กลายเป็นความทุกข์เลย

หากเห็นว่าเมากันมากแล้ว อาจจัดหาที่ให้นั่งหรือนอนพักนิ่ง ๆ จนกว่าฤทธิ์แอลกอฮอล์ค่อยบรรเทา งานที่สุขไม่ใช่งานที่เต็มไปด้วยคนเมา หรืองานที่เลี้ยงเหล้าอย่างไม่อั้น เจ้าภาพที่ดีไม่คะยั้นคะยอให้แขกดื่มจนวินาทีสุดท้าย แล้วส่งไปตาย เจ้าภาพที่ดีหรือเพื่อนที่ดีช่วยดูแลซึ่งกันและกัน อย่างน้อยส่งให้ถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ

คำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของคุณ ด้วยเครื่องอัตโนมัติ ใช้งานง่ายๆ คลิก>>


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alcohol and public health: Frequently asked questions. (2018). (https://www.cdc.gov/alcohol/faqs.htm)
Alcohol use and safe drinking. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/001944.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การดื่มเหล้า ส่งผลต่ออวัยวะในร่างกายและกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง?
การดื่มเหล้า ส่งผลต่ออวัยวะในร่างกายและกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง?

การดื่มสุรา หรือเหล้าปริมาณติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น สมองเสื่อม โรคตับแข็ง หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด

อ่านเพิ่ม