การดื่มแอลกอฮอล์วันละแก้วสองแก้วดีหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 18 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การดื่มแอลกอฮอล์วันละแก้วสองแก้วดีหรือไม่?

ประมาณ 40 กว่าปีก่อน มีผลการศึกษามาก 10 ชิ้นที่แนะว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณพอควร สัมพันธ์กับผลประเมินที่ออกมาว่าช่วยให้สุขภาพดี โดยเฉพาะกรณีที่มุ่งป้องกันโรคหัวใจ โรค หลอดเลือดสมอง และเบาหวาน การดื่มในปริมาณพอควรไม่เพียงลด ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ยังพบว่าในกรณีที่เกิดภาวะหัวใจวายขึ้นมา โอกาสตายของคนกลุ่มนี้ต่ำกว่าทั้งกลุ่มคนที่ดื่มจัดและคนที่ไม่ดื่มเลย

การดื่มแอลกอฮอล์วันละนิดมีประโยชน์อะไร?

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณพอควร จะทําให้ระดับคอเลสเตอรอล ชนิดดีในเลือดสูงขึ้นและอาจลดการเกาะตัวกันเองของเกล็ดเลือด (เท่ากับลดโอกาสเกิดลิ่มเลือดไปอุดตัน) จึงมีส่วนลดการเกิดตะกรันในหลอดเลือดแดง ดังนั้น ความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองจึงลดลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม ผลดีต่างๆ ของการดื่มแอลกอฮอล์ได้มาจากการศึกษา ที่ทําอย่างไม่รัดกุมและไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือเท่าใดนัก งานวิจัยบางชิ้นเสนอว่า ความสัมพันธ์ระหว่างดื่มแอลกอฮอล์กับผลดีที่เกิดกับหัวใจนั้น น่าจะเป็นจากลักษณะของคนที่ดื่มเป็นครั้งคราว มากกว่าจะเกิดจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ที่มีผลต่อสุขภาพ 

อาจเป็นไปได้ว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางนั้น น่าจะมีคุณสมบัติ อื่น ๆ ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย อย่างเช่น ผู้ที่ดื่มด้วยความสุขุมละเมียด มีแนวโน้มจะเป็นคนที่กินอิ่มแล้วเลิก หรือปฏิเสธของหวาน คําถามเหล่านี้ มีความสําคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่จะด่วนสรุปว่าแอลกอฮอล์มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

งานวิจัยเรื่องแอลกอฮอล์เชื่อถือได้หรือไม่?

มาตรฐานชั้นดีในงานวิจัยทางการแพทย์คือ ทําการทดลองศึกษาแบบ สุ่มโดยไม่ทราบทั้ง 2 ฝ่าย (double-blinded randomized controlled trial)  ในการศึกษาชนิดนี้ เรานําผู้ร่วมทดลองทั้งหมดมาแบ่งโดยการสุ่ม ให้ใช้ยาชนิดที่ศึกษากับใช้ ยาหลอก โดยที่ทั้งผู้ร่วมทดลองและผู้วิจัยต้องไม่ทราบว่าใครจะอยู่กลุ่มไหน จนกว่าจะสิ้นสุด การวิจัย เพื่อหาคําตอบที่แท้จริงว่าผลต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันอย่างไร การแบ่งกลุ่มด้วยการ

นี้สําคัญเพราะนิสัยอีกหลายอย่างทําให้แต่ละคนมีแนวโน้มจะเป็นโรคต่างกันอย่างเช่น การมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง จะถูกแบ่งไปอยู่ในทั้ง 2 กลุ่ม และเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก

เมื่อเราไม่สามารถทําการควบคุมอย่างสมบูรณ์อย่างที่กล่าวมาได้ เราก็เลยต้องทําการศึกษาแบบ “เฝ้าสังเกตการณ์”  เราเปรียบเทียบกลุ่มคนที่เป็นโรคหัวใจหรือเคยหัวใจวายมาแล้ว และพยายามค้นหาว่าแอลกอฮอล์ที่พวกเขาดื่มมีปริมาณแตกต่างกันไหม การศึกษาแบบหลังนี้ไม่ให้ผลสรุปที่แน่นอนเพราะมีหลายเรื่องซึ่งต้องคํานึงถึง ทั้งการบิดเบือนทางสถิติและไหนยังจะมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของโรคหัวใจที่ไม่ได้ควบคุม

ควรเริ่มดื่มแอลกอฮอล์ไหม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จากข้อมูลที่มี เชื่อว่าการดื่มแอลกอฮอล์แต่พอควรนั้นมีผลดีต่อสุขภาพ แต่ก็ไม่มากพอที่จะชวนให้ผู้ที่ไม่ดื่มเปลี่ยนมาเริ่มดื่ม สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แนะนําการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพหัวใจแข็งแรง มีความเห็นสอดคล้องว่า อย่าหัดดื่มเพียงเพราะหวังว่าจะช่วยปกป้องคุณจากโรคหัวใจ อย่างที่ทราบกันดีอยู่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็มีความเสี่ยงหลายประการสถิติ ศูนย์ควบคุมป้องกันโรคพบว่า ในแต่ละปีสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิต 79,000 ราย และอีกมากกว่า 1,500,000 รายต้องนอนโรงพยาบาลด้วย เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุราเกินขนาด ตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุจากการใช้ยานพาหนะ โรคตับ การใช้ความรุนแรงในครอบครัว ความพิการแต่กําเนิด ความดันโลหิตสูง ติดสุรา ยังมีผลการศึกษาบางชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า มีอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมสูงขึ้นในผู้ที่ดื่มสุราปานกลาง แม้ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นไม่มาก แต่หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมอยู่แล้ว ควรพิจารณาเรื่อง เข้าไปด้วย ก่อนตัดสินใจดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

คุณที่เป็นนักดื่มอยู่แล้วละ ควรดื่มแค่ไหนถึงจะดี อย่างที่บอกครับ ผมมันประเภท “ดื่มวันละแก้ว” หรือถ้าไปทานมื้อค่ำนอกบ้านก็อาจจะ 2 แก้ว กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ให้คําจํากัดความของการดื่มปานกลางว่า วันละ 1 ดื่ม (drink) สําหรับผู้หญิง และไม่เกินวันละ ในผู้ชาย ที่นี้ “ดื่ม” คืออะไร? อาจจะไม่มากเท่าที่คุณนึกหรอกครับ สําหรับไวน์ 1 ดื่มเท่ากับ 5 ออนซ์ คือ 150 ซีซี น้อยกว่าแก้วน้ำผลไม้ ธรรมดาอีกครับ (ลองตวงของเหลวปริมาณ 150 ซีซี เทลงแก้วไวน์ดูนะครับ คุณอาจต้องแปลกใจ แล้วจะได้ทราบว่า ต่อไปนี้ควรจะเทแค่ไหน) สำหรับเบียร์ 1 ดื่ม เท่ากับขวดปกติขนาด 12 ออนซ์ (360 ซีซี) ถ้าเป็นสุราแรง อย่างวอดก้า 80 ดีกรี 1 ดื่ม เท่ากับครึ่งออนซ์ (15 ซีซี) ติดก้นแก้วแบบนี้ บาร์เทนเดอร์เขาไม่รินกันหรอกครับ แต่นี่เรากําลังพูดถึงการดื่มเพื่อสุขภาพ หัวใจกันอยู่ และผมขอย้ำว่า นี่คือปริมาณที่จํากัดต่อวัน จึงไม่สามารถนํามาคิดว่า งั้นรอรวมกัน 7 วันกินรวดเดียวคืนวันเสาร์ อย่างนั้นผิดนะครับ

 เช่นเดียวกับการตัดสินใจทางการแพทย์ทั้งหลายคือ ไม่มีคําตอบ ตายตัวที่ใช้ได้กับทุกคน คุณต้องชั่งน้ำหนักระหว่างผลดีผลเสียของคุณเอง พิจารณาประวัติโรคหัวใจในครอบครัว โรคติดสุรา ตลอดจนมะเร็งเต้านม โดยส่วนตัวผมเห็นว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วันละ 1 ดื่ม หรืออาจ จะ 2 ดื่มในบางวันนั้น เป็นการกระทําที่ปลอดภัย และอาจจะมีประโยชน์ ในการบํารุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดด้วยก็เป็นได้

บทสรุปของหมอเบซเซอร์

ปฏิบัติตามคําแนะนําของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา : หากคุณดื่ม แอลกอฮอล์ระดับปานกลางอยู่แล้ว รักษาระดับไว้ที่วันละ 1 หรือ 2 ดื่ม ถ้าคุณไม่ดื่ม ก็ไม่ควรคิดจะเริ่มดื่มเพื่อเห็นแก่สุขภาพ

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง นายแพทย์ริชาร์ด เบซเซอร์  ได้โดยการซื้อหนังสือ “ความจริงจากหมอไขข้อกังขาปัญหาสุขภาพ”

คำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของคุณ ด้วยเครื่องอัตโนมัติ ใช้งานง่ายๆ คลิก>>


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Is drinking alcohol part of a healthy lifestyle?. American Heart Association. (https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-eating/eat-smart/nutrition-basics/alcohol-and-heart-health)
Alcohol: The impact of 1 drink per day. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323252)
Is red wine actually good for your heart?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/is-red-wine-good-actually-for-your-heart-2018021913285)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การดื่มเหล้า ส่งผลต่ออวัยวะในร่างกายและกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง?
การดื่มเหล้า ส่งผลต่ออวัยวะในร่างกายและกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง?

การดื่มสุรา หรือเหล้าปริมาณติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น สมองเสื่อม โรคตับแข็ง หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด

อ่านเพิ่ม