เอ็นร้อยหวาย

เผยแพร่ครั้งแรก 19 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เอ็นร้อยหวาย

เอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon) เป็นเส้นเอ็นที่แข็งแรง และหนาที่สุดในร่างกาย รับน้ำหนักได้มากถึง 9 กิโลนิวตัน ในขณะวิ่ง หรือสูงถึง 12.5 เท่า ของน้ำหนักตัว เป็นเอ็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่ยึด ที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อน่องขา ซึ่งอยู่ด้านหลังของขา กับ กล้ามเนื้อที่ติด กับกระดูกส้นเท้า (Calcaneus) มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวร่วมกับกล้ามเนื้อน่องและกระดูกส้นเท้า เช่น การเดิน การวิ่ง การขยับของเท้าและข้อเท้า การกระดกขึ้น การกระดกลง เป็นต้น

เอ็นร้อยหวายเป็นเส้นเอ็นที่ใหญ่สุดในร่างกาย  เชื่อมต่อกล้ามเนื้อน่องกับส้นเท้า มีผลในการเดิน วิ่ง และการกระโดด หากเกิดเส้นเอ็นตึงมากหรือมีความเครียดเกิดที่เส้นเอ็นมากๆ อาจทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุที่ทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบและฉีกขาด

สาเหตุของการเกิดเอ็นร้อยหวายอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการใช้งานเอ็นร้อยหวายอย่างหนักซ้ำๆ  และทำให้เอ็นร้อยหวายตึงแข็ง และอักเสบได้ โดยมีสาเหตุที่ทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบได้แก่

  • การทำงานหนักหรือยกของหนัก
  • อุบัติเหตุที่ทำให้เอ็นร้อยหวายฉีกขาด เช่น อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา ที่ต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เช่น แบดมินตัน เทนนิส
  • การออกกำลังกาย เช่น การวิ่งที่มากเกินไป หรือวิ่งเพิ่มระยะทางและเวลาอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ปล่อยให้ร่างกายสร้างความคุ้นเคยเพื่อปรับตัวและเมื่อเกิดแรงดึงรั้ง หรือ แรงกดต่อเอ็นร้อยหวาย เอ็นร้อยหวายขาดการยืดเหยียดที่พอเพียง ประกอบกับกล้ามเนื้อน่องไม่แข็งแรง และตึงตัวมากเมื่อเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและรุนแรง รวมถึงการออกกำลังกายอย่างหนักทำให้เพิ่มแรงและความเครียดต่อเอ็นร้อยหวาย ทำให้เอ็นร้อยหวายเกิดการอักเสบต่อมา
  • กระดูกงอกบริเวณส้นเท้าจะทำให้เกิดการเสียดสีกับเอ็นร้อยหวายทำให้เกิดอาการปวด หรืออักเสบได้เช่นกัน
  • โรคต่างๆ เช่น โรคเกาต์   โรคไทรอยด์ (hypothyroidism) โรครูมาตอยด์ (reumathoid arthritis) เป็นต้น

อาการและอาการแสดง

เราสามารถแบ่งการอักเสบหรือฉีกขาดของเอ็นร้อยหวาย แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1. การอักเสบ/ฉีดขาดแบบเฉียบพลัน (acute tendon tear) อันเกิดจากการอักเสบหรือฉีดขาดจากอุบัติเหตุแบบกะทันหัน

2. การอักเสบ/ฉีดขาดแบบเรื้อรัง (chronic tendon tear) อันเกิดจากการอักเสบหรือฉีกขาดทีละเล็กทีละน้อย

อาการและอาการแสดงของภาวะเอ็นร้อยหวายอักเสบ สามารถสังเกตได้คือ จะมีอาการปวดเจ็บ อักเสบและบวมแดง บริเวณเอ็นร้อยหวาย  และ อาการปวดอาจลามไปถึงกล้ามเนื้อน่องขา  แต่ถ้าเอ็นร้อยหวายฉีกขาดผู้ป่วยจะไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้า และเท้าได้ตามปกติ มีอาการปวดบวมมากกว่าปกติ เป็นอาการปวดเฉียบพลันและบวมในด้านหลังของส้นเท้าที่เกิดจากการมีเลือดออกจากการแตกเอ็นร้อยหวาย ผู้ป่วยจะเดินลำบากหรือไม่สามารถเดินได้ตามปกติ (เดินกะเผลก)

การป้องกันเอ็นร้อยหวายอักเสบ

  • เมื่อมีอาการปวดตรงส้นเท้าควรพัก หยุดจากการวิ่ง แล้วใช้การประคบเย็นช่วย โดยประคบบ่อยๆ จะช่วยให้หายเร็วขึ้น อาการปวดควรหาย 100% ก่อนกลับมาวิ่งหรือออกกำลังกายอีกครั้ง เพราะถ้าวิ่งโดยที่มีอาการปวดอยู่จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นและต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนานขึ้น
  • ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอย่างเพียงพอทุกครั้งก่อนการออกกำลังกาย
  • ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อน่อง
  • ค่อยๆเพิ่มความแรงของการออกกำลังกาย การฝึกวิ่งควรเพิ่มระยะทางและความเร็วอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • ใส่รองเท้าที่เหมาะสมและพอดีเท้า หากใส่รองเท้าส้นสูงควรลดความชันของส้นสูงลง

การรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบหรือฉีกขาด กรณีเอ็นร้อยหวายอักเสบ ต้องพักการใช้งานของเท้าและเอ็นร้อยหวาย รับประทานยาแก้ปวดและแก้อักเสบจนกว่าอาการอักเสบจะทุเลา กรณีที่เอ็นร้อยหวายฉีก จะต้องทำการผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วนต่อไป


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Achilles tendinitis: Treatment, symptoms, and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/240819)
Achilles tendon pain: Causes. when to see a doctor, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324800)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)