กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการผิดปกติเมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อาการผิดปกติเมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์

ผู้หญิงที่มีอาการผิดปกติเช่น รู้สึกเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น อาจจะสงสัยว่าตนเองจะตั้งครรภ์แล้วหรือเปล่า แต่ทราบหรือไม่ว่า อาการเหล่านั้นไม่จำเป็นเสมอไปที่คนท้องทุกคนจะแสดงอาการออกมา บางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้เราเริ่มตั้งครรภ์แล้วหรือเปล่า วันนี้เรามีคำแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่มาฝาก

ทางการแพทย์ได้สรุปอาการต่างๆ เมื่อผู้หญิงมีการตั้งครรภ์ไว้ดังนี้

  • 6-12 วันหลังไข่ถูกปฏิสนธิ อาจมีเลือดออกมาทางช่องคลอดและปวดเกร็งท้องน้อย รวมถึงอาจมีมูกสีขาวข้น ซึ่งไม่มีกลิ่นเหม็นไหลออกมาทางช่องคลอด
  • 2-8 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • 4-6 สัปดาห์ ประจำเดือนขาด อ่อนเพลีย คัดตึงเต้านม น้ำหนักตัวมากขึ้น
  • 6-8 สัปดาห์หลังปฏิสนธิ เริ่มปัสสาวะบ่อย อารมณ์แปรปรวน
  • 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ มีการเปลี่ยนสีผิวของช่องคลอด ปากมดลูก ลานนม และเต้านมขยายใหญ่ขึ้น มีรอยแตกบริเวณหน้าท้องและเต้านม และมีอาการเบื่ออาหาร
  • 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจมีเส้นสีดำกลางลำตัวที่ผิวหนังหน้าท้อง

นอกจากนี้ยังมีอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์และอาการเพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์ด้วย เช่น การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก มดลูกโต หน้าท้องขยายใหญ่ เป็นต้น แต่อาการเหล่านี้ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ได้ หากต้องการตรวจให้แน่ชัดควรตรวจด้วยคลื่นเสียงหรืออัลตร้าซาวด์ ซึงหากเป็นการตั้งครรภ์จริงจะพบตัวเด็กอยู่ในครรภ์ การฟังเสียงเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ มีการเคลื่อนไหวของเด็กจากการคลำหน้าท้องแม่ เป็นต้นค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การทดสอบการตั้งครรภ์ยังสามารถทดสอบได้จากการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์สำเร็จรูป ซึ่งเป็นการตรวจหาฮอร์โมน HCG ในปัสสาวะ โดยจะต้องตรวจหลังจากการปฏิสนธิ 14 วัน แต่ก็ยังมีความคลาดเคลื่อนสูงเพราะบางคนตั้งครรภ์แล้วแต่ระดับฮอร์โมนยังไม่มากพอก็จะตรวจไม่พบ ดังนั้นเพื่อความแม่นยำควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดเพื่อตรวจหาฮอร์โมน HCG ซึ่งการตรวจเลือดจะสามารถรู้ผลได้เร็วกว่าการตรวจจากปัสสาวะคือ สามารถตรวจได้ภายใน 7 วันหลังการปฏิสนธิค่ะ

ข้อแนะนำในการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์

  1. อ่านคำแนะนำอย่างละเอียด และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  2. เตรียมนาฬิกาดูเวลาเพื่อใช้จับเวลาในการทดสอบ
  3. ภาชนะที่ใช้ควรเป็นของใหม่ ไม่มีการปนเปื้อนปัสสาวะมาก่อน โดยเฉพาะการทดสอบซ้ำๆ
  4. ขณะรอผลทดสอบไม่ควรให้ภาชนะหรือชุดทดสอบอยู่ใกล้ของที่มีความร้อนสูง
  5. การทดสอบซ้ำควรเว้นระยะห่างจากการทดสอบครั้งแรก 2-3 วัน

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
E. Leslie Cameron, Pregnancy and olfaction: A review. DOI: (doi.org/10.3389/fpsyg.2014.00067), 6 February 2014
Andrea D Shields, MD, FACOG, Pregnancy Diagnosis (https://emedicine.medscape.com/article/262591-overview), 28 March 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม