กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ปัญหาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ยอดฮิตของบรรดาสาว ๆ

เผยแพร่ครั้งแรก 3 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ปัญหาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ยอดฮิตของบรรดาสาว ๆ

ดังที่ทุกคนทราบกันดีว่า การสืบพันธุ์นั้นมีไว้เพื่อสร้างครอบครัวที่สมบูรณ์แบบต่อไป สำหรับการทำงานของร่างกายนั้น สมองจะหลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นต่อมเพศชายและหญิงเพื่อผลิตฮอร์โมนทางเพศ ร่างกายทั้งหญิงและชายจะเข้าสู่ความเป็นหนุ่มและสาวพร้อมสืบพันธุ์

ในที่นี้ เราจะพูดถึงการสืบพันธุ์ของเพศหญิงเป็นสำคัญ ซึ่งมีองค์ประกอบได้แก่ รังไข่ ท่อนำไข มดลูก และช่องคลอด ฉะนั้น ในวันนี้ เรามาเรียนรู้ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับการสืบพันธุ์ของสาว ๆ กันหน่อยดีกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. ผู้หญิงกับการทำงานผิดปกติขณะมีเพศสัมพันธ์

รู้สึกเจ็บ ขาดความสนใจในการมีเพศสัมพันธ์ ไม่พึงพอใจ เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาการจากการทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุและผลจากภาวะมีบุตรยาก นับว่าค่อนข้างยากที่จะทำความเข้าใจ และน่าหวาดวิตกไม่น้อยสำหรับชีวิตคู่ เพราะเรื่องของความสัมพันธ์ในชีวิตคู่และการมีเพศสัมพันธ์ เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาของคุณ เพราะเขาอาจช่วยให้คุณมีน้องได้ง่ายและสนุกยิ่งขึ้น

2. โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อซึ่งปกติมักจะวางอยู่ภายในมดลูก กลับโตออกมาอยู่ภายนอกแทน คุณจะรู้สึกเจ็บและนั่นอาจส่งผลต่อการปฏิสนธิได้ ความจริงแล้ว ผู้หญิงที่มีปัญหากับการตั้งครรภ์ (การปฏิสนธิ) มีแนวโน้ม 6-8 เท่าที่จะประสบกับโรคดังกล่าวมากกว่าผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ทั้งนี้ การปฏิสนธิเทียมในหลอดแก้วสามารถช่วยแก้ปัญหาและช่วยให้การตั้งครรภ์ผ่านพ้นไปได้

3. มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกนี้ เกิดจาก HPV หรือ เชื้อไวรัสที่พบบ่อยในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งอันตรายไม่น้อยทีเดียว ในแต่ละปี มีผู้หญิงกว่าหมื่นรายต้องประสบกับโรคดังกล่าว หลายคนอยู่ในช่วงการคลอดบุตร ข้อดี คือ หากพบเร็ว ย่อมรักษาได้ทัน แต่ในทางกลับกัน การรักษาอาจนำไปสู่การเป็นหมันได้ หากคุณพบมะเร็งปากมดลูก คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในภายหลัง

4. HIV

ทุกวันนี้ ด้วยการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แพทย์สามารถจัดการกับโรคนี้ราวกับเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง บางคนอยู่กับเชื้อไวรัสนี้และสามารถมีบุตรได้ อย่างไรก็ตาม HIV ส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ของชายและหญิง แต่ถึงกระนั้น คุณก็ยังสามารถเป็นพ่อแม่คนได้ และด้วยการรักษาอย่างระมัดระวัง ความเสี่ยงในการส่งต่อเชื้อไวรัสสู่เด็กจะลดน้อยลง

5. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ผู้หญิงหลายคนไม่ทราบว่าตนมีภาวะนี้อยู่ เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของฮอร์โมนซึ่งส่งผลต่อการตกไข่และนำไปสู่ซิสท์หรือถุงน้ำบนรังไข่ทั้งสองข้าง ประจำเดือนมาไม่ปกติ และระดับของฮอร์โมนที่สูงขึ้นอันล้วนส่งผลถึงร่างกาย ใบหน้า และผม อย่างไรก็ตาม หากคุณประสบกับภาวะดังกล่าว คุณสามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการมีบุตรและการตั้งครรภ์อย่างไรให้แข็งแรงได้

6. รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด

หากคุณอายุน้อยกว่า 40 ปี นี่อาจทำให้รังไข่ของคุณทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น นั่นหมายความว่า ประจำเดือนของคุณอาจไม่มา หรืออย่างน้อยที่สุดก็มาไม่ปกติ และนอกเหนือจากปัญหาเรื่องรอบเดือน ปัญหาอื่น ๆ ที่ตามมา ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ อารมณ์ฉุนเฉียว ไม่มีสติและสมาธิ และรู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

7. เนื้องอกที่มดลูก

ในระหว่างการทดสอบกระดูกเชิงกราน แพทย์อาจตรวจพบเนื้องอกนี้เจริญเติบโตอยู่ภายในมดลูกของคุณ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องปกติที่มันมักจะไม่ปรากฏอาการใด ๆ แต่มันอาจเพิ่มอัตราการเป็นหมัน (การมีบุตรยาก) การแท้ง และปัญหาในระหว่างการตั้งครรภ์ในผู้หญิงบางรายได้ หากคุณต้องการอุ้มท้องต่อไป คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม

8. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ

ใครที่ประสบกับโรคดังกล่าวอยู่ คุณจะรู้สึกถึงความเจ็บปวดและแรงกดที่มีขณะปัสสาวะ โรคดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อการมีบุตร แต่แน่นอนว่ามันจะส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ของคุณ หากคุณต้องการตั้งครรภ์ แต่ไม่ต้องการรู้สึกตื่นตระหนกกับมันนัก หาซื้อชุดทดสอบระยะเวลาตกไข่เอาไว้ดีกว่า เพราะมันจะช่วยให้คุณรู้เวลาว่าช่วงใด เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด จากนั้น คุณก็จับจองวันเอาไว้ได้เลย!

9. น้ำหนักตัวเกิน

น้ำหนักตัวที่มากเกินนั้น ส่งผลต่อการเป็นหมัน (การมีบุตรยาก) การแท้ง และปัญหาการสืบพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งคุณอาจไม่จำเป็นต้องกำจัดน้ำหนักตัวออกไปครึ่งหนึ่งเสียขนาดนั้น ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเกิน ก็สามารถรับการรักษาให้มีบุตรได้เช่นกัน หากคุณลดน้ำหนักสัก 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักร่างกาย คุณก็มีแนวโน้มที่จะมีบุตรได้แล้ว มากกว่าคนที่ไม่ได้ลดน้ำหนักเลย

10. น้ำหนักตัวไม่พอ

เว้นเสียแต่ว่า คุณเป็นคนที่ผอมสุด ๆ โดยธรรมชาติ หากไม่ใช่แล้วล่ะก็ การที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ก็มีผลต่อการตั้งครรภ์ เนื่องจากในการตั้งครรภ์ คุณต้องมีปริมาณไขมันที่เพียงพอ ผลการวิจัยพบว่า การตั้งครรภ์สำหรับคนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จะค่อนข้างลำบาก เพราะอาจเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้

11. โรคหนองในและหนองในเทียม

การติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์นี้ควรได้รับการรักษาอย่างทันที คุณควรรีบพบแพทย์ทันทีที่คุณรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับช่วงล่างของคุณ หากคุณไม่รับการรักษา โรคหนองในและหนองในเทียมจะนำคุณไปสู่โรคปีกมดลูกอักเสบ และการติดเชื้อในอวัยวะการสืบพันธ์ของคุณ รวมไปจนถึง การมีบุตรยาก หรือภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกตามมา เป็นต้น

12. อันตรายจากสภาวะแวดล้อม

บางครั้ง อากาศรอบตัวก็ส่งผลต่อการสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตาม มลพิษทางอากาศรอบตัวเราเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ผลการวิจัยศึกษาพบว่า อากาศเสียส่งผลต่อการเจริญพันธุ์อันจะนำไปสู่ปัญหารอบเดือนและการตกไข่ สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ เช่น สารเคมีที่มาจากการทำพลาสติก มลพิษจากการเผาไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือยาฆ่าแมลง เป็นต้น

13. อายุมากขึ้น

คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนักที่ว่า อายุที่มากขึ้นย่อมมีผลต่อการสืบพันธุ์ การศึกษาหนึ่งพบว่า เปอร์เซ็นต์ผู้หญิงในวัยที่มีบุตรยาก คือ 8 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้หญิงในวัย 19-26 ปี 13-14 เปอร์เซ็นต์ คือ วัย 27-34 ปี และ 18 เปอร์เซ็นต์ คือ วัย 35-39 ปี ดังนั้น ข่าวนี้ก็ไม่แย่นักหากคุณจะแก่กว่านี้เสียหน่อย กล่าวคือ วัย 39 ปีก็ยังมีเปอร์เซ็นต์กว่า 28 เปอร์เซ็นต์ที่จะตั้งครรภ์ได้

14. การเลือกไลฟ์สไตล์ของคุณ

ปัญหารังไข่ หลาย ๆ สาเหตุเกิดจากภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ บ้างก็ภาวะรังไข่เสื่อมอายุก่อนกำหนด อันนับเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุด (การที่ไข่ไม่ตก หมายถึง คุณไม่สามารถสืบพันธุ์ได้อีกต่อไป) อย่างไรก็ตาม อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ นั่นคือ การใช้ชีวิตของคุณ นอกเหนือจากอายุ น้ำหนัก และการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์แล้ว สิ่งที่มีบทบาทไม่แพ้กัน ได้แก่ การสูบบุหรี่ การบริโภคแอลกอฮอลล์ในปริมาณที่มากเกินไป ความเครียด การรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยดีนัก การออกกำลังกายที่หักโหมจนเกินพอดี เป็นต้น


จะเห็นได้ว่า เรื่องการสืบพันธุ์นั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน คุณผู้หญิงต้องอาศัยความใส่ใจในรายละเอียดและการดูแลตนเองเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเรื่องของอาหารการกิน สภาวะจิตใจ อารมณ์ รวมไปจนถึงการดูแลสุขภาพภายในของตนอย่างละเอียดรอบคอบ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนส่งผลต่อความฝันที่จะมีบุตรทั้งสิ้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่วาดฝันไว้ล่ะก็...เริ่มหันมาใส่ใจและสังเกตตัวเองเสียตั้งแต่วันนี้ดีกว่า 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Top 10 Women's Health Threats - Women's Health Center. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/womens-health-photos/womens-health-threats.aspx)
Reproductive Health Issues. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/reproductive-health-issues-4013268)
Women's Health Care Specialists, Menopause, Pregnancy & More. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/womens_health/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
โรคอ้วน ภัยร้ายเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์
โรคอ้วน ภัยร้ายเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์

ข้อควรระวัง! ความเสี่ยงของสตรีมีครรภ์ที่มีน้ำหนักมาก อาจส่งผลรุนแรงต่อทารกในครรภ์

อ่านเพิ่ม