กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ข้อแนะนำในการไปพบแพทย์ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนมีลูก

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ข้อแนะนำในการไปพบแพทย์ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนมีลูก

 ความปรารถนาอันสูงสุดของพ่อแม่ ก็คือการได้ลูกที่สมบูรณ์แข็งแรง สมประกอบ เฉลียวฉลาด แต่ก่อนจะได้สิ่งนี้ พ่อแม่ต้องเตรียมพร้อมที่ดี ไม่ปล่อยให้การตั้งครรภ์ต้องพบกับสิ่งอันไม่พึงประสงค์ต่อทารก

ข้อแนะนำ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง?

1. มารดาที่มีอายุมาก จะต้องตรวจน้ำคร่ำในช่วงอายุครรภ์ 4 เดือน และอาจจะต้องมีการทำแท้ง ถ้าพบว่า ทารกในครรภ์ผิดปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. โรคบางอย่างแพทย์แนะนำไม่ให้ตั้งครรภ์ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อคุณแม่ คือโรคความดันโลหิตสูงมาก โรคหัวใจชนิดรุนแรง โรคโลหิตไหลไม่หยุด โรคการสร้างเนื้อเยื่อผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะ โรคกรรมพันธุ์บางอย่างที่อาจถ่ายทอดไปสู่ทารกได้

3. ควรได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจภายในว่ามีเนื้องอกมดลูกหรือรังไข่หรือไม่

  • ตรวจเลือดทั่วไป ดูโรคซีดและโรคเลือดบางอย่าง
  • ตรวจเชื้อซิฟิลิส ทั้งสามีและภรรยา
  • ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบและฉีดภูมิคุ้มกัน
  • ตรวจภูมิคุ้มกัน หัดเยอรมัน และฉีดภูมิคุ้มกันก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือน
  • ตรวจปัสสาวะ ตรวจโรคไต
  • เอกซเรย์ปอด ตรวจเชื้อวัณโรค

4. ควรวางแผนครอบครัวให้รอบคอบ หยุดกินยาคุมกำเนิดก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือน
5. งดสิ่งเสพติดทั้งหลาย เช่น เหล้า บุหรี่ จะทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
6. ไม่ควรกินยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน ใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
7. ไม่ควรทำงานหนักเกินไป ควรมีเวลาพักผ่อน
8. หลีกเลี่ยงความกังวลใจ
9. เรียนรู้การปฏิบัติตนในช่วงตั้งครรภ์จากผู้รู้หรือหนังสือ
10. ได้รับกำลังใจจากสามี
11. เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ต้องไผฝากครรภ์ให้สม่ำเสมอ ไปตามแพทย์นัดทุกครั้งเพื่อติดตามผลการเจริญเติบโตของทารก หรือถ้ามีสิ่งผิดปกติ จะได้แก้ไขทันท่วงที


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Should I see my GP if I am trying for a baby?. BabyCentre UK. (https://www.babycentre.co.uk/x1021130/should-i-see-my-gp-if-i-am-trying-for-a-baby)
Planning for pregnancy. Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/preconception/planning.html.
Talking to Your OB/GYN Before Getting Pregnant. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/talking-to-your-doctor-about-getting-pregnant-1959958)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
อุ้มบุญ...ความหวังของผู้มีบุตรยาก
อุ้มบุญ...ความหวังของผู้มีบุตรยาก

รู้จักวิธีและเงื่อนไขของการแก้ปัญหามีบุตรยาก ด้วยการให้บุตรเจริญเติบโตในครรภ์คนอื่น หรือที่เรียกว่า “การอุ้มบุญ”

อ่านเพิ่ม