โรคไข้หวัดไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ ล้วนเป็นโรคที่ผู้คนทุกเพศทุกวัยเกิดความเสี่ยงได้ทั้งนั้น โดยวิธีรักษาโรคชนิดนี้โดยทั่วไป คือ จ่ายยารักษาไปตามอาการ และให้ผู้ป่วยดูแลตนเองอย่างเหมาะสม
วิธีรักษาโรคไข้หวัดโดยหลักๆ จะแบ่งออกเป็น 3 วิธี โดยวิธีทั้ง 3 อย่างนี้สามารถรักษาควบคู่ไปด้วยกันได้ และยังอาจช่วยให้อาการโรคไข้หวัดดีขึ้นเร็วกว่าเดิมด้วย ซึ่งได้แก่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- การรักษาโรคไข้หวัดด้วยยา
- การรักษาโรคไข้หวัดด้วยสมุนไพร
- การรักษาโรคไข้หวัดด้วยการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม
การรักษาโรคไข้หวัดด้วยยา
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคไข้หวัดได้โดยเฉพาะ การรักษาโรคไข้หวัดทั้งไข้หวัดธรรมดา และไข้หวัดใหญ่ด้วยยาจะรักษาไปตามอาการของผู้ป่วย และขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ เช่น
1. ยาต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
เป็นยาสำหรับรักษาอาการไข้หวัดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ต้องใช้ยาภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากพบอาการแล้ว และตัวยาสามารถรักษาอาการของผู้ป่วยได้เพียงวันเดียวเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การออกฤทธิ์ของยาจะค่อนข้างสั้น แต่ก็สามารถลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนในโรคไข้หวัดใหญ่ได้ เช่น ภาวะไซนัสอักเสบ โรคปอดบวม ภาวะต่อมทอนซิลอีกเสบ
ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่แบ่งออกได้ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
- Oseltamivir (โอเซลทามิเวียร์) ชื่อทางการค้าว่า “ทามิฟลู (Tamiflu)”
ยา Oseltamivir มีทั้งแบบน้ำ และแบบแคปซูล สามารถใช้รักษาอาการป่วยไข้หวัดใหญ่ในเด็กทารกตั้งแต่อายุ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และยังใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไปได้อีกด้วย แต่ยาตัวนี้จะใช้ได้ผลเมื่อมีอาการป่วยไม่เกิน 5 วัน - Zanamivir (ซานามิเวียร์) ชื่อทางการค้าว่า “รีเรนซ่า (Relenza)”
ยา Zanamivir มีวิธีใช้ คือ สูดยาจากตลับทรงแบน ใช้สำหรับรักษาอาการป่วยไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุ 7 ขวบขึ้นไป รวมถึงใช้ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไปด้วย
2. ยาแก้แพ้สำหรับลดอาการน้ำมูกไหล
เพราะอาการจากโรคภูมิแพ้หลายอาการมักคล้ายกับอาการไข้หวัด โดยเฉพาะอาการน้ำมูกไหล ดังนั้นหลายคนแพทย์จะสั่งยาแก้แพ้ให้ผู้ป่วยกลับไปรับประทาน
ยาแก้แพ้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ยาแก้แพ้ที่ 1 หรือกลุ่มเก่า และยาแก้แพ้กลุ่มใหม่
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ความแตกต่างของยาทั้ง 2 กลุ่มอยู่ที่ยาแก้แพ้กลุ่มใหม่มักไม่ออกฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม หรืออ่อนเพลียเท่ากับยาแก้แพ้กลุ่มที่ 1 แต่ยาทั้ง 2 กลุ่มก็สามารถออกฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการจากโรคไข้หวัดได้ เช่น
- ยาแก้แพ้บรรเทาโรคไข้หวัดที่ทำเกิดอาการง่วงได้ ได้แก่ ยาคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ยาบรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) ยาไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) ยาไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine)
ยากลุ่มนี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม และอ่อนเพลียก็จริง แต่จะบรรเทาอาการของโรคไข้หวัดได้ดีกว่า ผู้ที่รับประทานยากลุ่มนี้ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือเข้าใกล้สารเคมีอันตรายหลังจากรับประทานยา - ยาแก้แพ้บรรเทาโรคไข้หวัดที่ไม่ทำให้เกิดอาการง่วง เป็นยาที่ไม่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม แต่อาจมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการไข้หวัดได้ไม่ดีเท่ากลุ่มแรก หรืออาจเทียบเท่า แล้วแต่ตัวยา เช่น ยาลอราทาดีน (Loratadine) ยาเฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)
นอกจากนี้ ยังมียาลดอาการคัดจมูกอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์ผ่านการลดหลอดเลือด ทำให้อาการคัดจมูกจากน้ำมูกลดลง เช่น ยาพ่นออซีเมตาโซลีน (Oxymetazoline) ยารับประทานอย่าง ยาฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) ยาซูโอเดฟีดรีน (Psedoephedrine)
3. ยาปฏิชีวนะ
ในกรณีที่คุณเป็นโรคหวัดธรรมดาซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย คุณต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ แต่ยาชนิดนี้จะไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ได้
ยาปฏิชีวนะต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย จนอาจทำให้เกิดอาการดื้อยา หรือแพ้ยาได้ โดยยาปฏิชีวนะที่นิยมสั่งจ่ายเพื่อรักษาอาการโรคไข้หวัดธรรมดา ได้แก่
- ยากลุ่มเพนิซิลิน (Penicillins) เช่น ยาอะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin)
- ยากลุ่มแมคโคไลด์ (Macrolides) เช่น ยาอีริโทรมัยซิน (Erythromycin) ยารอกซิโทรมัยซิน (Roxithromycin)
4. ยาบรรเทาอาการไอ
อาการไอจากโรคไข้หวัดมักมีสาเหตุมาจากเสมหะในลำคอ จึงแบ่งยารักษาอาการนี้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- ยาแก้ไอแบบมีเสมหะ การออกฤทธิ์หลักของยา คือ เพื่อขับเสมหะออกจากลำคอ เช่น ยาคาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine) ยาแอมบรอกซอล (Amboxol) ยาไกวเฟเนซิน (Guaifenesin)
- ยาแก้ไอแบบไม่มีเสมหะ หรือไอแห้ง ตัวยาจะออกฤทธิ์ปรับระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการไอ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ เช่น ยาโคเดอีน (Codeine) ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan)
5. ยาลดไข้
อาการไข้สูง คือ อีกอาการที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคไข้หวัด ซึ่งยาที่นิยมรับประทานกันก็คือ พาราเซตามอล (Paracetamol) และยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ NSAIDs เช่น ยาแอสไพริน (Aspirin)
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การรักษาโรคไข้หวัดด้วยสมุนไพร
นอกจากการรักษาโรคไข้หวัดด้วยยา ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่คุณสามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการโรคไข้หวัดได้ เช่น
- หอมแดง หรือหัวหอมใหญ่ ช่วยขยายหลอดลม ทำให้อาการคัดจมูกดีขึ้น และหายใจได้สะดวกกว่าเดิม
- ขิง ช่วยลดอาการไอได้ โดยวิธีรับประทานที่ช่วยให้ได้ผลดีที่สุด คือ รับประทานยาที่มีส่วนผสมของขิงร่วมกับยาปฏิชีวนะเป็นเวลาประมาณ 7 วัน
- ยูคาลิปตัส (Eucalyptus) ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ละลายเสมหะ และลดอาการเจ็บคอ
- เปปเปอร์มินท์ (Peppermint) หรือเมนทอล (Menthol) ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ลดปริมาณ และละลายเสมหะ
นอกจากนี้ ผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ยังช่วยบรรเทาอาการโรคไข้หวัดได้ แต่ไม่ได้มีส่วนช่วยป้องกันโรคไข้หวัดให้เกิดขึ้น เช่น ส้ม ฝรั่ง ลิ้นจี่ พริกหวาน ผักคะน้า
อ่านเพิ่มเติม: สมุนไพรแก้หวัดมีอะไรบ้าง ผลไม้อะไรบรรเทาโรคไข้หวัดได้
การรักษาโรคไข้หวัดด้วยการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม
นอกเหนือจากการรับยา สมุนไพร ผัก ผลไม้ที่ช่วยรักษาอาการไข้หวัดได้แล้ว คุณยังต้องดูแลตนเองอย่างเหมาะสมเพื่อให้อาการโรคไข้หวัดดีขึ้นด้วย ซึ่งโดยหลักๆ มีดังต่อไปนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะเมื่อร่างกายอ่อนเพลีย ภูมิต้านทานร่างกายก็จะอ่อนแอไปด้วย คุณจึงต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ร่างกายแข็งแรง ยากที่เชื้อโรคจะก่อให้เกิดโรคได้
- จิบน้ำอุ่นบ่อยๆ และดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อละลายเสมหะในลำคอ และไม่ทำให้ร่างกายขาดสารน้ำ
- อยู่ในที่อากาศถ่ายเทและอบอุ่น เพื่อให้คุณหายใจได้สะดวก ลดอาการคัดจมูก
- ลดการออกไปพบผู้คนชั่วคราว เพื่อไม่ให้ร่างกายคุณรับเชื้ออื่นๆ เพิ่ม และลดโอกาสที่คุณจะแพร่เชื้อหวัดไปให้ผู้อื่น
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารภูมิต้านทานที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น
- งดการกินของเย็น ของทอด ของมัน เพราะเป็นประเภทของอาหารที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังกว่าเดิม
- กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ หากคุณมีอาการเจ็บคอ เพราะน้ำเหลือสามารถช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้คุณติดเชื้อจนเกิดอาการเจ็บคอได้ โดยอาจผสมเกลือ 1 ข้อนขากับน้ำอุ่น แล้วอมน้ำเกลือไว้พร้อมกับหงานศีรษะไปด้านหลังประมาณ 3 วินาที จากนั้นบ้วนน้ำเกลือทิ้ง
- หมั่นเช็ดตัว หรืออาบน้ำด้วยน้ำอุ่น เพื่อลดไข้ในตัว อย่าอาบน้ำเย็นเพราะคุณอาจเกิดอาการหนาวสั่นได้
- รักษาสุขอนามัยร่างกาย และสิ่งของรอบตัวให้สะอาด เพราะหลายครั้งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดไข้หวัดมักจะอยู่รอบๆ ตัวผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัว เช่น เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน บนลูกบิดประตู บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ
- ใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการหายใจเอาสิ่งสกปรก หรือฝุ่นละอองเข้าร่างกาย ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกคัดจมูกมากขึ้น ทั้งยังช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นด้วย
- ประคบร้อนบริเวณหน้าผาก หรือจมูก เพื่อบรรเทาอาการปวดหัว ลดไข้ หรืออาการปวดข้างในโพรงจมูก
- สูดไอน้ำอุ่น โดยต้มน้ำร้อนให้เดือด แล้วก้มหน้าอยู่เหนือหม้อน้ำ จากนั้นสูดเอาไอน้ำอุ่นจากหม้อน้ำร้อนเข้าไป คุณจะหายใจได้สะดวกขึ้น
เคล็ดลับอื่นๆ สำหรับรักษาอาการไข้หวัด
ยังมีเคล็ดลับอื่นๆ อีกหลายอย่างที่คุณอาจลองทำตามเพื่อให้อาการคัดจมูก มีเสมหะของโรคไข้หวัดดีขึ้น เช่น
- รับประทานหัวแรดิชทะเล ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรช่วยขับน้ำมูก ลดภาวะไซนัสที่อาจเกิดขึ้น
- รับประทานอาหารประเภทที่มีโปรตีนกับสังกะสี เพราะสารอาหาร 2 อย่างนี้จะช่วยให้ภูมิต้านทานร่างกายของคุณเพิ่มขึ้น
- จิบชาเปปเปอร์มินต์ โดยในชาประเภทนี้มีสารเมนทอลช่วยช่วยลดเสมหะในคอ และยังช่วยฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจด้วย
- ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายขับความร้อนออกมาผ่านเหงื่อ แต่ควรทำในผู้ป่วยที่มีเรี่ยวแรงพอออกกำลังกายได้เท่านั้น ผู้ป่วยที่อ่อนเพลียมากจากอาการป่วยควรนอนพักให้ร่างกายได้ฟื้นฟูมากกว่า
อ่านเพิ่มเติม: รวมเคล็ดลับอื่นๆ นอกจากกินยา สำหรับบรรเทาอาการคัดจมูก ขับเสมหะ
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการรักษาอาการไข้หวัดใหญ่
การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ หรือไข้หวัดธรรมดา ยังมีหลายประเด็นที่ผู้ป่วยรวมถึงผู้คนทั่วไปเข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็น...
- หากได้รับวัคซีนแล้วก็ไม่จำเป็นต้องดูแลตนเองมาก หลายคนที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ มักคิดว่า เมื่อมียาวัคซีนอยู่ในตัวก็ไม่ต้องดูแลตนเองมาก ซึ่งความจริงคุณต้องดูแลสุขภาพควบคู่ไปกับการฉีดวัคซีนทุกปี
- โรคไข้หวัดใหญ่กับไข้หวัดธรรมดา คือ โรคเดียวกัน แต่ไข้หวัดใหญ่คือ อาการที่ร้ายแรงกว่า ซึ่งจริงอยู่ที่ทั้ง 2 โรคนี้ล้วนเกิดได้จากเชื้อไวรัส แต่คนละชนิดกัน อีกทั้งโรคไข้หวัดใหญ่สามารถส่งผลข้างเคียงร้ายแรงได้ถึงขั้นเสียชีวิต
- ผมเปียกๆ ที่หนาวๆ คือ อีกสาเหตุทำให้เกิดโรคไข้หวัด จริงอยู่ที่คุณต้องอยู่ในที่อุณหภูมอบอุ่นเพื่อรักษาอาการโรคชนิดนี้ แต่สาเหตุหลักที่มักทำให้เกิดโรคไข้หวัด คือ การสัมผัสเชื้อไวรัส ไม่ใช่ผมเปียก หรืออยู่ในอากาศหนาว
อ่านเพิ่มเติม: ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการรักษาโรคไข้หวัด
การรักษาอาการจากโรคไข้หวัดให้หายเร็วขึ้น นอกจากการรับประทานยา หรือรับสารอาหารที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานแล้ว การดูแลตนเองอย่างเหมาะสมก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยบรรเทาให้โรคไข้หวัดเบาลงได้
อย่างไรก็ตาม หากคุณลองทำตามคำแนะนำในการรักษาโรคไข้หวัดที่กล่าวไปข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่รุนแรงกว่านั้นเกิดขึ้น แต่คุณยังไม่ทราบว่า เป็นอาการของโรคอะไรกันแน่
ส่วนวิธีป้องกันโรคไข้หวัดทั้ง 2 ชนิดได้ดีที่สุดนั้น คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงพอ รวมถึงวิตามิน และแร่ธาตุเสริมที่สำคัญ เพื่อให้ร่างกายนำสารสำคัญเหล่านั้นไปสร้างภูมิต้านทานเชื้อแบคทีเรีย และคุณควรเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปีอย่างสม่ำเสมอ
ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคไข้หวัด
- พฤติกรรมของคุณ "เสี่ยง" ไวรัสเล่นงานหรือไม่
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชื้อไวรัส
- การวินิจฉัยโรคไข้หวัด ทั้งด้วยตนเอง และผ่านแพทย์เป็นอย่างไร
- วิธีรักษาโรคไข้หวัดในเด็ก รักษาได้ โดยไม่จำเป็นต้องกินยา
- เป็นหวัดขณะตั้งครรภ์ รับประทานยาอย่างไรจึงจะปลอดภัย
- รวมสมุนไพร และผลไม้บรรเทาอาการไข้หวัด
- รวมวิธีอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการไข้หวัด นอกจากการรับประทานยา
- รวมความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการรักษาไข้หวัด