กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่

วินิจฉัยโรคไข้หวัดทำได้อย่างไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 21 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คุณสามารถสังเกตอาการโรคไข้หวัดก่อนไปพบแพทย์ได้ไม่ยาก โดยอาการหลักๆ ได้แก่ น้ำมูกไหล เจ็บคอ มีเสมหะ ไอ จาม
  • โรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการของโรคเกิดขึ้นรวดเร็วมาก เช่น ปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอแห้ง มีน้ำมูก แต่โรคไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการเด่นเพียงคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ คันคอ แต่ไม่ค่อยมีไข้ และปวดกล้ามเนื้อ
  • แพทย์จะวินิจฉัยโรคไข้หวัดโดยสอบถามประวัติสุขภาพ สอบถามอาการ และอาจมีการเก็บสารจากทางเดินหายใจไปตรวจเพิ่ม เช่น น้ำหลังโพรงจมูก น้ำจากหลอดลม แต่ผู้ป่วยบางกลุ่มก็ไม่จำเป็นต้องเก็บสารจากทางเดินหายใจไปตรวจเพิ่ม 
  • วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่สุดที่สุดคือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัด ซึ่งสามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

การวินิจฉัยโรคไข้หวัดในเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตนเอง หรือหากคุณไม่มั่นใจก็สามารถไปพบแพทย์เพื่อขอให้วินิจฉัยอาการให้ได้

แต่ก่อนที่จะวินิจฉัยโรคอะไรก็ตาม คุณจะต้องรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาการของโรคนั้นๆ ก่อน ซึ่งอาการของโรคไข้หวัดที่คุณสามารถสังเกตได้ มีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของโรคไข้หวัด

อาการของโรคไข้หวัดโดยทั่วไปที่คุณสามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง ได้แก่

  • มีไข้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
  • รู้สึกหนาวเย็น หรือมีอาการหนาวสั่น
  • อ่อนเพลียง่าย
  • ปวดกล้ามเนื้อตามตัว
  • เบื่ออาหาร
  • ปวดศีรษะ
  • คอแห้ง ไอแห้ง
  • เจ็บคอ
  • น้ำมูกไหล
  • มีเสมหะมาก

นอกจากเหนือจากอาการไข้หวัดที่กล่าวมานี้ คุณอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย เวียนศีรษะ จามเรื้อรัง แต่ส่วนมากอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในผู้ป่วยเด็กมากกว่า

วิธีแยกอาการไข้หวัดธรรมดากับไข้หวัดใหญ่

อาการของโรคไข้หวัดธรรมดา (Common cold) กับโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างที่สามารถแยกได้ คือ

  • โรคไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอแห้ง คัดจมูก มีน้ำมูก ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีอาการอยู่นานประมาณ 6-10 วัน
  • โรคไข้หวัดธรรมดา ผู้ป่วยจะมีอาการเด่น ได้แก่ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม คัน ระคายเคืองในลำคอ แต่จะไม่ค่อยมีไข้สูง และปวดกล้ามเนื้อ

โรคไข้หวัดใหญ่จะมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าโรคไข้หวัดธรรมดา เช่น โรคปอดบวม โรคปอดอักเสบ ทั้งยังมีผู้ป่วยอีกหลายโรคที่มีความเสี่ยงเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่า ได้แก่

  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  • ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยโรคหอบหืด
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคไต
  • ผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง รวมถึงผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวี
  • ผู้สูงอายุ

หากคุณมีคนใกล้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดและมีโรคประจำตัวดังที่กล่าวไปข้างต้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า อาจเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ และรีบพาไปพบแพทย์ทันที

อาการโรคหวัดในเด็ก

เด็กคือ อีกกลุ่มเสี่ยงที่มักป่วยเป็นโรคไข้หวัดได้ง่าย ซึ่งเด็กเล็กกับเด็กโตก็จะมีอาการต่างกัน รวมถึงเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหวัดด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • เด็กเล็ก มีอาการน้ำมูกไหลและมีไข้เป็นอาการเด่น
  • เด็กโต ไม่มีไข้ แต่อาการอาจเริ่มจากเจ็บคอ ตามด้วยมีน้ำมูก และเริ่มมีอาการไอ

ส่วนมากโรคไข้หวัดในเด็กจะมีอาการไม่เกิน 2 สัปดาห์แล้วจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่หากนานกว่านั้น เด็กอาจมีภาวะไซนัสอักเสบเกิดขึ้น หรือติดเชื้อแบคทีเรียตัวอื่นๆ หรืออาจเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

การวินิจฉัยโรคไข้หวัดโดยแพทย์

เบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติสุขภาพผู้ป่วย สอบถามอาการที่เกิดขึ้น อาจมีตรวจดูรอยแดงในคอเพื่อหาการติดเชื้อ

นอกจากนี้ แพทย์อาจเก็บสารจากทางเดินหายใจเพื่อนำไปส่งตรวจในห้องปฏิบัติการอีกครั้ง เช่น 

  • ดูดน้ำจากหลังโพรงจมูก (Nasopharyngeal aspirate) 
  • เอาไม้ป้ายคอ (Throat swab) 
  • เก็บตัวอย่างน้ำจากหลอดลม (Tracheal aspirate) 

หรือหากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก แพทย์ก็อาจให้เอ็กซเรย์ปอด (Chest x-ray) ร่วมด้วย แต่ในผู้ป่วยบางกลุ่มก็ไม่ได้มีการเก็บสารไปตรวจเพิ่มเติม แต่แพทย์จะสั่งจ่ายยาต้านไวรัสให้กลับไปรับประทานที่บ้าน และแนะนำวิธีดูแลตนเองให้อาการไข้หวัดดีขึ้น เช่น

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • งดออกไปพบปะผู้คนและแยกกันอยู่กับผู้อาศัยในบ้านหลังเดียวกันเพื่อหยุดการแพร่เชื้อ
  • ใส่หน้ากากอนามัย และใช้ทิชชู่ ผ้าเช็ดหน้าปิดปากจมูกทุกครั้งที่ไอจาม
  • หมั่นล้างมือบ่อยๆ
  • จิบน้ำอุ่นเป็นประจำ
  • รับประทานอาหารอ่อนๆ และงดรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการไอ เช่น อาหารมัน อาหารทอด
  • งดใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ช้อนส้อม แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ

หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ ควรมาพบแพทย์อีกครั้งเพื่อวินิจฉัยอาการเพิ่มเติม

การป้องกันโรคไข้หวัดที่ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ซึ่งสามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคชนิดนี้ 

นอกจากนี้หากเป็นผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ที่ภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง รวมถึงผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ยังควรฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ (IPD) ด้วย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นปอด หากติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 

คุณและคนในครอบครัวควรไปรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ก่อน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงต่อร่างกาย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
National Institute of Allergy and Infectious Diseases (NIH), Influenza Diagnosis (https://www.niaid.nih.gov/diseases-conditions/influenza-diagnosis), 26 September 2020.
Mayo Clinic, Influenza (flu) - Diagnosis and treatment (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/flu/diagnosis-treatment/drc-20351725), 25 September 2020.
Healthline, Type A Influenza: Symptoms, Treatment, and Prevention. (https://www.healthline.com/health/influenza-a-symptoms), 26 September 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)